ศธ. เดินหน้าเปิดศูนย์ “HCEC” พัฒนาศักยภาพรายบุคคลต้นแบบ เพิ่มศักยภาพแรงงานสู่ความเป็นเลิศทัดเทียมสากล

จันทร์ ๒๑ กันยายน ๒๐๒๐ ๐๙:๔๔
กระทรวงศึกษาธิการ พร้อมขับเคลื่อนการศึกษาไทยสู่ยุคใหม่ เดินหน้าเปิดศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ หรือ HCEC โรงเรียนต้นแบบแห่งแรก เพื่อเป็นศูนย์กลางการสร้างความร่วมมือระหว่างโรงเรียน-เอกชนในระดับภูมิภาค มุ่งพัฒนาศักยภาพบุคคลสู่การเป็นทุนมนุษย์ที่มีความเป็นเลิศ ตามมาตรฐานสากล ตั้งเป้าปี ๒๕๖๓ ตั้งศูนย์ในโรงเรียนทั่วทุกภูมิภาค ๑๘๕ ศูนย์ และในวิทยาลัยอาชีวะ ๑๐๐ ศูนย์ภายในปี ๒๕๖๔

วันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๖๓ นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้เป็นประธานเปิดศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ (Human Capital Excellence Center : HCEC) ต้นแบบ ณ โรงเรียนสตรีวิทยา ๒ กรุงเทพมหานคร เวลา ๐๙.๐๐ น.

นายณัฏฐพล กล่าวในฐานะประธานเปิดงานว่า ตลอดระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมากระทรวงศึกษาธิการ ได้จัดเตรียมกลไกขับเคลื่อนการศึกษาไทยสู่ยุคใหม่ ด้วยความมุ่งมั่นที่จะใช้ระบบการศึกษาให้เป็นกลไกในการขับเคลื่อนและพัฒนาทุนมนุษย์ (Human Capital) สู่ความเป็นเลิศ

โดยมุ่งเน้นให้กระบวนการทำงานของกระทรวงศึกษาธิการต้อง “ปลดล็อก ปรับเปลี่ยน เปิดกว้าง” เพื่อรองรับการปฏิรูปทางการศึกษาตามแผนงานการศึกษายกกำลังสอง โดยได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะการนำภาคเอกชนมามีส่วนร่วมในการเตรียมความพร้อมการพัฒนากำลังคนในทุกมิติ เพื่อให้สอดรับกับความต้องการของตลาดแรงงานที่ภาคเอกชนต้องการ เป็นการเรียนกับมืออาชีพเพื่อให้ได้ศักยภาพแรงงานที่เป็นเลิศอย่างแท้จริง

รวมทั้งตั้งเป้าหมายให้ศูนย์ HCEC เป็นศูนย์กลางในการเพิ่มขีดความสามารถของทุนมนุษย์ เพื่อปฏิรูปการศึกษาสู่ความเป็นเลิศอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

“HCEC มีเป้าหมายหลักในการช่วยให้ระบบการศึกษาดีขึ้น ด้วยการพัฒนาวิชาชีพครู และทำงานร่วมกับวิทยาลัยอาชีวะในการพัฒนาวิชาชีพซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาด เป็นศูนย์พัฒนาศักยภาพในเขตพื้นที่การศึกษาที่สอนและจัดอบรมโดยผู้เชี่ยวชาญจากภาคเอกชน ทั้งแบบออนไลน์และแบบห้องเรียนเสมือนจริง (Virtual Classroom) โดยมุ่งหวังให้เป็นศูนย์พัฒนาศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถในทักษะต่างๆที่จำเป็นในศตวรรษที่ ๒๑ ในเขตพื้นที่การศึกษาที่สอนและจัดอบรมโดยผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาสามารถพัฒนาตนเองได้อย่างต่อเนื่องและตลอดเวลา” นายณัฏฐพล กล่าว

ศูนย์ HCEC จะจัดตั้งขึ้นภายในโรงเรียนและวิทยาลัยต่างๆ ทั่วประเทศ ตามแผนงานที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้วางนโยบายในการจัดตั้งศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ (Human Capital Excellence Center : HCEC) ในทุกจังหวัดทั่วประเทศ รวม ๑๘๕ ศูนย์ และในวิทยาลัยอาชีวะ ๑๐๐ ศูนย์ภายในปี ๒๕๖๔

ทั้งนี้ ได้แบ่งกรอบระยะเวลาในการดำเนินงานจัดตั้งศูนย์ HCEC ภายในโรงเรียน เป็น ๒ ระยะ คือ ระยะที่ ๑ จำนวน ๘๒ ศูนย์ และระยะที่ ๒ จำนวน ๑๐๓ ศูนย์ โดยใช้ศูนย์พัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ (English Resources Information Center : ERIC) เดิม ที่ตั้งอยู่ในโรงเรียนประจำจังหวัดและโรงเรียนประจำอำเภอเป็นที่ตั้งของศูนย์ ภายใต้วัตถุประสงค์ที่จะผลักดันให้ศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ (Human Capital Excellence Center : HCEC) เป็นศูนย์กลางในการอบรมพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา (Training Center) แบบออนไลน์และแบบห้องเรียนเสมือนจริง (Virtual Classroom)

