มจธ. จัดประชุมเครือข่ายศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์ประเทศไทย (TSEN) ครั้งที่ 2/2563

พุธ ๒๓ กันยายน ๒๐๒๐ ๑๔:๒๕
เนื่องในโอกาสครบรอบ 60 ปี แห่งการสถาปนามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) มหาวิทยาลัยได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดประชุมเครือข่ายศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์ประเทศไทย (TSEN) ครั้งที่ 2/2563 โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.สุวิทย์ แซ่เตีย อธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กล่าวเปิดการประชุมเครือข่ายศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์ประเทศไทย (TSEN) ครั้งที่ 2/2563 ดร.ณฏฐพล วุฒิพันธุ์ เลขานุการเครือข่ายศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์ประเทศไทย กล่าวรายงาน โดย รศ.กรวลัย พันธุ์แพ หัวหน้าศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์ฯ คณะวิทยาศาสตร์ เป็นตัวแทนมหาวิทยาลัยฯ เข้าร่วมการประชุมใหญ่สามัญประจำปี เพื่อยกระดับมาตรฐานการวิเคราะห์ทดสอบและห้องปฏิบัติการด้านการวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ และยังมีการประชุมกลุ่มย่อยทั้ง 6 กลุ่ม อาทิ กลุ่มวิจัยและบริการเชิงพาณิชย์ กลุ่มพัฒนามาตรฐานห้องปฏิบัติการและวิธีวิเคราะห์ กลุ่มบริหารจัดการความรู้การจัดหาครุภัณฑ์ กลุ่มฐานข้อมูลด้านความสามารถของห้องปฏิบัติการ กลุ่มซ่อมบำรุงรักษาเครื่องวิทยาศาสตร์และส่งเสริมกิจกรรมเครือข่ายและพัฒนา และกลุ่มด้านความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และประสบการณ์ด้านต่างๆ พิธีเปิดงานจัดขึ้นเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2563 ณ ชั้น 2 อาคารวิจัยและนวัตกรรมกระบวนการชีวภาพ (Bioprocess Research and Innovation Building (BRI Building)) มจธ. บางขุนเทียน สำหรับการประชุมจัดขึ้นระหว่างวันที่ 17-18 กันยายน 2563 โดยมีสมาชิกเครือข่ายศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์ประเทศไทยจาก 23 สถาบัน กว่า 150 คน เข้าร่วมประชุม

ในโอกาสนี้ ได้จัดให้มีการบรรยายจากบริษัทผู้จัดจำหน่ายเครื่องมือวิทยาศาสตร์ และนำผู้เข้าร่วมประชุมเยี่ยมชมหน่วยงานวิจัยและบริการวิชาการของ มจธ. ประกอบด้วย ห้องปฏิบัติการSensor Technology Laboratory, Futuristic Research Cluster (FREAK Lab) ห้องปฏิบัติการที่รวมองค์ความรู้ทางสถาปัตยกรรมศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการออกแบบและจำลองโมเดล 3D Printing, ศูนย์พัฒนามาตรฐานและทดสอบระบบเซลล์แสงอาทิตย์ CES Solar Cells Testing Center (CSSC) อาทิ แผงเซลล์แสงอาทิตย์ แบตเตอรี่ อินเวอร์เตอร์ และอุปกรณ์ระบบเซลล์แสงอาทิตย์ (BOS) และเยี่ยมชมโรงงานต้นแบบผลิตเอทานอล (Ethanol Pilot Plant) การผลิตแอลกอฮอล์ ซึ่งใช้โรงงานต้นแบบผลิตเอทานอลจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาดำเนินการผลิตแอลกอฮอล์ 95% เพื่อเป็นตัวตั้งต้นในการใช้ในการผลิตแอลกอฮอล์ 75% และในช่วงวิกฤตการณ์ COVID-19 ได้ผลิตแอลกอฮอล์บางส่วนและจัดหาแอลกอฮอล์น้ำสำหรับฆ่าเชื้อให้เพียงพอต่อการส่งมอบให้โรงพยาบาลในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน และเยี่ยมชมเครื่องมือและอุปกรณ์โรงงานต้นแบบ ณ อาคารโรงงานต้นแบบ (Pilot Plant Service (PIP))

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๑๒ ฉลองเทศกาลตรุษจีนปีงูเล็ก ที่โรงแรมดุสิตธานี กระบี่ บีช รีสอร์ท
๑๗:๐๐ IMPACT เผยปี 68 ข่าวดี! โครงการ Sky Entrance รถไฟฟ้าสายสีชมพูมาตามนัด หนุนทราฟฟิคแน่น - จับมือพาร์ทเนอร์
๑๗:๕๒ อิมแพ็ค เมืองทองธานี ร่วมกับ มูลนิธิเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคม สนับสนุนโครงการ กู้วิกฤตและอนุรักษ์พะยูน ครั้งที่ 2
๑๗:๕๘ แสนสิริ เจ้าตลาดคอนโดแคมปัส อวดโฉม ดีคอนโด วิวิด รังสิต คอนโดใหม่ตรงข้าม ม.กรุงเทพ
๑๖:๔๓ เอ็นไอเอ - สสส. ดึงนิวเจน สรรค์สร้างนวัตกรรมส่งเสริมสุขภาพ ในแคมเปญ The Health Promotion INNOVATION PLAYGROUND
๑๗:๕๘ กรมวิทย์ฯ บริการ เร่งพัฒนาระบบ e-Learning ยกระดับการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ทั่วประเทศ
๑๖:๕๘ เขตจตุจักรกวดขันคนไร้บ้านเชิงสะพานข้ามคลองบางซื่อ สร้างพื้นที่ปลอดภัยสำหรับทุกคน
๑๗:๑๗ เขตพระนครประสานกรมเจ้าท่า-เอกชน เร่งปรับปรุงภูมิทัศน์ท่าเรือสุพรรณเดิม
๑๗:๔๐ กทม. กำชับเจ้าของอาคารตรวจสอบโครงสร้างบันไดเลื่อน เพิ่มความปลอดภัยประชาชน
๑๖:๓๗ แลกเก่าเพื่อโลกใหม่ ช้อปคุ้ม พร้อมลดหย่อนภาษี! 'เปลี่ยนของเก่าเป็นความคุ้ม' ผ่าน Easy E-Receipt ได้ที่โฮมโปร เมกาโฮม