มิว สเปซ เปิดแผนสร้างเทคโนโลยี ดันไทยสู่อุตสาหกรรมอวกาศ

พุธ ๓๐ กันยายน ๒๐๒๐ ๑๑:๒๔

มิว สเปซ เผยแผนพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศ หลังจากทำการส่งวัตถุและอุปกรณ์การทดลอง (payload) ขึ้นไปยังอวกาศเป็นครั้ง ที่ 4 ร่วมกับ Blue Origin บนจรวด New Shepard (NS-13)

นายเจมส์ วรายุทธ เย็นบำรุง วิศวกรไทยและประธานกรรมการบริหาร บริษัทด้านอุตสาหกรรมดาวเทียมและเทคโนโลยีอวกาศ เปิดเผยว่า ?ส่วนประกอบต่าง ๆ ของดาวเทียม HTS (high throughput satellite) กว่า 40% ผลิตโดย มิว สเปซ และ ผู้ผลิตภายในประเทศ ด้วยเทคโนโลยีของคนไทยที่ได้มาตรฐานสากล โดยคาดว่าจะสามารถปล่อยดาวเทียมสู่วงโคจรภายในปี 2024 เพื่อให้ มิว สเปซ เป็นผู้ให้บริการดาวเทียมต่างชาติแห่งแรกของไทย เมื่อมีการเปิดเสรีดาวเทียม ดาวเทียมวงโคจรต่ำ หรือ LEO Satellite จะเป็นประโยชน์และมีความสำคัญอย่างมากต่อระบบการสื่อสารในอนาคต อีกทั้ง ยังเป็นการยกระดับเทคโนโลยีทางด้านการสื่อสารของไทยให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อให้มีศักยภาพทัดเทียมกับนานาชาติ รวมไปถึงการรองรับเทคโนโลยีใหม่ๆ อาทิ 5G, Cloud storage, Online Transaction และความปลอดภัยในการทำธุรกิจต่าง ๆ ให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ มั่นใจว่า มิว สเปซ คือทางเลือกใหม่ของคนไทย ที่จะสามารถพัฒนารูปแบบการให้บริการในทิศทางใหม่ๆ ได้อย่างตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มลูกค้าอย่างทั่วถึง พร้อมช่วยทำให้การรับส่งสัญญาณมีประสิทธิภาพและเข้าถึงพื้นที่ต่าง ๆ ได้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น

เป้าหมายหลักของ มิว เปซ คือการพัฒนาเทคโนโลยีและอุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อนำประเทศไทยมุ่งสู่ธุรกิจทางด้านอุตสาหกรรมอวกาศ อย่างเช่น โครงการวิจัยและพัฒนาหุ่นยนต์ระบบอัตโนมัติ (Autonomous Robot) เพื่อใช้ในภารกิจทางด้านอวกาศในอนาคตอันใกล้ มิว สเปซ จึงมุ่งเน้นการพัฒนาเทคโนโลยีที่จะสามารถสนับสนุนการค้นหาทรัพยากร ประกอบกับการนำไปพัฒนาต่อยอดด้านการสื่อสารดาวเทียม ให้มีคุณภาพสูงแต่มีค่าใช้จ่ายต่ำ เพื่อเข้าถึงกลุ่มลูกค้าทุกรูปแบบและสอดคล้องกับความต้องการในตลาดอย่างลงตัว รวมทั้งเป็นการ สร้างงาน สร้างโอกาส ขยายตลาดแรงงานทักษะสูง ตลอดจนถึงบุคลากรผู้มีความรู้ความสามารถ ในการยกระดับและพัฒนาอุตสาหกรรมอวกาศของไทยสู่นานาชาติ สำหรับไฮไลท์ในการเปิดตัวนี้ คือแผนการสร้าง Spaceship หรือพาหนะทางอวกาศขนาดเล็กลำแรกของไทย โดยมีวัตถุประสงค์หลัก คือ

สร้าง Data Center นอกชั้นบรรยากาศของโลก ซึ่งสามารถลดปัญหาสำคัญของการสร้างศูนย์เก็บข้อมูล เช่น การควบคุมอุณหภูมิให้เหมาะสมต่อการปฏิบัติการของระบบภายใต้สภาวะอุณหภูมิต่ำ ซึ่งใช้ปริมาณมากถึง 40% ของพลังงานไฟฟ้าทั้งหมด การนำ Data Center ออกไปยังสภาวะอวกาศที่เย็นกว่า -270?C ทำให้สามารถกำจัดเรื่องของอุณหภูมิไปได้อย่างมาก

