“SABUY” สบาย เทคโนโลยี ชูธง หุ้นฟินเท็ค IPO ตัวแรก เตรียมเข้าเทรด ต้นพฤศจิกานี้

พฤหัส ๐๑ ตุลาคม ๒๐๒๐ ๑๕:๐๑

มั่นใจธุรกิจ E-Money, ระบบชำระเงิน และตู้ขายสินค้าอัตโนมัติ ต่อยอดธุรกิจตู้เติมเงิน

?SABUY? สบาย เทคโนโลยี ประกาศตัว พร้อมเป็น หุ้น FinTech ตัวแรกที่เข้าเทรดในตลาดหุ้นไทย เปิดตัว Eco System, E-Money ระบบชำระเงิน รองรับลูกค้าทุกกลุ่ม ต่อยอดธุรกิจตู้เติมเงิน และตู้ขายสินค้าอัตโนมัติให้เติบโตต่อเนื่อง

นายชูเกียรติ รุจนพรพจี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สบาย เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) หรือ ?SABUY? เปิดเผยว่า ? SABUY? เป็น ผู้นำด้านการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเงิน (Fin Tech) ที่มี Eco System เป็นของตนเอง โดยมุ่งเน้นธุรกิจค้าปลีก (E-Commerce) รูปแบบใหม่ และ ให้บริการรับชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านตู้เติมเงินแก่ลูกค้าทุกกลุ่ม ครอบคลุมตั้งแต่ลูกค้าระดับกลาง และ ลูกค้ารายได้น้อยทั่วประเทศ โดยธุรกิจของกลุ่มบริษัทฯ แบ่งออกเป็น 4 ธุรกิจ ได้แก่

  1. ธุรกิจตู้เติมเงินอัตโนมัติ ให้บริการธุรกรรมทางการเงินผ่านตู้เติมเงินอัตโนมัติ ภายใต้เครื่องหมายการค้า ?เติมสบายพลัส? มากกว่า 52,000 ตู้ อาทิเติม เงินโทรศัพท์เคลื่อนที่ประเภทเติมเงินล่วงหน้า (Prepaid) บริการรับชำระบิล บริการเติมเงินเข้ากระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Wallet) บริการฝากเงินเข้าบัญชีธนาคาร และบริการรับชำระบิลสาธารณูปโภค ค่าน้ำ ค่าไฟ และซื้อสินค้าอื่นๆ
  2. ธุรกิจตู้ขายสินค้าอัตโนมัติ เน้นการจำหน่ายเครื่องดื่ม, ขนม และ สินค้าต่างๆ ผ่านตู้ขายสินค้าอัตโนมัติ (Vending Machine) ภายใต้เครื่องหมายการค้า ?เวนดิ้งพลัส? และ ?6.11? กว่า 5,700 ตู้ ครอบคลุมถึง 21 จังหวัด ทั่วประเทศ เช่น น้ำดื่ม เครื่องดื่มชูกำลัง น้ำอัดลม เครื่องดื่มชาเขียว อาหารสำเร็จรูป และขนมขบเคี้ยว รวมถึงสินค้าต่างๆ อาทิ หน้ากากผ้า, อุปกรณ์ Gadget, เสื้อยืดชุดชั้นใน และ MP3, CD เพลง เป็นต้น โดยมีการติดตั้งตู้ขายสินค้าอัตโนมัติในห้างสรรพสินค้าชั้นนำ โรงงาน สถานศึกษา หอพัก สถานีขนส่ง สถานีบริการน้ำมัน สำนักงาน จุดกระจายและจุดโหลดสินค้า
  3. ธุรกิจระบบศูนย์อาหาร ให้บริการติดตั้งและวางระบบศูนย์อาหารทั้งระบบ Hardware และ Software และเป็นผู้ให้บริการจัดการศูนย์อาหารพร้อมการบำรุงรักษา มีศูนย์อาหารภายใต้การดูแลทั้งหมด 205 ศูนย์ ตามห้างสรรพสินค้า สำนักงาน โรงงาน สถานศึกษา อาทิ เทสโก โลตัส , Tops, โรบินสัน และ เทอมินอล21 เป็นต้น
  4. ธุรกิจให้บริการการชำระเงิน บริษัทฯจะให้บริการการชำระเงิน ผ่านบริษัทย่อย คือ บริษัท สบาย มันนี จำกัด ซึ่งได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจบริการการชำระเงินภายใต้การกำกับของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ทั้งสิ้น 4 ประเภทธุรกิจ ได้แก่ ใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจการให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Money License) ใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจการให้บริการรับชำระเงินด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ (Payment Agent License: PA) ใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจการให้บริการสนับสนุนบริการแก่ผู้รับบัตร (Payment Facilitator License: PF) และ ใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจการให้บริการโอนเงินด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ (Fund Transfer License)

