ผลงานอุปกรณ์รองรับสิ่งขับถ่ายจากทวารเทียม คณะแพทยศาสตร์ ม.อ. คว้ารางวัลสุดยอดนวัตกรรมประจำปี 2563 ประเภทสังคมและสิ่งแวดล้อม

จันทร์ ๒๖ ตุลาคม ๒๐๒๐ ๑๑:๐๔

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) สุดเจ๋ง ผลงานอุปกรณ์รองรับสิ่งขับถ่ายจากทวารเทียม คว้ารางวัลสุดยอดนวัตกรรมของประเทศไทยประจำปี 2563 ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม หลังนำยางพารามาใช้ประโยชน์ทางด้านการแพทย์ เพิ่มมูลค่ายางพาราและลดการนำเข้าอุปกรณ์ทางการแพทย์ พร้อมจับมือ สปสช. เพิ่มการผลิตสินค้าเพื่อวางจำหน่ายและแจกจ่ายให้กับโรงพยาบาลทั่วประเทศ

ผศ.นพ.วรวิทย์ วาณิชย์สุวรรณ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) เปิดเผยว่า ผลงานอุปกรณ์รองรับสิ่งขับถ่ายจากทวารเทียมของคณะแพทยศาสตร์ ม.อ. ได้รับรางวัลชนะเลิศสุดยอดนวัตกรรมของประเทศไทย ประจำปี 2563 ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม ประเภทหน่วยงานรัฐ จากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ และรางวัลที่น่าลงทุนที่สุด จากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยผลงานดังกล่าวเป็นชุดอุปกรณ์รองรับสิ่งขับถ่ายจากทวารเทียมที่ทำมาจากยางพารา หรือ Thai Colostomy Bag สำหรับผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ ซึ่งเป็นการนำยางพารามาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ ที่ช่วยเพิ่มมูลค่าราคายางอันเป็นพืชเศรษฐกิจของประเทศ อีกทั้งยังช่วยลดการนำเข้าสินค้าทางการแพทย์ได้อีกทางหนี่ง

สำหรับอุปกรณ์รองรับสิ่งขับถ่ายจากทวารเทียม ประกอบด้วย แป้นติดผิวหนังและถุงรองรับสิ่งขับถ่าย เป็นนวัตกรรมที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อนำมาใช้กับผู้ป่วยที่มี 'ทวารเทียม? จะต้องขับถ่ายอุจจาระทางรูเปิดของลำไส้ที่ผนังช่องท้องซึ่งไม่มีหูรูดเหมือนทวารหนัก ดังนั้นจะมีของเสียไหลทั้งอุจจาระและผายลมออกมาได้ตลอดเวลา จึงจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์รองรับสิ่งขับถ่ายจากทวารเทียม และบางรายจำเป็นต้องใช้ไปตลอดชีวิต

ขณะเดียวกัน ผู้ป่วยแต่ละรายมีทวารเทียมที่แตกต่างกัน คณะแพทยศาสตร์ ม.อ. ได้ผลิตอุปกรณ์รองรับสิ่งขับถ่ายจากทวารเทียมด้วยกัน 3 ขนาด ได้แก่ 45 มิลลิเมตร 60 มิลลิเมตรและ 70 มิลลิเมตร เพื่อวางจำหน่ายตามร้านขายยาทั่วไป โรงพยาบาลในภาครัฐทั่วประเทศ รวมถึงจัดจำหน่ายผ่านช่องทางออนไลน์ เพื่อความสะดวกและลดการเดินทางของผู้ป่วย โดยมีราคาถูกกว่าครึ่งหนึ่งของสินค้าที่นำเข้าจากต่างประเทศ

"ด้วยจำนวนผู้ป่วยที่มีทวารเทียมในปัจจุบันที่มีกว่า 54,000 ราย และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ทำให้มีความต้องการใช้อุปกรณ์รองรับสิ่งขับถ่ายจากทวารเทียมที่สูงขึ้น แต่อุปกรณ์ดังกล่าวมีความขาดแคลนและมีราคาแพง เนื่องจากต้องนำเข้ามาจากต่างประเทศ ทำให้ผู้ป่วยบางรายไม่สามารถเข้าถึงอุปกรณ์ได้และมีความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อน เราจึงพัฒนาอุปกรณ์รองรับสิ่งขับถ่ายจากทวารเทียม โดยใช้ยางพาราที่ผลิตได้เองภายในประเทศ มาผลิตเป็นสินค้าเพื่อลดต้นทุนและรับออกแบบให้เหมาะกับผิวและผนังหน้าท้องของคนไทย เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย" ผศ.นพ.วรวิทย์ กล่าว

ในอนาคต คณะแพทยศาสตร์ ม.อ. จะร่วมมือกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เพื่อขยายกำลังการผลิตให้เพียงพอต่ออัตราการใช้ โดยใช้เกณฑ์ความต้องการใช้ชุดถุงทวารเทียมของผู้ป่วยจริงของประเทศไทยต่อปีอยู่ที่ 3,240,000 ชุดต่อปี โดยจะแจกจ่ายให้กับโรงพยาบาลทุกแห่งภายในประเทศ รวมถึงจะขยายการผลิตให้มีกระบวนการผลิตตามวิถีฮาลาลเพื่อสร้างความมั่นใจในการรับบริการให้แก่ผู้ป่วยชาวมุสลิมอีกด้วย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๔:๕๕ FTI รับ 2 รางวัล จากกระทรวงแรงงานและกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ประจำปี 2567
๑๔:๕๕ OKMD ร่วมกับ CMDF จัดประกวดประยุกต์ใช้ความรู้ด้านการเงินการลงทุน หนุนไอเดียเด็กมัธยม ต่อยอดทำธุรกิจเพื่อสังคม
๑๔:๓๐ แอลจีเผยเทรนด์ทำงานปี 2025 พร้อมเทคนิคใช้โน๊ตบุ๊กแบบสมาร์ทเวิร์กเกอร์
๑๔:๓๓ ทีเอ็มบีธนชาต สำรองธนบัตร 13,000 ล้านบาท ในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2568
๑๔:๒๒ เจียไต๋แมน เมื่อรุ่นเดอะผนึกกำลังกับรุ่นใหม่ เติบโตไปด้วยกันอย่างมั่นคง
๑๔:๒๙ สุขภาพดีแบบไม่ต้องเดี๋ยว! รพ.วิมุต ชวนตรวจสุขภาพ - ปรับพฤติกรรมสไตล์คนไม่มีเวลาสร้างสุขภาพที่ดีในระยะยาวรับปีใหม่
๑๔:๕๐ HBA ส่องภาพรวมตลาดรับสร้างบ้านปี 68 เผชิญความท้าทายใหม่ เร่งงัดกลยุทธ์ฝ่าแข่งขันสูง รุกเจาะตลาดใหม่ 'รอจังหวะฟื้น'
๑๔:๕๒ ดิเอมเมอรัลด์ช่วยสนับสนุนงานกาชาด
๑๔:๓๑ เอพี ไทยแลนด์ รับ 3 รางวัลจาก Meta ตอกย้ำจุดยืน แบรนด์อสังหาฯ ที่ขับเคลื่อนด้วยความคิดสร้างสรรค์และดาต้า
๑๔:๓๕ มาคาเลียส แหล่งรวม อี-วอเชอร์ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว อันดับ 1 ของประเทศไทย เผย 10 เทรนด์ท่องเที่ยวไทยปี