เต็ดตรา แพ้ค จัดงาน "สัปดาห์วันนมโรงเรียนสากล" ร่วมส่งเสริมภาวะโภชนาการในเด็กและการรีไซเคิลกล่องเครื่องดื่ม

พฤหัส ๒๒ ตุลาคม ๒๐๒๐ ๑๑:๒๙

เต็ดตรา แพ้ค (Tetra Pak) ผู้นำเสนอโซลูชั่นบรรจุภัณฑ์และกระบวนการผลิตอาหารชั้นนำของโลก จัดกิจกรรม "สัปดาห์วันนมโรงเรียนสากล (World School Milk Day)" ซึ่งตรงกับวันพุธสุดท้ายในเดือนกันยายนของทุกปี โดย เต็ดตรา แพ้ค ร่วมมือกับฝ่ายบริหารโรงเรียนวัดลานบุญ เขตลาดกระบัง จัดกิจกรรมด้านการศึกษาเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับประโยชน์และคุณค่าทางโภชนาการของนมยูเอชที ตลอดจนความสำคัญของการรีไซเคิลกล่องเครื่องดื่ม โดยสอนการพับกล่องนมใช้แล้วอย่างถูกวิธีก่อนทิ้งลงถังเพื่อนำไปรีไซเคิล กิจกรรมนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งในความมุ่งมั่นในระยะยาวของเต็ดตรา แพ้ค ที่มีต่อโครงการนมโรงเรียนและการส่งเสริมภาวะโภชนาการทั่วโลก โดยมีเป้าหมายสูงสุดเพื่อการปกป้องอาหาร สิ่งแวดล้อม และเยาวชนในรุ่นต่อไป

โครงการนมโรงเรียนถือเป็นกิจกรรมระดับโลก โดยในปี พ.ศ. 2562 ที่ผ่านมา มีเด็กมากถึง 68 ล้านคนใน 56 ประเทศ ได้รับนมหรือผลิตภัณฑ์โภชนาการในบรรจุภัณฑ์ของเต็ดตรา แพ้ค ที่โรงเรียน โครงการนมโรงเรียนช่วยส่งเสริมพลานามัยและกระตุ้นพัฒนาการของเด็กๆ ผ่านการเข้าถึงอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ หรือ UN SDG2 ในการขจัดความหิวโหยและสร้างความมั่นคงทางอาหาร (Zero Hunger) โดยเฉพาะข้อ 2.1 และ 2.2 ที่มุ่งขจัดภาวะความอดอยากให้เป็นศูนย์ เพิ่มระดับการเข้าถึงอาหารที่ปลอดภัยและมีประโยชน์ทางโภชนาการ รวมถึงการขจัดภาวะขาดสารอาหารให้หมดไป นอกจากการมุ่งเน้นที่ภาวะโภชนาการในเยาวชนแล้ว โครงการนมโรงเรียนยังช่วยส่งเสริมการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมนมในท้องถิ่น และเพิ่มความตระหนักรู้ในเรื่องการรักษาสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการรีไซเคิลอีกด้วย

สำหรับการดำเนินงานในประเทศไทย เต็ดตรา แพ้ค ได้มีส่วนริเริ่มโครงการรีไซเคิลกล่องนมโรงเรียนเพื่อส่งเสริมการให้ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมในระยะยาว โดยเกิดจากความร่วมมือระหว่างเต็ดตรา แพ้ค องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย กรุงเทพมหานคร บริษัท เอส ไอ จี คอมบิบล็อค จำกัด และ บริษัท ไฟเบอร์พัฒน์ จำกัด ซึ่งเป็นผู้ดำเนินกิจการรีไซเคิล โครงการนี้รณรงค์ให้มีการเก็บรวบรวมกล่องเครื่องดื่มใช้แล้ว นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับประโยชน์ของการรีไซเคิล และการบริหารจัดการกล่องเครื่องดื่มก่อนนำไปรีไซเคิล โดยวางเป้าหมายการเก็บรวบรวมกล่องนมยูเอชทีใช้แล้วจากโครงการนมโรงเรียนของสถาบันการศึกษากว่า 437 แห่ง ภายใต้การกำกับดูแลของกรุงเทพมหานคร เพื่อนำกล่องนมเหล่านั้นไปผ่านกระบวนการรีไซเคิลมาผลิตเป็นแผ่นหลังคาและวัสดุที่ใช้ประโยชน์ได้ในอนาคต ปัจจุบัน มีโรงเรียนมากกว่า 350 แห่งที่เข้าร่วมโครงการนี้ โดยในปีที่ผ่านมาสามารถเก็บรวบรวมกล่องนมได้ถึง 77 ตัน และในครึ่งแรกของปี 2563 นี้ สามารถเก็บรวบรวมได้แล้วถึง 35 ตัน

