“มนูญ ศิริวรรณ” นำเครือข่ายสื่อฯ ดูกระบวนการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงขยะอุตสาหกรรม ชูต้นแบบโรงไฟฟ้าทันสมัยอยู่ร่วมกับชุมชนได้อย่างเกื้อกูล

พุธ ๐๗ ตุลาคม ๒๐๒๐ ๑๕:๑๔

เครือข่ายสื่อมวลชนไทยใส่ใจทางเลือกใหม่พลังงานไฟฟ้า ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนพัฒนาไฟฟ้าเพื่อกิจการตามมาตรา 97(5) ประจำปีงบประมาณ 2562 เข้าชมกระบวนการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงขยะอุตสาหกรรม ชูต้นแบบโรงไฟฟ้าทันสมัยอยู่ร่วมกับชุมชนได้อย่างเกื้อกูล ด้านเครือข่ายสื่อฯ พร้อมจับมือนำความรู้ไปถ่ายทอดต่อให้กับชุมชน ประชาชน ให้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องพลังงานที่ถูกต้อง

นายมนูญ ศิริวรรณ ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงาน และประธานเครือข่ายสื่อมวลชนไทยใส่ใจทางเลือกใหม่พลังงานไฟฟ้า ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนพัฒนาไฟฟ้าเพื่อกิจการตามมาตรา 97(5) ประจำปีงบประมาณ 2562 กล่าวว่า ขยะทั่วไป รวมถึงขยะอุตสาหกรรม นับเป็นปัญหาที่ทุกประเทศต่างให้ความสำคัญ และมีการกำหนดนโยบายหรือมาตรการต่าง ๆ เพื่อให้สามารถควบคุมหรือบริหารจัดการขยะให้มีประสิทธิภาพ การนำขยะมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้านั้น นับว่ามีประโยชน์ในหลายมิติ ทำให้ปริมาณขยะในแต่ละพื้นที่มีปริมาณลดลง ส่งผลดีต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ ลดการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศ สร้างความมั่นคงด้านพลังงานและยังช่วยลดภาวะโลกร้อน ถือว่าเป็นการใช้ทรัพยากรบนโลกได้อย่างคุ้มค่า

โดยเครือข่ายสื่อมวลชนไทยใส่ใจทางเลือกใหม่พลังงานไฟฟ้าได้นำคณะสื่อมวลชนในเครือข่ายซึ่งประกอบด้วยผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ คอลัมน์นิสต์ นักจัดรายการวิทยุ นักจัดรายการโทรทัศน์ และสื่อออนไลน์จากสำนักข่าวต่าง ๆ ลงพื้นที่เรียนรู้ และเยี่ยมชมกิจการโรงไฟฟ้าพลังงานเชื้อเพลิงจากขยะอุตสาหกรรม ของบริษัท รีคัฟเวอรี่ เฮ้าส์ จำกัด ณ นิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นการจัดกิจกรรมนำสื่อมวลชนลงพื้นที่เรียนรู้ เยี่ยมชมกิจการโรงไฟฟ้าพลังงานทางเลือก เป็นครั้งที่ 3

?การนำสื่อมวลชนในเครือข่ายฯลงพื้นที่ดูงานโรงไฟฟ้าพลังงานเชื้อเพลิงขยะจากอุตสาหกรรมในครั้งนี้นับเป็นการจัดกิจกรรมครั้งที่ 3 โดยครั้งที่ 1 ได้นำคณะสื่อมวลชนไปศึกษาดูงานโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงขยะ ของบริษัท ทีพีไอ โพลีน เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) จังหวัดสระบุรี ซึ่งถือเป็นโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงขยะที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และครั้งที่ 2 ได้ไปลงพื้นที่ดูกระบวนการผลิตกระแสไฟฟ้า โรงผลิตไฟฟ้าพลังงานสะอาดจากแสงอาทิตย์ กลุ่มโรงไฟฟ้าไทรหลวง ของบริษัท บี.กริม ยันฮี โซลาร์ เพาเวอร์ จำกัด ซึ่งการนำคณะสื่อมวลชนในเครือข่ายฯ เยี่ยมชมกระบวนการทำงานของโรงไฟฟ้าทั้ง 3 ครั้ง ก็เพื่อให้สื่อมวลชนมีความเข้าใจในเรื่องการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานเชื้อเพลิงขยะ ขยะอุตสาหกรรม และแสงอาทิตย์มากขึ้น และจะได้นำความรู้ไปถ่ายทอดต่อให้กับชุมชนหรือประชาชนในท้องถิ่นที่สื่อมวลชนนั้นทำหน้าที่อยู่ ซึ่งการที่สื่อมวลชนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของพลังงานหมุนเวียน ก็จะทำให้สื่อสารกับประชาชนได้ดียิ่งขึ้นว่าการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์หรือพลังงานเชื้อเพลิงขยะปัจจุบันเทคโนโลยีมีความก้าวหน้าไปอย่างมาก ไม่สร้างมลภาวะให้กับชุมชน ในทางตรงกันข้ามกลับจะทำให้ชุมชนมีโอกาสได้ใช้พลังงานที่ถูกลงและไม่ก่อมลภาวะ?นายมนูญ กล่าว

