SABUY กระแสแรง จองซื้อล้นหลาม นักลงทุน มั่นใจธุรกิจฟินเท็ค อนาคตไกล หุ้นเดิมผู้บริหารและประธานกรรมการติดไซเล้นท์ทั้ง 100% พร้อมเทรด 11 พ.ย. นี้

ศุกร์ ๐๖ พฤศจิกายน ๒๐๒๐ ๑๑:๒๗

นายชูเกียรติ รุจนพรพจี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สบาย เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) ผู้นำด้านการพัฒนาเทคโนโลยีการค้าแบบ New Retail Solution ที่มี Eco System เป็นของตนเอง และ ให้บริการรับชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ กล่าวว่า บริษัทฯ ขอขอบคุณนักลงทุนทุกท่าน ที่ให้การตอบรับจองซื้อหุ้น IPO ของบริษัท สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่มีต่อบริษัทและศักยภาพการเติบโตของธุรกิจฟินเท็คของบริษัทฯ โดยหุ้นไอพีโอของ SABUY ได้จำหน่ายให้กับนักลงทุนสถาบัน 11% นักลงทุนรายย่อย 67% กลุ่มผู้มีอุปการคุณของบริษัท 13 % และกรรมการและผู้บริหารของบริษัทฯ 9%

บริษัทฯ มีวัตถุประสงค์หลักจะนำเงินจากการเพิ่มทุน เพื่อขยายกิจการต่างๆ คือ โครงการเพิ่มการตั้งตู้ขายสินค้าอัตโนมัติ โครงการให้บริการระบบการรับชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์(Payment Platform Provider) โครงการให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Money Service) โครงการให้บริการระบบบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์แก่ศูนย์อาหาร และ/หรือร้านค้าในวงจำกัด (Closed Loop) โครงการติดตั้งเครื่องรับชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับตู้เติมเงินและตู้ขายสินค้าอัตโนมัติ และโครงการเพิ่มศูนย์กระจายสินค้าของธุรกิจตู้ขายสินค้าอัตโนมัติ ในต่างจังหวัด

"ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2563 นี้ "SABUY" มีผลประกอบการที่ดี เติบโตสวนทางสภาวะเศรษฐกิจไทยที่ได้ผลกระทบจากวิกฤติไวรัส โควิด-19 โดยในงวดครึ่งปีแรกปี 2563 นี้ บริษัทฯ มีกำไรสุทธิ 46.27ล้านบาท เติบโตขึ้น 530% จากงวดครึ่งปีแรกปี 2562 ที่บริษัทฯ มีกำไรสุทธิ 7.4 ล้านบาท โดย มีรายได้รวม 720 ล้านบาท เติบโตขึ้น 21% มีกำไรขั้นต้น 256 ล้านบาท จากงวดครึ่งปีแรกปี ในปี 2562 ที่มีรายได้รวม 593 ล้านบาท และมีกำไรขั้นต้น 165 ล้านบาท โดยรายได้จากธุรกิจตู้ขายสินค้าอัตโนมัติเติบโตสูงขึ้น ประกอบกับการควบคุมค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว ทำให้อัตรากำไรสุทธิ ( Net profit margin) ของ SABUY จาก 1.2% เป็น 6.4% ในงบครึ่งปีแรกปีนี้" นายชูเกียรติกล่าว

นายรัฐชัย ธีระธนาวัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารร่วม ฝ่ายวาณิชธนกิจ บริษัท หลักทรัพย์ เคทีบี (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้จัดการการจัดจำหน่ายหุ้นสามัญของ SABUY กล่าวว่า "หุ้นไอพีโอ "SABUY" ได้รับความสนใจในการจองซื้ออย่างสูงจากทั้งกลุ่มนักลงทุนสถาบัน นักลงทุน VI และกลุ่มนักลงทุนรายย่อย โดยหุ้นไอพีโอ จำนวน 157.02 ล้านหุ้น หรือ 15% ของทุนจดทะเบียน 1,005 ล้านบาท (หลังจากขายหุ้นเพิ่มทุน) ที่ราคา 2.50 บาท/หุ้น คิดเป็นมูลค่าการระดมทุนประมาณ 392.54 ล้านบาท โดยเป็นมูลค่าการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนของบริษัทฯ จำนวน 292.54 ล้านบาท และมูลค่าการเสนอขายหุ้นสามัญเดิมโดยนายวิชัย วชิรพงศ์ จำนวน 100 ล้านบาท โดยภายหลังการระดมทุนครั้งนี้ กลุ่มรุจนพรพจีจะถือหุ้นในสัดส่วน 30 % กลุ่มวีระประวัติจะถือหุ้นในสัดส่วน 28% และสัดส่วนที่เหลือเป็นผู้ถือหุ้นรายย่อย และมีกำหนดการจะเริ่มเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ mai ในวันที่ 11 พฤศจิกายน 2563 นี้

"SABUY" เป็น Growth Tech Stock หรือ หุ้นเทคโนโลยีที่มีอัตราการเติบโตสูงในอนาคต และมี Business Model ที่ดีและพิสูจน์แล้วว่าสร้างผลกำไรได้อย่างมั่นคง นอกจากนี้ SABUY มี Eco System ของตนเอง และมีแผนการขยายธุรกิจที่จะสร้างการเติบโตอย่างสูง โดยที่สำคัญ ทีมผู้บริหารระดับสูงของ SABUY เป็นทีมผู้บริหารที่มีประสบการณ์ระดับสูงจากธนาคารระดับโลก และ ธนาคารชั้นนำของไทย ที่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีอย่างสูง และ ความเข้าใจในอุตสาหกรรมด้าน E-Banking และ Commerce เป็นอย่างดี นอกจากนี้ SABUY ยังมีสถานะการเงินที่แข็งแกร่ง มีทุนจดทะเบียนสูงถึง 1,005 ล้านบาท (หลังการเสนอขาย IPO) มีอัตรากำไรขั้นต้นและ อัตรากำไรสุทธิสูง และ มีอัตราหนี้สินต่อทุนต่ำ จึงมีโอกาสในการขยายกิจการด้าน Commerce & Payment Solutions ได้อีกมาก"