นายวันชัย สุวรรณเนตร ผู้อำนวยการฝ่ายดูแลลูกค้าหลัก บริษัท เต็ดตรา แพ้ค (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวย้ำว่า โครงการนี้คือหนึ่งในโครงการด้านสิ่งแวดล้อมที่มีความสำคัญมากที่สุดของบริษัท เพราะช่วยส่งเสริมการจัดการกล่องเครื่องดื่มใช้แล้วที่ถูกวิธีอย่างยั่งยืน ลดปริมาณขยะ และอนุรักษ์สภาพแวดล้อม ?เต็ดตรา แพ้ค มุ่งมั่นปกป้องอาหาร สิ่งแวดล้อม และเยาวชนทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย ในฐานะผู้บุกเบิกเทคโนโลยีระบบปลอดเชื้อ เรารู้สึกภาคภูมิใจที่ได้ปฏิบัติหน้าที่ของเรา ผ่านการใช้เทคโนโลยีการผลิตและบรรจุภัณฑ์อาหารเพื่อส่งมอบผลิตภัณฑ์นมที่ปลอดภัยและเปี่ยมด้วยโภชนาการแก่เยาวชนไทยตลอดหลายปีที่ผ่านมา แม้ในช่วงการปิดพื้นที่จากการแพร่ระบาดและโรงเรียนต่าง ๆ ต้องหยุดทำการ โครงการนมโรงเรียนก็ยังสามารถดำเนินต่อไปได้ โดยพ่อแม่ผู้ปกครองได้เดินทางมารับนมยูเอชทีจากโรงเรียนเพื่อนำกลับไปให้บุตรหลานที่บ้าน?

"ในปีการศึกษา 2563 กรุงเทพมหานคร มีเด็กนักเรียนระดับชั้นอนุบาล 1- ประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 190,725 คน ที่ได้รับนมยูเอชทีที่โรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร เป็นเวลา 260 วันต่อปีการศึกษา ตามโครงการนมโรงเรียนของรัฐบาล เพราะนมที่มีคุณภาพเป็นประโยชน์ต่อการเจริญเติบโต และช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน เราจึงส่งเสริมให้เด็ก ๆ ได้บริโภคนมผ่านโครงการนมโรงเรียน นอกจากนี้ นมยังบรรจุในบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมซึ่งสามารถนำไปรีไซเคิลได้ ซึ่งเราหวังจะมุ่งสร้างความตระหนักรู้ถึงการรีไซเคิลกล่องเครื่องดื่มและรณรงค์ให้เด็กๆ เก็บรวบรวมกล่องเครื่องดื่มใช้แล้วที่โรงเรียนอย่างถูกต้อง" นายเกรียงไกร จงเจริญ ผู้อำนวยการสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร กล่าว

นายสุชาติ จริยาเลิศศักดิ์ รักษาการผู้อำนวยการ องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อสค.) กล่าวถึงคุณภาพและการผลิตนมโรงเรียนว่า "อสค. ส่งมอบน้ำนมโคสดแท้ 100% คุณภาพสูง บนมาตรฐานการผลิตนมที่ดีที่สุดให้แก่โครงการนมโรงเรียน ฟาร์มโคนมของเรามีมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practices: GAP) และมุ่งส่งเสริมสุขภาพของโคนมเพื่อให้ได้น้ำนมคุณภาพดี โรงงานของเรายังดำเนินงานสอดคล้องตามมาตรฐานหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร (Good Manufacturing Practice: GMP) ซึ่งกำหนดโดยกระทรวงสาธารณสุขและคณะกรรมการอาหารนมเพื่อเด็กและเยาวชนซึ่งกำกับดูแลโครงการอาหารเสริม(นม)โรงเรียนปัจจุบันอีกด้วย"

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