สำหรับโรงไฟฟ้าจากขยะอุตสาหกรรมของ บริษัท รีคัฟเวอรี่ เฮ้าส์ จำกัด ภายในนิคมอุตสาหกรรม สหรัตนนคร อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา นั้นใช้เชื้อเพลิงที่เป็นขยะอุตสาหกรรมไม่อันตราย ซึ่งประกอบด้วยวัสดุ 6 อย่างด้วยกัน คือ 1.กระดาษ 2.ไม้ 3.ผ้า 4.ยาง 5.หนัง และ 6.พลาสติก ผ่านกระบวนการผลิตเป็นกระแสไฟฟ้าด้วยเทคโนโลยีจากประเทศเยอรมนี พร้อมติดตั้งระบบ CEMs ตรวจวัดมลพิษ 24 ชั่วโมงไว้ที่ปากปล่อง มอนิเตอร์โดยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) และแสดงผลไว้ที่หน้าโรงไฟฟ้า ซึ่งชาวบ้าน หรือคนในชุมชนสามารถมาตรวจสอบได้ตลอดเวลา เพื่อให้มั่นใจได้ว่าจะไม่เป็นอันตรายต่อคนในชุมชน และสิ่งแวดล้อม นับเป็นโรงไฟฟ้าต้นแบบที่อยู่ร่วมกันกับชุมชนอย่างเกื้อกูล

นางดรุณวรรณ ชาญพิพัฒนชัย กรรมการผู้จัดการ บริษัท ดิ เอ็กซ์ โซลูชั่นส์ จำกัด ในฐานะผู้บริหารโครงการสร้างเครือข่ายสื่อมวลชนไทยใส่ใจทางเลือกใหม่พลังงานไฟฟ้า กล่าวว่า สำหรับกิจกรรมลงพื้นที่เรียนรู้และเยี่ยมชมโรงไฟฟ้าทั้ง 3 ครั้ง ถือว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก โดยได้รับการตอบรับเข้าร่วมกิจกรรมจากสื่อมวลชนทุกแขนง ซึ่งเชื่อว่าหากสื่อมวลชนมีองค์ความรู้ด้านพลังงานที่ถูกต้องแล้ว จะขยายผลให้ประชาชนและสังคมให้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องพลังงานที่ถูกต้องเช่นกัน

?การสื่อสารข้อมูลด้านพลังงานอย่างถูกต้องมีความจำเป็นและสำคัญในการสร้างความเข้าใจและความน่าเชื่อถือต่อภาคประชาชน โดยเฉพาะสื่อมวลชนซึ่งถือเป็นด่านแรกในการรับข้อมูล ข่าวสาร หากมีการสื่อสารข้อมูลออกไปให้ประชาชนได้อย่างถูกต้อง และมีประสิทธิภาพแล้ว ประชาชนก็จะได้รับประโยชน์สูงสุด ทำให้ภาคประชาชนหรือสาธารณชนได้เข้าใจถึงความจำเป็นของการมีพลังงานทางเลือกอื่น ๆ เพื่อเอามาผลิตเป็นกระแสไฟฟ้า ทำให้เกิดการมีส่วนร่วม และได้รับการสนับสนุนจากคนในชุมชน สังคม และประชาชนโดยทั่วไป?นางดรุณวรรณ กล่าว

ทั้งนี้หลังจากนี้ไปเครือข่ายสื่อมวลชนไทยใส่ใจทางเลือกใหม่พลังงานไฟฟ้า จะมีการวางแผนในการทำกิจกรรมร่วมกัน รวมถึงมีการเผยแพร่ความรู้นวัตกรรมกิจกรรมและความเคลื่อนไหวที่เกี่ยวกับพลังงานทางเลือก ผ่านสื่อมวลชนแขนงต่าง ๆ ไปยังสาธารณชนอย่างต่อเนื่อง

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