ปัจจุบัน SABUY มีรายได้หลักกว่า 50% จาก ธุรกิจตู้เติมเงินภายใต้ แบรนด์ ?เติมสบายพลัส? และ มีรายได้ 30% จากธุรกิจขายสินค้าผ่านตู้ขายสินค้าอัตโนมัติ โดยในปี 2561 บริษัทฯ มีรายได้รวม 1,328 ล้านบาท มีกำไรขั้นต้น 417 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 86 ล้านบาท ในขณะที่ในงวด 9 เดือนแรกปี 2562 นี้ บริษัทฯ มีรายได้รวม 892 ล้านบาท มีกำไรขั้นต้น 400 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 52 ล้านบาท โดยรายได้จากธุรกิจตู้ขายสินค้าเติบโตเฉลี่ยสูง และคาดว่าจะเติบโตอย่างต่อเนื่องจากแผนการเพิ่มจำนวนตู้สินค้าอย่างต่อเนื่อง และ การเพิ่มสินค้าใหม่ที่มีราคาต่อหน่วยสูง เช่น หน้ากากอนามัย เสื้อยืด ราคาเฉลี่ยประมาณ 100 บาททำให้รายได้ต่อตู้จะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะ จากปัจจุบันที่รายได้หลักมาจากการการจำหน่ายเครื่องดื่มราคาเฉลี่ย 10-15 บาทต่อชื้น รวมถึงการขยายร้านค้าปลีกอัตโนมัติรูปแบบใหม่ภายใต้แบรนด์ ?6.11 Select? และ ?6.11 Corner? และ ร้านบริการซักผ้าอัตโนมัติ ? SABUY WASH?

ดร. สันติธร บุญเจือ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีนวัตกรรม บริษัท สบาย เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ?จุดเด่น ของ SABUY คือ บริษัทฯ มี Eco System ของตนเองซึ่งในปี 2562 มีจำนวนทรานแซกชั่นสูงถึง 27 ล้านทรานแซกชั่น ครอบคลุม

- E-Money Platform     - บัตรเครดิต

- QR Prompt Pay           - In-app Promotion

- Loyalty program และ เงินสด สามารถรองรับระบบชำระเงินสำคัญที่มีผู้ใช้จำนวนมาก เช่น SCB EASY VISA MASTER CARD Rabbit Linepay True Money Grabpay Alipay PromptPay และระบบ Loyalty Program รองรับระบบ TRUE YOU และอื่นๆ เป็นต้น โดย SABUY มีทีมงานด้านเทคโนโลยีขนาดใหญ่ที่พัฒนาเทคโนโลยีระดับสูงด้วยตนเอง ซึ่งบริหารงานโดยผู้บริหารด้านเทคโนโลยี ที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญด้านระบบธนาคารระดับนานาชาติ?

