นิเทศ นิด้า ชี้ 6 เกณฑ์การตรวจสอบข่าวปลอมด้านสุขภาพ และเปิดตัว “เช็กให้รู้” ระบบอัจฉริยะต้นแบบที่จะเป็นเครื่องมือช่วยให้คนรู้ทันข่าวปลอมด้านสุขภาพ

พุธ ๑๖ กันยายน ๒๐๒๐ ๐๙:๒๖
คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ร่วมกับ บริษัท แบ็คยาร์ด จำกัด สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และภาคีอื่นๆ ทั้งภาครัฐ และเอกชนสังเคราะห์แนวทางการตรวจสอบข่าวปลอมด้านสุขภาพทั่วโลก สรุปเป็นเกณฑ์การตรวจสอบข่าวปลอมด้านสุขภาพ 6 มิติ และพัฒนาระบบต้นแบบ #เช็กให้รู้ ซึ่งเป็นระบบอัจฉริยะต้นแบบช่วยการตัดสินใจข้อมูลข่าวปลอมด้านสุขภาพ (Fact Checking Intelligent Platform) หวังกระตุ้นประชาชนให้ตระหนักรู้ และสามารถรับมือข่าวปลอมสุขภาพที่เกิดในสังคมไทยปัจจุบัน

ผศ.ดร.บุหงา ชัยสุวรรณ รองคณบดีคณะนิเทศศาสตร์ นิด้า หัวหน้าโครงการพัฒนาศูนย์ตรวจสอบข้อเท็จจริงของข้อมูลข่าวสารและสร้างเครือข่ายระดับประเทศในการรับมือกับข่าวปลอม กล่าวว่า เทคโนโลยีในทุกวันนี้เปิดโอกาสให้ข่าวปลอมถูกแชร์ออกไปอย่างรวดเร็ว กว้างขวาง และวนเวียนซ้ำอีกหลายครั้ง และผู้ส่งสารบางกลุ่มจงใจผลิตเนื้อหาข่าวที่ไม่ถูกต้อง หรือขาดการตรวจสอบความถูกต้อง ทำให้ผู้อ่านบางกลุ่มที่ยังไม่มีทักษะการรู้เท่าทันสื่ออย่างเพียงพอเกิดความเข้าใจผิด หรือหลงเชื่อในข้อมูลที่ไม่ถูกต้องนั้น จนเกิดความเสียหายทั้งต่อบุคคลและสังคมในวงกว้าง

ทั้งนี้ผู้อ่านข่าว สามารถใช้เกณฑ์ในการตรวจสอบว่าข่าวนั้นมีแนวโน้มที่จะเข้าลักษณะของการเป็นข่าวปลอมหรือไม่ 6 มิติ ได้แก่

มิติโครงสร้างข่าว ข่าวมีแนวโน้มที่จะเป็นข่าวปลอม หากข่าวมีโครงสร้างข่าวไม่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์การเขียนข่าวที่ดี เช่น ไม่ระบุวันที่เผยแพร่ ไม่ระบุผู้เผยแพร่เนื้อหา ไม่มีการอ้างอิงข้อมูล ไม่มีการอ้างแหล่งข่าวที่น่าเชื่อถือมิติบริบท คือ ข่าวปลอมมักจะมีผู้ติดตามส่วนใหญ่แสดงความคิดเห็นต่อเนื้อหาข่าวไปในทางลบ หรือมีผู้แชร์เนื้อหาต่อในปริมาณน้อยมิติเนื้อหา คือ ข่าวปลอมมีแนวโน้มในการนำเสนอเนื้อหาในลักษณะไม่เหมาะสม เช่น การนำเสนอเนื้อหาที่ไม่ตรงกับเรื่องในพาดหัวข่าว การใช้ข้อความเชิญชวนหรือกล่าวโทษผู้อื่นในพาดหัวข่าว การอ้างอิงหลักฐานความเชื่อที่พิสูจน์ไม่ได้ หรือการใช้ข้อมูลสนับสนุนอย่างเกินจริง การยกตัวอย่างประสบการณ์ของหมอหรือผู้ป่วย รวมถึงเนื้อหาที่เน้นเชิญชวนให้ซื้อสินค้าหรือเกิดพฤติกรรมคล้อยตามมิติด้านภาษา คือ ข่าวปลอมมีการใช้ภาษาที่มีการสะกดผิด เช่น การใช้ตัวอักษรภาษาไทยปนกับตัวอักษรหรืออักขระพิเศษอื่น ๆ หรือตั้งใจเว้นวรรคผิดรูปประโยคมิติด้านโฆษณาและผู้สนับสนุน คือ ในหน้าเว็บที่นำเสนอข่าวปลอมจะมีสัดส่วนปริมาณโฆษณามากกว่าเนื้อหาข่าวมิติด้านสุขภาพ คือ ข่าวปลอมจะมีการใช้คำที่อธิบายคุณสมบัติของสินค้าหรือบริการที่ไม่ได้รับอนุญาตจากกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพ เช่น พรบ.อาหารและยา เป็นต้น