รวมถึงการอบรมพัฒนาด้านอื่นๆ ของทุกจังหวัด เป็นศูนย์กลางในการทดสอบสมรรถภาพของครูและบุคลากรทางการศึกษา (Testing Center) วัดระดับความสามารถและทักษะด้านต่างๆ ตามสมรรถนะที่ สพฐ.กำหนด อาทิ การทดสอบทักษะด้านภาษาอังกฤษ (English Literacy) และทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Literacy) ซึ่งถือว่าเป็นทักษะพื้นฐานในมาตรฐานวิชาชีพครู

รวมถึงทักษะอื่นๆ ที่สำคัญในศตวรรษที่ ๒๑ และยังทำหน้าที่เป็นศูนย์ในการตรวจสอบรับรองคุณสมบัติการออกใบประกาศนีบัตรในรูปแบบออนไลน์ (E-Certification) การตรวจสอบรับรองคุณสมบัติเพื่อใช้ในการต่อใบประกอบวิชาชีพครู (Teacher License) ครอบคุมถึงการตรวจสอบรับรองคุณสมบัติด้านการส่งเสริมความก้าวหน้าในวิชาชีพและให้มีวิทยฐานะสูงขึ้น

นายณัฏฐพล กล่าวต่อว่า กลไกขับเคลื่อนทั้งหมดที่กล่าวมา จะนำไปสู่ความเป็นเลิศของผู้ที่เกี่ยวข้องกับระบบการศึกษาไทยทั้งระบบ เพราะเมื่อการศึกษากลายเป็นระบบนิเวศโดยสมบูรณ์ ด้วยการเชื่อมต่อผ่าน HCEC, DEEP และเปลี่ยนวิธีการวัดผลด้วย EIDP ทั้งนักเรียน ครู และผู้บริหารสถานศึกษา จะสามารถประสบความสำเร็จได้ในแบบฉบับของตนเอง และจะนำพาให้ประเทศไทยกลายเป็นประเทศที่มีฐานทุนมนุษย์ที่เป็นเลิศอย่างแท้จริง

รมว.ศธ. ยังคาดหวังว่าในระยะสั้น ระบบการศึกษาที่ดีจะช่วยให้ประเทศไทยสามารถสร้างความเชื่อมั่น และความแตกต่าง สร้างความน่าสนใจให้ประเทศต่างๆ อยากมาลงทุนมากขึ้น ในระยะกลางทำให้ไทยสามารถแข่งขันในเวทีโลกได้ และในระยะยาวหากเกิดปัญหาหรือสถานการณ์วิกฤตขึ้น ประเทศไทยจะมีความยืดหยุ่นในการปรับตัวและมีความสามารถในการฟื้นตัวได้ดีอย่างแน่นอน

“จากยุทธศาสตร์แผนงานการศึกษายกกำลังสองที่ได้มอบหมายนโยบายให้กับทุกๆ ฝ่ายที่เกี่ยวข้องไปเรียบร้อยแล้วนั้น ทำให้เราเชื่อมั่นว่าการปฏิรูปการศึกษาไทยทั้งระบบในทุกๆ มิติ จะสามารถพัฒนาและเป็นแรงผลักดันให้บุคลากรแรงงานของไทยมีทักษะและศักยภาพที่ตอบโจทย์กับความต้องการของภาคเอกชน และภาคอุตสาหกรรม ตลอดจนเท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ ๒๑ นี้ได้อย่างแน่นอน” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการกล่าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐ ธ.ค. ASMT ผนึก TFT ร่วมลงนามด้านวิชาการด้านอุตสาหกรรมการบิน
๒๐ ธ.ค. กรมวิชาการเกษตร เดินหน้า ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอะโวคาโดคุณภาพ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรกว่า 2 แสนบาท/ไร่
๒๐ ธ.ค. Dow มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ Personal Care ควบคู่ความยั่งยืน ตอบโจทย์ผู้บริโภคตลาดเครื่องสำอางในภูมิภาคเอเชีย
๒๐ ธ.ค. โอซีซี มอบความรู้ พัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขังหญิง
๒๐ ธ.ค. ดร.นุชนารถ ชลคงคา นำทีมสถาบัน ESTC จัดอบรมให้ Karmakamet
๒๐ ธ.ค. กนภ. เห็นชอบร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกสำคัญสู่เส้นทางเศรษกิจคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันฯ
๒๐ ธ.ค. WePlay x คอลแลบตัวละครสุดปัง! พบกับมินิเกมใหม่ และการ์ตูนสุดน่ารักที่คุณจะต้องหลงรัก
๒๐ ธ.ค. เดลต้า ประเทศไทย และ WEnergy Global ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อขับเคลื่อนอนาคตพลังงานสีเขียว
๒๐ ธ.ค. ความภาคภูมิใจของ ไลอ้อน กับ 3 รางวัลแห่งเกียรติยศ เผยผลงานโดดเด่นกับหลายรางวัลที่ได้รับในปี 2567
๒๐ ธ.ค. NOBLE คว้าเรทติ้งสูงสุด ระดับ AAA SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืนภายในแนวคิด Live Different ตามกรอบ