การผ่าตัดที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ เช่น
ผ่าตัดกระดูกและข้อ เช่น ผ่าตัดเปลี่ยนเข่า สะโพก หลังผ่าตัดหัวใจผ่าตัดระบบประสาทและสมองผ่าตัดมะเร็งตามส่วนต่างๆของร่างกายผ่าตัดที่เป็นผลมาจากอุบัติเหตุผ่าตัดเล็กต่างๆ เช่น ผ่าตัดตา ต้อกระจก ส่องกล้องต่อมลูกหมาก ส่องกล้องผ่าตัดในช่องท้อง
หมอแนะนำว่าปกติแล้วข้อมูลความรู้ที่ให้แก่ผู้ป่วยและครอบครัวควรจะต้องทราบเช่น
ขั้นตอนการเตรียมตัวก่อนการผ่าตัดทั่วไป การอดอาหารล่วงหน้า การดูแลเรื่องยา การแนะนำการเตรียมความสะอาดร่างกายทั่วไปและความสะอาดเฉพาะบริเวณที่จะทำการผ่าตัด การควบคุมน้ำหนัก ภาวะโภชนาการต่างๆดูแลรักษาร่างกายให้ยังคงแข็งแรง รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ เพื่อช่วยให้ร่างกายฟื้นฟูได้เร็วยิ่งขึ้นและลดโอกาสในการติดเชื้อ ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 6-8 แก้วก่อนการผ่าตัด รับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ หมั่นเชคค่าน้ำตาลที่ตรวจด้วยตนเอง ค่าความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ที่ปกติ ดูแลผิวหนังให้สุขภาพ โดยเฉพาะบริเวณที่จะผ่าตัดสอนและให้ฝึกพัฒนากล้ามเนื้อส่วนต่างๆ โดยนักกายภาพบำบัดตั้งแต่ก่อนทำการผ่าตัด เข้าโปรแกรมการออกกำลังกาย กายภาพตามสภาพอาการเตรียมความพร้อมตามคำแนะนำของแพทย์ไม่ต่ำกว่า 2-3 สัปดาห์ก่อนการผ่าตัด เพื่อให้กล้ามเนื้อแข็งแรง เพิ่มความทนทานและยืดหยุ่น สามารถฟื้นตัวได้เร็วขึ้น และช่วยทำให้เกิดความแข็งแรงและเตรียมความพร้อมร่างกาย ปอด หัวใจ กล้ามเนื้อเพื่อรองรับสภาพร่างกายช่วงที่ต้องผ่าตัดเช่น การบริหารกล้ามเนื้อขา ช่วยให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น ลดความเสี่ยงลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำเทคนิคการลดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ความวิตกกังวลการหายใจเข้าช้าๆ การผ่อนลมหายใจออกทางปาก รวมถึงกิจกรรมที่ช่วยเบี่ยงเบนความสนใจ ลดอาการตื่นเต้น สอนและฝึกการหายใจเข้าลึกเต็มที่ ฝึกไออย่างมีประสิทธิภาพเพื่อช่วยลดภาวะแทรกซ้อนทางปอดหลังการผ่าตัด ลดความเครียดได้ การฝึกเหล่านี้ไม่สามารถฝึกหลังผ่าตัดได้เพราะผู้ป่วยจะเจ็บแผล จึงต้องฝึกก่อนการผ่าตัด สอนวิธีการจัดการกับความเจ็บปวด (Pain Management) โดยเน้นการระงับความเจ็บปวดโดยใช้ยาให้น้อยที่สุดทราบถึงขั้นตอนวิธีการผ่าตัดและภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ระยะเวลาที่อยู่ในห้องผ่าตัด ประเภทการผ่าตัด และห้องพักฟื้น การเตรียมการผ่าตัด เช่น การให้ยาระงับความรู้สึก การเจาะเส้นเลือดเพื่อให้น้ำเกลือ อุปกรณ์ต่างๆที่อาจจะมีตามออกมาหลังผ่าตัด ให้ข้อมูลถึงภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นหลังการผ่าตัดและวิธีการป้องกัน เช่น การติดเชื้อ ภาวะเส้นเลือดดำอุดตัน การเจ็บของบากดแผล รวมถึงการป้องกันภาวะดังกล่าวป้องกันภาวะท้องผูก ให้ทราบวิธีการการป้องกันอาการท้องผูก หลังการผ่าตัดเป็นสิ่งที่พบได้บ่อยซึ่งมักเกิดจากการได้รับยาแก้ปวด ไม่ค่อยได้ลุกเดิน ดังนั้นการเตรียมความพร้อมด้านโภชนาการที่เหมาะสมและการฝึกลุกเดินจากเตียงและการเคลื่อนไหวได้เร็วหลังการผ่าตัดช่วยให้กะเพาะอาหารและลำไส้กลับมาทำหน้าที่ได้เร็วขึ้นประเมินสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยช่วงพักฟื้นและก่อนกลับบ้าน และการจัดสภาพแวดล้อมที่บ้านให้เหมาะสมกับสภาพของผู้ป่วย การป้องกันการพลัดตกหกล้มตามปัจจัยเสี่ยง รวมถึงฝึกการใช้อุปกรณ์ช่วยพยุงเดินแนะนำการปฏิบัติตัวให้เหมาะสม น้ำหนักที่มากหรือน้อยเกินไปต่างเป็นผลเสียต่อร่างกายในการช่วงหลังการผ่าตัด หยุดสูบบุหรี่อย่างน้อย 4-6 สัปดาห์ก่อนการผ่าตัด การสูบบุหรี่เพิ่มความเสี่ยงระหว่างการผ่าตัด บุหรี่เป็นส่วนหนึ่งทำให้แผลผ่าตัดหายช้าอีกด้วยดูแลเรื่องการใช้นาบางอย่างที่มีความสำคัญ หยุดเช่น การใช้ยาที่ทำให้เลือดแข็งตัวช้าอย่างน้อย 7 วันก่อนการผ่าตัด เพื่อลดการเสียเลือดระหว่างการผ่าตัด เช่น ยาแอสไพริน ระมัดระวังในการใช้ยาเองในช่วงก่อนและหลังผ่าตัด หยุดการรักษาด้วยฮอร์โมนทดแทน 3 สัปดาห์ก่อนการผ่าตัด ยาฮอร์โมนทดแทนเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดลิ่มเลือดอุดตันหลังการผ่าตัดได้
นพ. เก่งพงศ์ ตั้งอรุณสันติ ( หมอเก่ง ) อายุรแพทย์
โรงพยาบาลผู้สูงอายุและศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู Chersery home
และศูนย์ส่งเสริมและฟื้นฟูผู้สูงวัย The Senizens …
บอก"รัก"ผู้สูงวัย เชื่อใจให้เราดูแล All the best for your elder
บริการทุกวันเวลา 7.00-18.00 น.
Tel : 0842642646 / 0842642662
Line ID: @cherseryhome
www.cherseryhome.com