ITAP เครือข่าย ม.พะเยา คณะพลังงานและสิ่งแวดล้อม เชิญสื่อมวลชนเข้าเยี่ยมชมระบบบำบัดน้ำเสียแบบไม่ใช้อากาศ และเพิ่มศักยภาพการใช้พลังงานทดแทน

พุธ ๓๐ กันยายน ๒๐๒๐ ๑๔:๔๘

คณบดีคณะพลังงานและสิ่งแวดล้อม รศ.ดร.ต่อพงศ์ กรีธาชาติ ผู้จัดการเครือข่าย ITAP-UP มหาวิทยาลัยพะเยา พร้อมด้วย ดร.นันทิยา วิริยบัณฑร ผู้อำนวยการโปรแกรมสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม (ITAP) สวทช. และ ดร.ศตวรรษ ทนารัตน์ ผู้เชี่ยวชาญโปรแกรม ITAP คณะพลังงานและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยพะเยา นำทีมสื่อมวลชนเข้าเยี่ยมชมระบบบำบัดน้ำเสียแบบไม่ใช้อากาศ สถานที่ดำเนินโครงการ Biogas บริเวณโดยรอบ ณ บริษัท รวมพรมิตร ฟาร์ม จำกัด ตำบลหนองหล่ม อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2563 จากความต้องการของผู้ประกอบการ บริษัท รวมพรมิตรฟาร์ม จำกัด ที่ต้องการแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำเสียของกิจการที่เกิดจากกระบวนการเลี้ยงไก่ ซึ่งทีมผู้เชี่ยวชาญได้ลงพื้นที่หารือ พร้อมสนับสนุนให้ผู้ประกอบการติดตั้งระบบบาบัดน้ำเสียแบบไม่ใช้อากาศ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่สามารถเปลี่ยนน้ำเสียและของเสียให้กลายเป็นก๊าซชีวภาพ และสามารถนาไปใช้ประโยชน์ในรูปแบบพลังงานทดแทนได้โดยการผลิตไฟฟ้าไว้ใช้ในกิจการ และยังลดปัญหาเรื่องกลิ่นเหม็น เพิ่มประสิทธิภาพของระบบและน้ำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ได้อย่างคุ้มค่ามากยิ่งขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพให้ระบบสามารถผลิตก๊าซชีวภาพในปริมาณที่สูงขึ้น

โดยการติดตั้งเครื่องกวนผสมแบบเชิงกลที่ไม่ทำให้เกิดการเติมอากาศภายในบ่อหมักแบบอัตโนมัติ (PLC) แบบ Airlift เพื่อทำการกวนตะกอนภายในบ่อหมัก เพื่อให้ระบบบำบัดน้ำเสียแบบไม่ใช้อากาศท้างานได้เต็มประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

โดย ดร.ศตวรรษ ทนารัตน์ ผู้เชี่ยวชาญโปรแกรม ITAP คณะพลังงานและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยพะเยา ได้เป็นผู้ให้คำปรึกษาและดูแลโครงการนี้ร่วมกับผู้ประกอบการ รศ.ดร.ต่อพงศ์ กรีธาชาติ ผู้จัดการเครือข่าย ITAP-UP มหาวิทยาลัยพะเยา กล่าวว่า การพัฒนาแบบเชื่อมโยงระหว่างภาคเอกชนที่นำเทคโนโลยีมาช่วยเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในตลาด เกิดเป็นกลไกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ กับการพัฒนางานวิจัยเชิงนวัตกรรมของผู้เชี่ยวชาญ ที่มีความเหมาะสมสอดคล้อง และตอบสนองความต้องการได้มากขึ้น และจากการดำเนินงานของ iTAP เครือข่าย ม.พะเยา 3 ปีที่ผ่านมา สามารถสนับสนุนธุรกิจในระดับ SME ในการนำเทคโนโลยีเข้ามาเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของกิจการ และแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้ทั้งในด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและพลังงานทดแทน ด้านนวัตกรรมอาหาร ด้านการพัฒนาเครื่องจักรเพื่อกระบวนการผลิตการส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรและ Smart Farm ด้วย

ทั้งนี้ ระบบบำบัดน้ำเสียแบบไม่ใช้อากาศหรือระบบก๊าซชีวภาพที่ได้ติดตั้งไปนั้น สามารถตอบโจทย์เป้าหมายของกิจการ ซึ่งปัจจุบันบริษัทสามารถแก้ไขปัญหาน้ำเสียได้อย่างมีประสิทธิภาพหมดปัญหาเรื่องกลิ่นเหม็นและจำนวนแมลงวัน อีกทั้งยังสามารถนำก๊าซชีวภาพที่ผลิตได้ไปใช้ประโยชน์ในการผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้าสำหรับใช้ภายในฟาร์มได้ถึง 70% ของการใช้ไฟฟ้าทั้งหมดภายในฟาร์ม นอกจากนี้ ยังช่วยแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมของกิจการได้อย่างมีประสิทธิภาพ สิ่งที่ติดตามมาคือ บริษัทมีภาพลักษณ์ที่ดี เป็นที่ยอมรับของคนในชุมชน และบริษัทสามารถอยู่ร่วมกับชุมชนได้

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๐๐ เขตบึงกุ่มแจงประเด็นร้องเรียน - สร้างความเข้าใจการสั่งรื้ออาคารต่อเติมปากซอยนวมินทร์ 24
๑๖:๑๓ MOTHER เปิดฉากเรียกความเชื่อมั่นนักลงทุน ดีเดย์โรดโชว์ออนไลน์ 22 ม.ค.68
๑๖:๐๑ M STUDIO ขึ้นแท่นสตูดิโอผู้ผลิตและจัดจำหน่ายหนังไทยอันดับ 1
๑๖:๐๐ จับตา จัดเก็บภาษีความเค็มขนมขบเคี้ยว เพิ่มทางเลือกสุขภาพ ลดเสี่ยงโรค NCDs
๑๕:๐๐ จุฬาฯ ร่วมกับ PMCU ชวนน้องๆนิสิต นักศึกษาทุกมหาวิทยาลัย ส่งผลงานออกแบบปรับปรุงภูมิทัศน์ อุทยาน 100 ปี จุฬาฯ ประกวดภายใต้แนวคิด Chula For
๑๕:๐๐ กลุ่มสมอทอง เข้าร่วมโครงการ Kick off การขับเคลื่อนปาล์มน้ำมัน
๑๕:๐๐ สจส. เร่งสร้างศาลาที่พักผู้โดยสารหน้าตลาดมีนบุรี
๒๑ ม.ค. ลีเอนจาง คลินิก ตอกย้ำความเป็นผู้นำในวงการความงาม คว้ารางวัล Silver Shine ประเดิมศักราชใหม่! ในงาน Nebula Nova: The New Star of
๒๑ ม.ค. กลุ่มไทยรุ่งเรือง ส่งน้ำตาลแบรนด์ ษฎา สร้างสีสันงานเทศกาลตรุษจีนเยาวราช 2568 พร้อมเปิดตัวน้ำตาลกรวดธรรมชาติ
๒๑ ม.ค. อลิอันซ์เปิด Allianz Risk Barometer 2025 เผยปัจจัยเสี่ยงของธุรกิจไทยชูอัคคีภัยและการระเบิดขึ้นแท่นความเสี่ยงอันดับหนึ่งทางธุรกิจ