ก.แรงงาน ร่วม หัวเว่ย พัฒนาทักษะเทคโนโลยีดิจิทัล

พฤหัส ๒๒ ตุลาคม ๒๐๒๐ ๑๔:๐๓

ศาสตราจารย์นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานพิธีลงนามความร่วมมือว่าด้วยการพัฒนาฝีมือแรงงานด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ระหว่าง นายธวัช เบญจาทิกุล อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน และ นายไบรอัน หลิว รองกรรมการผู้จัดการบริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด และมี นายชาคริตย์ เดชา รองอธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน และนายอาเบล เติ้ง ประธานกรรมการเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด ลงนามเป็นสักขีพยาน พร้อมทั้งมอบวุฒิบัตรแก่ผู้ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรการติดตั้งระบบส่งสัญญาณโทรคมนาคมในระบบ 4G และ 5G วันที่ 22 ตุลาคม 2563 ณ สำนักงานบริษัทหัวเว่ยเทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด อาคารจี ทาวเวอร์ ชั้น 39 กรุงเทพมหานคร

ศาสตราจารย์นฤมล เปิดเผยหลังจากเป็นประธานในการลงนามว่า ความร่วมมือของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กับ บริษัทหัวเว่ยเทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด ในครั้งนี้เกิดขึ้นจากนโยบายรัฐบาลที่ตระหนักถึงความจำเป็นในการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาเป็นองค์ประกอบสำคัญในการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศสู่การเป็นประเทศไทย 4.0 โดยเฉพาะอุตสาหกรรมแห่งอนาคต (New S-Curve) เพื่อสร้างระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศด้วยนวัตกรรม และพัฒนากำลังคนให้มีความพร้อมรองรับการเข้าสู่ยุคดิจิทัล เกิดการจ้างงานในธุรกิจใหม่ เน้นความรู้ทักษะดิจิทัลทั้งปริมาณและคุณภาพ โดยบูรณาการร่วมกับเครือข่ายในการพัฒนาฝีมือแรงงาน สอดคล้องตามนโยบายของกระทรวงแรงงานและกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน

นายธวัช เบญจาทิกุล อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กล่าวว่า กพร.ได้ร่วมกับ บริษัทหัวเว่ยเทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด จัดฝึกอบรมหลักสูตร การติดตั้งระบบส่งสัญญาณโทรคมนาคมในระบบ 4G และ 5G (4G and 5G Wireless System?s Hardware Installation) ให้แก่บุคลากรฝึกของ กพร. เป้าหมาย 120 คนเพื่อนำไปขยายผลฝึกอบรมให้แก่ผู้ที่สนใจทั่วไปอีก 300 คน ภายในระยะเวลา 3 ปี โดยครอบคลุมหัวข้อหลัก ๆ อาทิ เครือข่าย 4G และ 5G รวมไปถึงการลงพื้นที่จริง นอกจากนี้ ยังมีหลักสูตรออนไลน์ให้แก่บุคคลทั่วไป เป้าหมาย 3,000 คน ในปี 2564 ได้มอบหมายให้หน่วยงานในสังกัด กพร. ได้แก่ สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน (สพร.) และสำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงาน (สนพ.) ดำเนินการฝึกอบรมทั้งนี้ นำร่องการฝึกอบรมโดย สพร.13 กรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 19 ? 21 ตุลาคม 2563 จำนวน 20 คนในหลักสูตรการติดตั้งระบบส่งสัญญาณโทรคมนาคมในระบบ 4G และ 5G ระยะเวลาการฝึก 18 ชั่วโมง ให้แก่บุคคลทั่วไป นักศึกษาจบใหม่ แรงงานในระบบ และผู้ว่างงาน ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ? 35 ปี มีทักษะด้านการใช้งานคอมพิวเตอร์และการใช้งานอุปกรณ์ช่างพื้นฐาน มีอุปกรณ์สมาร์ทโฟน มีสภาพร่างกายและจิตใจที่ไม่เป็นอุปสรรคต่อการฝึก สามารถเข้ารับการฝึกได้ตลอดหลักสูตร ผู้เข้าอบรมจะได้เรียนรู้ภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ เกี่ยวกับการใช้เครื่องมือและการติดตั้งฮาร์ดแวร์สำหรับอุปกรณ์สถานีฐานไร้สายในระบบ 4G และ 5G ตามข้อกำหนดการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงานนอกสถานที่ การตรวจสอบหลังการติดตั้งตามข้อกำหนดความปลอดภัยทางไซเบอร์

?ปัจจุบันเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สาย ได้รับความนิยม และมีความสำคัญต่อการใข้ชีวิตประจำวันในหลายด้าน อาทิ การจัดการคลังสินค้าอัตโนมัติ การใช้โดรนหรืออุปกรณ์เซ็นเซอร์เพื่อช่วยในการบริหารจัดการเกษตร รถยนต์ที่มีระบบอัตโนมัติช่วยในการขับขี่ รวมไปถึงอุปกรณ์สวมใส่ติดตามตัวเพื่อช่วยในการดูแลสุขภาพ ดังนั้น การพัฒนาทักษะแรงงานด้านดิจิทัลจึงจำเป็นอย่างยิ่งต่อแรงงานในยุคปัจจุบันและอนาคตรวมถึงการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้กับประเทศอีกทางหนึ่งด้วย สำหรับผู้ที่สนใจสอบถามรายละเอียดได้ที่ สพร.หรือ สนพ.ทุกแห่งทั่วประเทศ หรือโทรสายด่วนกระทรวงแรงงาน 1506 กด 4 อธิบดี? กพร.กล่าวทิ้งท้าย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