นายชูเกียรติ กล่าวเสริมว่า ?บริษัทฯมีแผนจะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ mai ในกลุ่ม Commerce โดยจะเสนอขายหุ้นสามัญจำนวน 157.02 ล้านหุ้น หรือ 15% ของทุนจดทะเบียน 1,050 ล้านบาท (พาร์ 1 บาท) แก่นักลงทุนรายย่อยและนักลงทุนสถาบัน โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนในการขยายกิจการต่างๆ อาทิ โครงการให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Money Service) โครงการติดตั้งเครื่องรับชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ โครงการให้บริการระบบเงินอิเล็กทรอนิกส์แก่ศูนย์อาหารและร้านค้า โครงการขยายศูนย์กระจายสินค้า ตลอดจนโครงการเพิ่มตู้ขายสินค้าอัตโนมัติซึ่งมีอัตราการเติบโตสูง เพื่อสร้างการเติบโตให้บริษัทฯอย่างต่อเนื่อง โดยบริษัทฯมีนโยบายจ่ายเงินปันผลในอัตราไม่น้อยกว่า 40% ของกำไรสุทธิหลังหักภาษีเงินได้นิติบุคคลและเงินสำรองต่างๆตามกฎหมาย?

นายรัฐชัย ธีระธนาวัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารร่วม ฝ่ายวาณิชธนกิจ บริษัท หลักทรัพย์ เคทีบี (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ผู้จัดการการจัดจำหน่ายหุ้นสามัญของ SABUY กล่าวว่า ? หุ้นไอพีโอ ?SABUY? ได้รับความสนใจอย่างสูงจากการโรดโชว์กับ สถาบันการเงินต่างๆ เนื่องจากเป็นหุ้น Fin Tech ตัวแรกของตลาดหุ้นไทย โดย SABUY มี Business Model ที่ดีและพิสูจน์แล้วว่าสร้างผลกำไรได้อย่างมั่นคง นอกจากนี้ SABUY มี Eco System ของตนเองที่มีผู้ใช้มากถึง 27 ล้าน ทรานแซกชั่นต่อปี และ มีแผนการขยายธุรกิจที่จะสร้างการเติบโตอย่างสูง โดยที่สำคัญ ทีมผู้บริหารระดับสูงของ SABUY เป็นทีมผู้บริหารที่มีประสบการณ์ระดับสูงจากธนาคารระดับโลก และ ธนาคารชั้นนำของไทย ที่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีอย่างสูง และ ความเข้าใจในอุตสาหกรรมด้าน E-Banking และ E-Commerce เป็นอย่างดี นอกจากนี้ SABUY ยังมีสถานะการเงินที่แข็งแกร่ง มีทุนจดทะเบียนสูงถึง 1,050 ล้านบาท มีอัตรากำไรขั้นต้นและ อัตรากำไรสุทธิสูง และ มีอัตราหนี้สินต่อทุนต่ำ จึงมีโอกาสในการขยายกิจการด้าน E-Commerce ได้อีกมาก?

บริษัท สบาย เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) หรือ ?SABUY? มีทุนจดทะเบียน 1,050.00 ล้านบาท และทุนจดทะเบียนชำระแล้ว 887.98 ล้านบาท แบ่งออกเป็นหุ้นสามัญ 887.98 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1.00 บาท โดยมีกลุ่มรุจนพรพจี และ กลุ่มวีระประวัติ เป็นกลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่ ปัจจุบัน บริษัทฯ มีบริษัทย่อยทั้งหมด 3 บริษัทคือ บริษัทเวนดิ้ง พลัส จำกัด (?VDP?) เป็นผู้ตู้จำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ เช่น เครื่องดื่ม ขนม และสินค้าต่างๆ ผ่านตู้ขายสินค้าอัตโนมัติ ภายใต้เครื่องหมายการค้า ?เวนดิ้งพลัส? บริษัท สบาย มันนี่ จำกัด (?SBM?) เป็นผู้ให้บริการการชำระเงิน (Payment Service Provider / Facilitator) ภายใต้เครื่องหมายการค้า ?สบาย มันนี่? และบริษัท สบาย โซลูชั่นส์ จำกัด (?SBS?) เป็นผู้ให้บริการติดตั้งระบบศูนย์อาหาร บริการระบบศูนย์อาหาร และบริการซ่อมแซมบำรุงรักษาระบบศูนย์อาหาร

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๕๐ รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๑๖:๑๔ ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๑๖:๑๓ Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๑๖:๑๐ ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๑๖:๕๒ โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๑๕:๒๖ กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๑๕:๐๑ สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๑๕:๒๙ 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๑๕:๐๘ โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๑๕:๕๒ electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version