ดีป้า เดินหน้าส่งเสริม SMEs ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ยกทัพ Digital Startup รุกจังหวัดอุดรธานี คาดกระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่ได้ไม่น้อยกว่า 11.6 ล้านบาท

พฤหัส ๒๔ กันยายน ๒๐๒๐ ๑๔:๐๘
ดีป้า เดินหน้าส่งเสริม SMEs ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ยกทัพ Digital Startup รุกจังหวัดอุดรธานี คาดกระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่ได้ไม่น้อยกว่า 11.6 ล้านบาท

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล ร่วมกับ จังหวัดอุดรธานี พร้อมด้วยเครือข่ายพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชน ยกขบวน Digital Startup ที่มีเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลให้บริการแก่ผู้ประกอบการในพื้นที่ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ทุกภาคอุตสาหกรรมสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างเหมาะสม สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติและการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ พร้อมสร้างความตระหนักรู้ให้ผู้ประกอบการในทุกภาคอุตสาหกรรมเข้าใจด้านเทคโนโลยีดิจิทัลในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะในยุค Disruptive Industry ผ่านกิจกรรม Smarter City in Action 2020 ครั้งที่ 1 ภายใต้แนวคิด “รวมพลคนดิจิทัล ร่วมพัฒนาเมืองอัจฉริยะ”

ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า เปิดเผยว่า ตามที่ นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) ได้มอบนโยบายให้ ดีป้า ดำเนินการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล รวมถึงส่งเสริมให้อุตสาหกรรมต่าง ๆ นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ธุรกิจ เพื่อให้ทุกภาคส่วนสามารถเติบโตและเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลอย่างยั่งยืน อันส่งผลต่อการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศ

"ดีป้า จึงได้ร่วมกับจังหวัดอุดรธานี เครือข่ายพันธมิตร และ Digital Startup กว่า 30 ราย รวมพลนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล ซึ่งประกอบไปด้วย ระบบขายหน้าร้าน (POS) ระบบการบริหารจัดการองค์กร (ERP) ระบบบริหารจัดการลูกค้า (CRM) และเทคโนโลยีไอโอที (Internet of Things) มาให้บริการแก่ผู้ประกอบการ SMEs ธุรกิจท่องเที่ยว ธุรกิจด้านการเกษตร รวมไปถึงการส่งเสริมและสนับสนุนเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อประยุกต์ใช้ในการพัฒนาเมืองให้เป็นเมืองอัจฉริยะ (Smart City) โดยคาดว่ากิจกรรม Smarter City in Action 2020 ครั้งที่ 1 จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถให้ผู้ประกอบการในพื้นที่ได้มากถึง 100 ราย สร้างการลงทุนและเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจไม่น้อยกว่า 11.6 ล้านบาท” ผู้อำนวยการใหญ่ ดีป้า กล่าว

ด้าน นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี เผยว่า จังหวัดอุดรธานี มีนโยบายในการยกระดับมาตรฐานสถานประกอบการโดยนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ เพื่อรองรับการพัฒนาเมืองอัจฉริยะตามนโยบายของรัฐบาล และมีแนวทางการยกระดับธุรกิจในพื้นที่ ให้ความรู้ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการบริหารธุรกิจของผู้ประกอบการ SMEs ให้สามารถดำเนินธุรกิจในยุคการเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภค ในวิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ซึ่งเทคโนโลยีดิจิทัลถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของผู้ประกอบการ SMEs ธุรกิจบริการ ธุรกิจขนาดเล็ก ผู้ประกอบการหาบเร่ แผงลอย ตลาดสด เกษตรกร และชุมชน พร้อมผลักดันจังหวัดอุดรธานี สู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัลตามฐานวิถีชีวิตใหม่ (นิวนอร์มอล) อย่างมั่นคงและยั่งยืน

นอกจากนี้ภายในกิจกรรม Smarter City in Action 2020 ประกอบด้วยการให้คำปรึกษาและแชร์ประสบการณ์จากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ และผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจเพื่อเป็นแนวทางการปรับธุรกิจในยุคนิวนอร์มอล การส่งเสริมและพัฒนาเมืองอัจฉริยะอาเซียน (ASEAN Smart Cities Network C&E) ซึ่งงานวันนี้มีหน่วยงานรัฐ เอกชน ผู้ประกอบการและประชาชนในพื้นที่ให้ความสนใจและเข้าร่วมกิจกรรมฯ กันเป็นจำนวนมาก

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐ ธ.ค. ASMT ผนึก TFT ร่วมลงนามด้านวิชาการด้านอุตสาหกรรมการบิน
๒๐ ธ.ค. กรมวิชาการเกษตร เดินหน้า ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอะโวคาโดคุณภาพ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรกว่า 2 แสนบาท/ไร่
๒๐ ธ.ค. Dow มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ Personal Care ควบคู่ความยั่งยืน ตอบโจทย์ผู้บริโภคตลาดเครื่องสำอางในภูมิภาคเอเชีย
๒๐ ธ.ค. โอซีซี มอบความรู้ พัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขังหญิง
๒๐ ธ.ค. ดร.นุชนารถ ชลคงคา นำทีมสถาบัน ESTC จัดอบรมให้ Karmakamet
๒๐ ธ.ค. กนภ. เห็นชอบร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกสำคัญสู่เส้นทางเศรษกิจคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันฯ
๒๐ ธ.ค. WePlay x คอลแลบตัวละครสุดปัง! พบกับมินิเกมใหม่ และการ์ตูนสุดน่ารักที่คุณจะต้องหลงรัก
๒๐ ธ.ค. เดลต้า ประเทศไทย และ WEnergy Global ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อขับเคลื่อนอนาคตพลังงานสีเขียว
๒๐ ธ.ค. ความภาคภูมิใจของ ไลอ้อน กับ 3 รางวัลแห่งเกียรติยศ เผยผลงานโดดเด่นกับหลายรางวัลที่ได้รับในปี 2567
๒๐ ธ.ค. NOBLE คว้าเรทติ้งสูงสุด ระดับ AAA SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืนภายในแนวคิด Live Different ตามกรอบ