นายโรเบิร์ต อู๋ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ชาร์ป ไทย จำกัด เปิดเผยว่า “ตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2562 จนถึงปัจจุบัน มีประชากรมากกว่า 25 ล้านรายทั่วโลกติดเชื้อไวรัสโควิด-19 และกว่า 840,000 รายเสียชีวิตจากโรคติดเชื้อดังกล่าว การแพร่ระบาดนี้จึงถือเป็นภัยคุกคามสำคัญที่คนทั่วโลกเผชิญ ดังนั้นการให้ความร่วมมือในการป้องกันการระบาดจึงเป็นสิ่งที่เราให้ความสำคัญ และพร้อมให้ความสนับสนุนทุกช่องทางเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว” ซึ่งการวิจัยล่าสุดเกิดขึ้นจากความร่วมมือของ ชาร์ป คอร์ปอเรชั่น และ มหาวิทยาลัยนางาซากิ ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นองค์กรที่ทั่วโลกให้การยอมรับในด้านงานวิจัยเกี่ยวกับโรคติดต่อ โดยมีบุคลากรชั้นนำจากหลากหลายหน่วยงานอยู่เบื้องหลังการทำงาน ได้แก่ ศาสตราจารย์จิโร่ ยาซูดะ จากศูนย์วิจัยแห่งชาติเพื่อการควบคุมและการป้องกันโรคติดเชื้อ สถาบันเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยนางาซากิ ศาสตราจารย์อาซูกะ นันโบะ สมาชิกคณะกรรมการสมาคมไวรัสวิทยาแห่งประเทศญี่ปุ่น จากมหาวิทยาลัยนางาซากิ และ ศาสตราจารย์ฮิโระโนริ โยชิยามะ สมาชิกคณะกรรมการสมาคมไวรัสวิทยาแห่งประเทศญี่ปุ่น จากภาควิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยชิมาเนะ งานวิจัยนี้จึงถือเป็นการค้นพบครั้งสำคัญที่จะช่วยให้ทุกภาคส่วนร่วมกันป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสได้ดียิ่งขึ้น
สำหรับการวิจัยครั้งนี้ ใช้ความเข้มข้นของพลาสม่าคลัสเตอร์ไอออนโดยเฉลี่ยที่ 10 ล้านประจุ ต่อ ลูกบาศก์เซนติเมตร ทำการทดลองในพื้นที่ที่มีปริมาตรประมาณ 3 ลิตร ทดสอบโดยการปล่อยละอองไวรัสเข้าไปในเครื่องมือทดสอบที่ติดตั้งเครื่องปล่อยอนุภาพพลาสม่าคลัสเตอร์ความเข้มข้นสูงอยู่ภายใน หลังจากนั้นเมื่อพลาสม่าคลัสเตอร์ไอออนทำปฏิกริยากับละอองไวรัสเป็นเวลา 30 วินาที จึงดูดละอองไวรัสมาทำการตรวจนับจำนวนพลัคที่เหลืออยู่ (Plaque Assay)* เปรียบเทียบกับกรณีที่ทดสอบโดยไม่ใช้พลาสม่าคลัสเตอร์ ซึ่งผลการทดสอบพบว่า เมื่อมีพลาสม่าคลัสเตอร์ ค่าไตเตอร์ไวรัสที่มีการติดเชื้อ (จำนวนการเกิดพลัค) ลดลง 91.3 %
ดร. จิโร่ ยาซูดะ จากศูนย์วิจัยแห่งชาติเพื่อการควบคุมและการป้องกันโรคติดเชื้อ สถาบันเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยนางาซากิ กล่าวเพิ่มเติมว่า “เป็นที่ทราบกันดีว่าสารฆ่าเชื้อโรคอย่างแอลกอฮอล์และสบู่นั้นมีประสิทธิภาพในการลดความเสี่ยงในการปนเปื้อนของไวรัสบนวัตถุ แต่อย่างไรก็ตาม ในแง่ของการติดเชื้อที่แพร่ผ่านละอองของเหลวและละอองฝอยขนาดเล็กในอากาศแล้ว ตอนนี้แทบจะยังไม่มีมาตรการที่มีประสิทธิภาพนอกเหนือไปจากหน้ากากอนามัยเลย จากผลงานวิจัยที่แสดงให้เห็นถึงประสิทธิผลของเทคโนโลยีพลาสม่าคลัสเตอร์ในการลดจำนวนเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ที่ลอยอยู่ในอากาศ (SAR S-CoV-2) ฉบับนี้ คาดหวังว่าเทคโนโลยีพลาสม่าคลัสเตอร์จะมีประโยชน์ในการช่วยลดความเสี่ยงการติดเชื้อในพื้นที่ที่มีการใช้งานจริง ซึ่งรวมถึงสำนักงาน บ้าน สถานพยาบาล และในยานพาหนะ”
เทคโนโลยีพลาสม่าคลัสเตอร์ (Plasmacluster) เป็นเทคโนโลยีเอกสิทธิ์หนึ่งเดียวของ ชาร์ป ทำงานโดยการปล่อยประจุไอออน (Ion) ทั้ง ประจุไอออนบวก (H+) และประจุไอออนลบ (O2-) เพื่อทำลายผนังของเซลล์เชื้อรา (Mold) ไวรัส (Virus) แบคทีเรีย (Bacteria) สารก่อภูมิแพ้ (Allergy) และกลิ่นไม่พึงประสงค์ ซึ่งได้รับการทดสอบและรับรองประสิทธิผลการทำงานจากหลากหลายสถาบันวิจัยชั้นนำทั่วโลก ทั้งนี้ ชาร์ป คอร์ปอเรชั่น ยังมีแผนการทดสอบประสิทธิผลของเทคโนโลยีพลาสม่าคลัสเตอร์อย่างต่อเนื่อง และมุ่งมั่นสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คนในสังคมต่อไป