นอกจากเราจะสามารถใช้วิจารณญาณการรู้เท่าทันสื่อของตนเองโดยพิจารณาตามเกณฑ์ข้างต้นแล้ว ผู้อ่านข่าวยังสามารถทดลองตรวจสอบข่าวได้จากระบบต้นแบบ “เช็กให้รู้” ระบบอัจฉริยะต้นแบบช่วยการตัดสินใจข้อมูลข่าวปลอมด้านสุขภาพ (Fact Checking Intelligent Platform) ซึ่งถูกพัฒนาขึ้นให้เป็นเครื่องมือที่ช่วยนำเกณฑ์การพิจารณาโครงสร้างข่าว มาผ่านกระบวนการทำงานของ Data Scientist ที่พัฒนาโมเดล ด้วยการสอนให้ระบบคอมพิวเตอร์เรียนรู้ผ่านการสร้าง Annotation หลังจากนั้นจึงนำข้อมูลมาทำการวิเคราะห์โดยนักนิเทศศาสตร์ และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบในการกำกับดูแลผลิตภัณฑ์สุขภาพ แล้วจึงสร้างโมเดลการเรียนรู้ให้ระบบคอมพิวเตอร์ วิเคราะห์ แยกแยะโครงสร้างของข้อมูลข่าวด้วยปัญญาประดิษฐ์ (AI) จนนำไปสู่ระบบตรวจสอบข่าวปลอมขึ้น ซึ่งระบบจะสามารถระบุถึง “แนวโน้มความเป็นไปได้ที่เข้าองค์ประกอบข่าวปลอม” (Fake news probability) ของข่าวที่นำมาตรวจนั้นเพื่อเป็นตัวช่วยในการตัดสินใจของผู้รับข้อมูลข่าว และเสริมสร้างการรู้เท่าทันสื่อได้ในระยะยาว

โครงการนี้ เป็นส่วนหนึ่งของ “โครงการพัฒนาศูนย์ตรวจสอบข้อเท็จจริงของข้อมูลข่าวสารและสร้างเครือข่ายระดับประเทศในการรับมือกับข่าวปลอม” ซึ่งเป็นการร่วมมือกันระหว่างภาคีองค์ความรู้ ได้แก่ คณะนิเทศศาสตร์ นิด้า โครงการFake News Fighter คณะวารสารศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) และบริษัท แบ็คยาร์ด จำกัด ซึ่งเป็นภาคีที่มีความชำนาญในด้านเทคโนโลยี และระบบปัญญาประดิษฐ์ โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ประจำปี 2562

โครงการฯ กำลังพัฒนาต่อยอดระบบเช็กให้รู้ให้ประชาชนทั่วไปสามารถนำข่าวมาตรวจสอบผ่านเว็บไซต์ เช็กให้รู้ ในอนาคตด้วย ผู้ที่สนใจทดลองใช้ระบบ #เช็กให้รู้ ติดตามร่วมเป็นเครือข่ายตรวจสอบข้อเท็จจริงของข้อมูลข่าวสาร และรับข่าวสารหรือร่วมการทดลองระบบก่อนใคร ได้ที่ facebook fanpage : #เช็กให้รู้

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๘ มี.ค. ดร.ฤกขจี กาญจนพิทักษ์ ได้รับรางวัล Best Women CEO in Strategic Leadership - Healthcare
๒๘ มี.ค. ฉลองสงกรานต์และอีสเตอร์สุดชิคในเดือนเมษายนนี้ที่โรงแรม โฟร์พอยท์ส บาย เชอราตัน ภูเก็ต ป่าตอง บีช รีสอร์ท
๒๘ มี.ค. เจนเนอราลี่ ไทยแลนด์ ชวนน้องฉัตร เนรมิตความมั่นใจในคลาสสุดเอ็กซ์คลูซีฟ ส่งต่อพลัง #EmpowerHER ฉลองเดือนสตรีสากล
๒๘ มี.ค. พาราไดซ์ พาร์ค มุ่งยกระดับประสบการณ์ใหม่ที่ยิ่งใหญ่จากเดิม สู่การเป็น Health Wellness Destination เติมเต็มทุกความต้องการด้านสุขภาพและทุกไลฟ์สไตล์เพื่อชีวิตที่ดีของทุกคน
๒๘ มี.ค. เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย เยี่ยมชม เลอโนท ประเทศไทย พร้อมร่วมกิจกรรมเวิร์กช็อปสุดพิเศษ ศิลปะการทำเวียนนัวเซอรี่ มาสเตอร์คลาส กับเชฟมิกาแอล
๒๘ มี.ค. คณะการท่องเที่ยวฯ DPU จัดเวทีประชัน HT MAKEUP GRAND COMPETITION 2025 ปี 2 เพื่อเสริมสร้างทักษะด้านการแต่งหน้าเสริมบุคลิกภาพให้นักศึกษา
๒๘ มี.ค. สคล. ผนึกกำลังชุมชน รณรงค์ลด ละ เลิกเหล้า ต่อเนื่อง พุ่งเป้า ป้องกันนักดื่มหน้าใหม่ มุ่งสร้างสังคมสุขภาวะ
๒๘ มี.ค. NER สานต่อโครงการ NER สนับสนุนวิถีเกษตรยั่งยืน ปี2
๒๘ มี.ค. Readyplanet โชว์ศักยภาพผู้นำด้าน MarTech และ CRM Platform ในงาน MARTECH EXPO 2025
๒๘ มี.ค. Round 2 Solutions ตอกย้ำความเป็นผู้นำด้าน CRM ด้วย AI อัจฉริยะ ในงาน Salesforce AI Evolution 2025