ใช้พลังงานบริสุทธิ์อย่างแท้จริง ไม่พึ่งพาพลังงานจากโลก โดย Spaceship จะโคจรค้างฟ้า และรับพลังงานจากแสงอาทิตย์บริเวณใต้ท้องตลอดเวลา จึงสามารถปฏิบัติงานด้วยตนเอง ไม่ต้องพึ่งพลังงานจากโลก

ความปลอดภัย โดยทำให้ spaceship ที่ลอยค้างฟ้าและเชื่อมต่อกันเป็นโครงข่าย constellation มีความปลอดภัยจากอุบัติเหตุต่าง ๆ ที่มักเกิดขึ้นบนโลก เช่น ไฟไหม้ หรือ น้ำท่วม ยิ่งไปกว่านั้น การเชื่อมต่อกันเป็นกลุ่มขนาดใหญ่ครอบคลุมทั้งโลก จะทำให้การเชื่อมต่อมีความลื่นไหลเข้าถึงได้ทุกมุมโลก

ในเดือนสิงหาคมที่ผ่าน มิว สเปซ ได้มีการทดสอบวัสดุที่เหมาะสมต่อการนำมาสร้าง โดยทดสอบความแข็งแรงของวัสดุ จากการจำลองกระสุนปืนชนิดพิเศษ ที่มีความเร็วเทียบเท่ากับความเร็วของเศษขยะอวกาศ อยู่ที่ความเร็วมากกว่า 1,100 m/s ทั้งนี้ ผลทดสอบพบว่า ผ่านมาตราฐานการป้องกันกระสุนในระดับ 3 และมิว สเปซ ได้เตรียมสร้างโรงงานขนาดกลาง ภายในปลายปีนี้ เพื่อให้สามารถเริ่มผลิต Spaceship อย่างเต็มรูปแบบในปี 2021

มิว สเปซ มีจุดเริ่มต้นมาจาก นายเจมส์ วรายุทธ เย็นบำรุง กรรมการผู้จัดการ บริษัท มิว สเปซ แอนแอดวานซ์ เทคโนโลยี จำกัด โดยปัจจุบัน เป็นผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ด้านอุตสาหกรรมการบินและอากาศยาน จบการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาวิศวกรรมการบินและอากาศยาน และปริญญาโทสาขาวิศวกรรมเครื่องกล จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิส (UCLA) เคยทำงานในตำแหน่งวิศวกรระบบดาวเทียมในโครงการของ นอร์ทธรอป กรัมแมน (Northrop Grumman) บริษัทด้านอวกาศและเทคโนโลยีการป้องกัน จนได้รับการแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าทีมโครงการระบบพาหนะไร้คนขับ ในขณะที่กำลังรุ่งโรจน์ในหน้าที่ในอุตสาหกรรมการบินระดับท็อปของโลก ได้ตัดสินใจเดินทางกลับสู่ประเทศไทย โดยมีความตั้งใจที่จะนำความรู้ความสามารถกลับมาพัฒนาประเทศ อีกทั้ง ยังมุ่งมั่นที่พัฒนาธุรกิจด้านดาวเทียมและเทคโนโลยีอวกาศของไทยอีกด้วย

นายเจมส์ วรายุทธ เย็นบำรุง ยังมีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนในการก้าวสู่ธุรกิจด้านดาวเทียม โดยมีความมุ่งมั่นที่จะผลักดันให้ธุรกิจดาวเทียมและอวกาศให้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว การนำส่ง payload ในครั้งที่ 4 ของมิว สเปซ แสดงให้เห็นว่า นี่คือสัญญานที่ดีในความก้าวหน้าด้านอุตสาหกรรมอวกาศ ที่จะเป็นประโยชน์สูงสุดให้กับคนไทยทุก ๆ คนในอนาคต?

ส่งผลให้ บริษัท มิว สเปซ แอนแอดวานซ์ เทคโนโลยี จำกัด กลายเป็นองค์กรผู้ดำเนินกิจการดาวเทียมและเทคโนโลยีอวกาศรายเดียวของประเทศไทย ที่ได้รับการยอมรับและเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย โดยเติบโตอย่างรวดเร็วอย่างมีศักยภาพสูง ภายใต้พันธกิจที่จะนำพาธุรกิจและอุตสาหกรรมอวกาศของไทย ให้มีศักยภาพในสามารถในการแข่งขันได้ทัดเทียมกับนานาประเทศนั่นเอง สำหรับผู้สนใจติดตามชม Highlight การ Unveil ผ่านช่อง Youtube ของ muSpacetech สามารถรับชมได้ที่ https://youtu.be/C-5XJY-giqk

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