โรคหัวใจ...ไม่ใช่เรื่องไกลตัว หยุด คุม เพิ่ม ลดความเสี่ยง ป้องกันโรค

ศุกร์ ๒๕ กันยายน ๒๐๒๐ ๑๗:๑๑
เนื่องในวันหัวใจโลก 29 กันยายน 2563 รพ.หัวใจกรุงเทพ อยากให้ประชากรทุกคนตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด เพราะการป้องกันแต่แรกเริ่มเป็นหนทางหนึ่งที่จะช่วยให้ห่างไกลจากโรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งไม่ใช่เรื่องไกลตัว โดยโรคประจำตัว พฤติกรรมการใช้ชีวิต อาหารการกิน สภาวะแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมตลอดจน ความเครียด เหล่านี้ เป็นปัจจัยที่จะก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค หรือกระตุ้นให้เกิดโรคทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรังได้ และสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ เราขอเป็นกำลังใจ และพร้อมที่จะดูแลรักษาท่านด้วยทีมหัวใจโรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ

นพ. เกรียงไกร เฮงรัศมี ผู้อำนวยการโรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ กล่าวว่า โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Artery Disease: CAD) เป็นโรคที่เกิดจากหลอดเลือดแดงที่เลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจเกิดการตีบหรือตัน ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากไขมันที่สะสมอยู่ในผนังของหลอดเลือด ทำให้เกิดการอักเสบของหลอดเลือดนำไปสู่ภาวะหลอดเลือดแข็ง (Atherosclerosis)ในรายที่เป็นเรื้อรังหรือเกิดการร่อนหลุดของตะกรันไขมันที่เกิดใหม่มาอุดหลอดเลือด (Atherothrombosis)ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันและเสียชีวิตได้ ทั้งนี้ สถานการณ์โรคหัวใจและหลอดเลือดยังเป็นปัญหาสำคัญในทั่วโลกรวมถึงในประเทศไทยที่ยังคงมีความเสี่ยง และครองแชมป์การเสียชีวิตเป็นอันดับ 1 ของโลก หนึ่งในโรคหัวใจและหลอดเลือดที่พบได้มากที่สุดในปัจจุบันคือ โรคหลอดเลือดหัวใจ(coronary artery disease) จากข้อมูลเมื่อประมาณ 3-4 ปีที่ผ่านมา ทั่วโลกพบว่าผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจอยู่ที่ประมาณ 130 ล้านคน โดยพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง ข้อมูลโดยเฉลี่ยพบว่าผู้ชายเป็นโรคหัวใจอยู่ที่ประมาณ 70 ล้านคน และผู้หญิงอยู่ที่ประมาณ 60 ล้านคน อัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ 150 – 300 ต่อแสนประชากร ในปีพ.ศ.2561 พบว่าผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจที่อายุ 15 ปีขึ้นไป มีจำนวน 1,396.40 คนต่อแสนประชากร นอกจากนี้ ยังพบด้วยว่าคนไทยมีอัตราการเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจตีบอยู่ที่ปีละประมาณ 300,000 – 350,000 แสนรายต่อปี เฉลี่ยนาทีละ 2 คน และนับเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ1 ของประเทศไทยในปัจจุบัน

ปัจจัยที่เกี่ยวข้องและพฤติกรรมเสี่ยงสำคัญที่ส่งผลให้หลอดเลือดหัวใจเกิดความผิดปกติ มาจาก 2 ปัจจัย ได้แก่ 1. ปัจจัยเสี่ยงที่แก้ไขไม่ได้ ได้แก่ พันธุกรรม มีประวัติครอบครัว คุณพ่อ คุณแม่ หรือญาติสายตรง มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดตั้งแต่อายุยังน้อยหรือเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจก่อนอายุ 50 ปี อายุที่เพิ่มมากขึ้น ผู้หญิงในวัยหมดประจำเดือน มีโอกาสเกิดหลอดเลือดแดงแข็งได้มากขึ้น เนื่องจากฮอร์โมนเอสโตรเจนในเพศหญิงจะมีส่วนในการช่วยขยายเส้นเลือด หากหมดประจำเดือนหรือหมดฮอร์โมนเพศหญิงก็มีโอกาสทำให้เกิดความเสี่ยงได้ 2.ปัจจัยที่แก้ไขได้และหรือควบคุมได้ ได้แก่ โรคเบาหวาน การสูบบุหรี่ ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีปัจจัยย่อยที่มีส่วนสำคัญไม่แพ้กัน ได้แก่ ความเครียด การรับประทานอาหารไม่ถูกสุขลักษณะ ไม่ออกกำลังกาย โรคอ้วน ไม่รับประทานผักและผลไม้ ซึ่งจะเห็นว่าความเสี่ยงเกิดจากปัจจัยหลายอย่างประกอบกัน ดังนั้น การดูแลตัวเอง การควบคุม รวมถึงการป้องกันต้องดูให้ครอบคลุมทุกด้านทั้งหมด

ลดความเสี่ยงโรคหัวใจด้วยการ หยุด คุม เพิ่ม 1.หยุดการสูบบุหรี่ เพราะการสูบบุหรี่ไม่เป็นผลดีต่อร่างกาย สารพิษในควันบุหรี่ ทำให้หลอดเลือดหัวใจตีบลง อาจส่งผลให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบหรือหัวใจขาดเลือดได้ หยุดความเครียด เพราะความเครียดจะเข้าไปเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ 2.คุมน้ำหนัก โรคอ้วนยังคงเป็นปัญหาสุขภาพของคนไทย ยิ่งไปกว่านั้นคือส่งผลให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ ตามมา คุมเบาหวานและไขมันในเลือด คนที่เป็นโรคเบาหวาน หากระดับน้ำตาลในเลือดสูง ส่งผลให้การไหลเวียนเลือดช้า ทำให้น้ำตาลและไขมันไปเกาะกับผนังหลอดเลือด เกิดการอักเสบได้ คุมความดัน เพราะความดันโลหิตสูงเป็นหนึ่งในกลุ่มของโรคที่ทำให้เกิดผลแทรกซ้อนของโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ 3.เพิ่ม อาหารที่ดีต่อสุขภาพ ผักและผลไม้ การออกกำลังกายที่เหมาะสมสัปดาห์ละ 150 นาที

โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ พร้อมด้วยปัจจัยหลัก 3 ประการ คือ ความเชี่ยวชาญของบุคลากรทางการแพทย์ทุกสาขา เทคโนโลยี และการให้บริการ ตั้งแต่การป้องกันโรคหัวใจ การตรวจรักษาและการฟื้นฟูส่งเสริมสมรรถภาพหัวใจของผู้ป่วยตามมาตรฐานสากล เพื่อความพึงพอใจสูงสุดของผู้รับบริการ โดยได้รับการรับรองผลการรักษาจากสถาบันระดับโลก “Joint Commission International หรือ JCI” มาอย่างต่อเนื่องล่าสุดปีพ.ศ.2562 และ ได้รับการรับรองเฉพาะโรค (Clinical Care Program Certification หรือ CCPC) จาก JCI อย่างต่อเนื่องในปี พ.ศ. 2554 พ.ศ. 2557 และพ.ศ. 2560 ในด้านการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน (AMI: Acute Myocardial Infarction) และ ผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลว (Heart Failure)

นพ.เกรียงไกร กล่าวเพิ่มเติมว่า เนื่องในวันหัวใจโลก รพ.หัวใจกรุงเทพ ตระหนักถึงความสำคัญของโรคหัวใจ ภายใต้คอนเซปต์ "Use heart to beat heart disease" พิชิตโรคหัวใจ ด้วยใจที่เข้มแข็ง ให้ทุกคนได้เข้าใจและเห็นความสำคัญในการดูแลโรคหัวใจและการป้องกันโรค รวมถึงการตรวจสุขภาพหัวใจและหลอดเลือด หากอายุยังไม่มาก ไม่มีประวัติครอบครัวที่มีความเสี่ยง ตรวจสุขภาพประจำปีแล้วไม่พบ ทั้งเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง สามารถดูแลตนเองได้ตามปกติ แต่หากพบปัจจัยเสี่ยงหรือมีอายุ 40 ปีขึ้นไปควรตรวจเช็กสุขภาพหัวใจเป็นประจำทุกปี เพื่อดูแลหัวใจให้แข็งแรง ถ้าสามารถดูแลทุกอย่างให้ครอบคลุม คนไข้ดูแลตัวเองให้ดี รพ.ให้บริการดูแลคนไข้อย่างใส่ใจมีคุณภาพและประสิทธิภาพ คนไข้ก็จะอายุยืนยาวอย่างมีสุขภาพดี รวมทั้งมีคุณภาพชีวิตที่ดีตามไปด้วย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๕ พ.ย. ดิ เอราวัณ กรุ๊ป เปิดตัว HOP NextGen ชวนนักศึกษาเยี่ยมชม ฮ็อป อินน์ เรียนรู้เทคนิคบริการแบบ Consistency is Yours พร้อมพัฒนาบุคลากรรุ่นใหม่
๑๕ พ.ย. คิง เพาเวอร์ ต้อนรับเทศกาลแห่งความสุขส่งท้ายปี เปิดแคมเปญ THE POWER OF FUNTASTIC CELEBRATION 2025 ฉลองทุกความสุข สนุกไม่รู้จบ
๑๕ พ.ย. พันธุ์ไทย ชวนแฟนด้อม คัลแลนและพี่จอง จุ่ม การ์ดพันธุ์ไทยใจฟู ลิมิเต็ด อิดิชั่น
๑๕ พ.ย. BAM ทรานส์ฟอร์มองค์กรสู่ DIGITAL ENTERPRISE ตอกย้ำผู้นำ AMC ยุค 4.0 วางเป้าหมายยกระดับองค์กรสร้างโอกาสเติบโตอย่างยั่งยืน เตรียมส่ง อิสระ เดอะซีรีส์ ชวนลูกหนี้ BAM
๑๕ พ.ย. บางจากฯ ได้รับการประเมินด้านความยั่งยืนอันดับสูงสุดของโลก จาก SP Global 2024 ในกลุ่มอุตสาหกรรม Oil Gas Refinery and
๑๔ พ.ย. ซีเอเค อินเตอร์เนชั่นแนล ออกบูธให้ความรู้เรื่องการใช้งานระบบดับเพลิงนร. พระหฤทัยนนทบุรี
๑๒ พ.ย. พนักงานซีเอเค อินเตอร์เนชั่นแนล รับรางวัลเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานดีเด่น
๑๕ พ.ย. PROSPECT REIT ชูไตรมาส 3/67 โตเกินเป้า อัตราการเช่าพุ่งนิวไฮ หนุนจ่ายปันผลเด่น 0.2160 บาท
๑๕ พ.ย. CHAO ประกาศงบ Q3/67 กำไรพุ่งกว่า 62% รับตลาดส่งออกพีค จีนโตเด่น แย้ม Q4 เดินหน้าบุกตลาดในประเทศ สินค้าใหม่หนุนยอดขายปลายปี
๑๕ พ.ย. ฉลองเทศกาลลอยกระทงประจำปี 2567 ณ โรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล กรุงเทพฯ