"SABUY" มี 4 ธุรกิจหลักคือ

  1. ธุรกิจตู้เติมเงินอัตโนมัติ ให้บริการธุรกรรมทางการเงินผ่านตู้เติมเงินอัตโนมัติ ภายใต้เครื่องหมายการค้า "เติมสบายพลัส" มากกว่า 52,000 ตู้
  2. ธุรกิจตู้ขายสินค้าอัตโนมัติ เน้นการจำหน่ายเครื่องดื่ม, ขนม และ สินค้าต่างๆ ผ่านตู้ขายสินค้าอัตโนมัติ (Vending Machine) ภายใต้เครื่องหมายการค้า "เวนดิ้งพลัส" และ "6.11" กว่า 5,700 ตู้ ครอบคลุมถึง 21 จังหวัด ทั่วประเทศ
  3. ธุรกิจระบบศูนย์อาหาร ให้บริการติดตั้งและวางระบบศูนย์อาหารทั้งระบบ Hardware และ Software และเป็นผู้ให้บริการจัดการศูนย์อาหารพร้อมการบำรุงรักษา มีศูนย์อาหารภายใต้การดูแลทั้งหมด 205 ศูนย์ ตามห้างสรรพสินค้า สำนักงาน โรงงาน สถานศึกษา อาทิ เทสโก โลตัส , Tops, โรบินสัน และ เทอมินอล21 เป็นต้น
  4. ธุรกิจให้บริการการชำระเงิน บริษัทฯจะให้บริการการชำระเงิน ผ่านบริษัทย่อย คือ บริษัท สบาย มันนี จำกัด ซึ่งได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจบริการการชำระเงินภายใต้การกำกับของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ทั้งสิ้น 4 ประเภทธุรกิจ ได้แก่ การให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Money License) การให้บริการรับชำระเงินด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ (Payment Agent License: PA) การให้บริการสนับสนุนบริการแก่ผู้รับบัตร (Payment Facilitator License: PF) และ การให้บริการโอนเงินด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ (Fund Transfer License)

ปัจจุบัน บริษัทฯ มีบริษัทย่อยทั้งหมด 3 บริษัทคือ บริษัท เวนดิ้ง พลัส จำกัด ("VDP") เป็นตู้จำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ เช่น เครื่องดื่ม ขนม และสินค้าต่างๆ ผ่านตู้ขายสินค้าอัตโนมัติ ภายใต้เครื่องหมายการค้า "เวนดิ้งพลัส" บริษัท สบาย มันนี่ จำกัด ("SBM") เป็นผู้ให้บริการการชำระเงิน (Payment Service Provider / Facilitator) ภายใต้เครื่องหมายการค้า "สบาย มันนี่" และบริษัท สบาย โซลูชั่นส์ จำกัด ("SBS") เป็นผู้ให้บริการติดตั้งระบบศูนย์อาหาร บริการระบบศูนย์อาหาร และบริการซ่อมแซมบำรุงรักษาระบบศูนย์อาหาร

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๔๗ เอ. เจ. พลาสท์ คว้า 2 รางวัลใหญ่ จาก SET Awards 2024 และได้รับการประเมิน CGR ดีเลิศ ระดับ 5 ดาว
๑๖:๑๓ เปิดมาตรการ พักหนี้ ลดดอกเบี้ย ช่วยเหลือ SMEs ถูกน้ำท่วมในงาน มันนี่ เอ็กซ์โป 2024 เชียงใหม่
๑๖:๓๙ หน้าหนาวมาเยือน! กรมอนามัยเตือนดูแลสุขภาพให้พร้อม เด็กเล็ก-ผู้สูงอายุเสี่ยงเจ็บป่วยง่าย
๑๖:๕๗ เปิดรันเวย์อวดผลงานไอเดียสร้างสรรค์ของ 5 ผู้ชนะรางวัลทุนการศึกษา จากโครงการ Jaspal Group Scholarship Program
๑๖:๐๘ กิฟฟารีน แนะนำไอเทมเด็ด กิฟฟารีน เอช เอ็ม บี พลัส วิตามินดี 3 สำหรับช่วยดูแลมวลกล้ามเนื้อให้แข็งแรง
๑๕:๐๑ ไขข้อสงสัย สินเชื่อรถแลกเงินคืออะไร
๑๕:๓๘ ซื้อมอเตอร์ไซค์ ออกรถใหม่ มีขั้นตอนอย่างไร ต้องเตรียมอะไรบ้าง
๑๕:๐๕ ยางขอบ 17 ยี่ห้อไหนดีที่ขับขี่สนุก และยังคงนุ่มสบาย
๑๔:๕๖ heygoody คว้าแชมป์จากเวที Thailand Influencer Awards 2024 ตอกย้ำความเข้าใจลูกค้า Introvert
๑๔:๐๓ เมืองไทยประกันชีวิต คว้า 4 รางวัลใหญ่ระดับสากล ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล และเป็นองค์กรสถานประกอบการดีเด่นด้านแรงงานสัมพันธ์และสวัสดิการ