มนัญญา เปิดงานครบรอบ 33 ปี วันสถาปนาสหกรณ์อิสลามปัตตานี จำกัด มุ่งส่งเสริมการออม สร้างธุรกิจเครือข่าย พัฒนาคุณภาพชีวิตของมวลสมาชิก

พฤหัส ๒๙ ตุลาคม ๒๐๒๐ ๑๕:๔๘

นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่จังหวัดปัตตานี เยี่ยมชม การดำเนินงานของสหกรณ์อิสลามปัตตานี จำกัด พร้อมทั้งเป็นประธานเปิดงาน ครบรอบ 33 ปี วันสถาปนาสหกรณ์อิสลาม "33 TAHUN KOPERASI" ณ สำนักงานสหกรณ์อิสลามปัตตานี จำกัด ตำบลตะลุโบะ อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี โดยมี นายวิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ นายปรีชา ชนะกิจกำจร รองผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี นางรอซนานี สันหมุด สหกรณ์จังหวัดปัตตานี นายอาแว เจ๊ะมะ ประธานกรรมการสหกรณ์ฯ หัวหน้าส่วนราชการ เจ้าหน้าที่ สมาชิกสหกรณ์ และเกษตรกร ให้การต้อนรับ

โอกาสนี้ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มอบโล่ห์ที่ระลึกงานครบรอบ 33 ปี วันสถาปนาสหกรณ์อิสลามปัตตานี จำกัด ให้กับผู้แทนหน่วยงานราชการ และหน่วยงานเครือข่ายที่ให้การสนับสนุนการดำเนินงานของสหกรณ์ฯ จำนวน 13 ราย และรับฟังปาฐกถาพิเศษ เรื่อง "กว่าจะมาเป็นสหกรณ์ที่ปลอดดอกเบี้ย" โดยนายเด่น โต๊ะมีนา อดีตรัฐมนตรี ช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย และเป็นผู้ก่อตั้งสหกรณ์อิสลามปัตตานี จำกัด จากนั้น รมช.มนัญญาได้ร่วมพิธีเปิดมัสยิด ในบริเวณสำนักงานสหกรณ์อิสลามปัตตานี จำกัด ที่สร้างจากเงินบริจาคของสมาชิกสหกรณ์และบุคคลทั่วไป และงบประมาณบางส่วนของสหกรณ์ฯ เพื่อให้สมาชิกที่มาติดต่อใช้บริการกับสหกรณ์ฯ และบุคคลอื่น ๆ ได้ปฏิบัติศาสนกิจการทำละหมาด ทั้ง 5 เวลาด้วย

"ในโอกาสครบรอบ 33 ปี วันสถาปนาสหกรณ์อิสลามปัตตานี จำกัด ขอแสดงความยินดีและเป็นกำลังใจให้คณะกรรมการ และสมาชิกสหกรณ์ ในการดำเนินงานด้านต่าง ๆ สหกรณ์อิสลามปัตตานี จำกัด เป็นสหกรณ์ที่ดำเนินงานด้วยความสามัคคี ความเอื้ออาทรต่อกัน ความตั้งใจจริงของคณะกรรมการและสมาชิกสหกรณ์ฯ สามารถทำให้เกิดความสันติสุข ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ช่วยรักษาระดับราคาสินค้าและบริการ ช่วยเหลือสมาชิกและสังคม และรักษาคงไว้ซึ่งเงินซะกาตสำหรับผู้ด้อยโอกาสในสังคม อีกทั้งพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมซึ่งอยู่บนพื้นฐานของความยุติธรรม เป็นสหกรณ์แบบอย่างที่เน้นหลักชารีอะฮ์ สู่ธุรกิจเครือข่ายและมุ่งสู่สากลอย่างมั่นคง เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของมวลสมาชิกและเป็นที่พึ่งของสังคมต่อไป" รมช.มนัญญา กล่าว

สหกรณ์อิสลามปัตตานี จำกัด ตั้งอยู่ที่หมู่ 7 ตำบลตะลุโบะ อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี จดทะเบียนตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ.2511 ประเภทสหกรณ์ออมทรัพย์ เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2530 เป็นสหกรณ์ที่ดำเนินในรูปแบบธุรกิจอิสลามแห่งแรกในประเทศไทย เดิมชื่อ "สหกรณ์ออมทรัพย์อิสลามปัตตานี จำกัด" เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2555 ได้เปลี่ยนประเภทเป็นสหกรณ์ประเภทบริการในนาม "สหกรณ์อิสลามปัตตานี จำกัด" ปัจจุบันมีสมาชิก 57,128 ราย ครอบคลุมพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีทุนการดำเนินงาน 1,072 ล้านบาท สหกรณ์ดำเนินงานตามวัตถุประสงค์เพื่อให้สมาชิกดำเนินกิจการร่วมกันและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เพื่อแก้ไขความเดือดร้อนในการประกอบอาชีพของสมาชิก ช่วยยกฐานะความเป็นอยู่ ของสมาชิกให้ดีขึ้น โดยนำหลักการของศาสนาอิสลามบูรณาการกับหลักการสหกรณ์เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนในพื้นที่ และสอดคล้องกับการดำเนินชีวิตประจำวันที่เป็นไปตามหลักศาสนา ทั้งนี้ สหกรณ์ได้ดำเนินกิจการในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมการออมของสมาชิก ตลอดจนการส่งเสริมอาชีพของสมาชิกผ่านรูปแบบสินเชื่อต่าง ๆ สหกรณ์ยังมีการยกระดับคุณภาพชีวิตของสมาชิกผ่านระบบซะกาตที่ให้แก่บุคคลตามที่ศาสนากำหนดเพื่อเป็นทุนในการประกอบอาชีพ รวมทั้งยังช่วยเหลือสังคมและชุมชนผ่านทุนสาธารณประโยชน์ของสหกรณ์เพื่อเป็นการสร้างคุณประโยชน์ต่อสังคม และประเทศชาติต่อไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๒ ASMT ผนึก TFT ร่วมลงนามด้านวิชาการด้านอุตสาหกรรมการบิน
๑๗:๑๖ กรมวิชาการเกษตร เดินหน้า ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอะโวคาโดคุณภาพ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรกว่า 2 แสนบาท/ไร่
๑๗:๕๕ Dow มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ Personal Care ควบคู่ความยั่งยืน ตอบโจทย์ผู้บริโภคตลาดเครื่องสำอางในภูมิภาคเอเชีย
๑๗:๔๗ โอซีซี มอบความรู้ พัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขังหญิง
๑๗:๑๒ ดร.นุชนารถ ชลคงคา นำทีมสถาบัน ESTC จัดอบรมให้ Karmakamet
๑๗:๐๐ กนภ. เห็นชอบร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกสำคัญสู่เส้นทางเศรษกิจคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันฯ
๑๖:๐๐ WePlay x คอลแลบตัวละครสุดปัง! พบกับมินิเกมใหม่ และการ์ตูนสุดน่ารักที่คุณจะต้องหลงรัก
๑๖:๐๔ เดลต้า ประเทศไทย และ WEnergy Global ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อขับเคลื่อนอนาคตพลังงานสีเขียว
๑๖:๔๗ ความภาคภูมิใจของ ไลอ้อน กับ 3 รางวัลแห่งเกียรติยศ เผยผลงานโดดเด่นกับหลายรางวัลที่ได้รับในปี 2567
๑๖:๐๒ NOBLE คว้าเรทติ้งสูงสุด ระดับ AAA SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืนภายในแนวคิด Live Different ตามกรอบ