วีคาร์โก รุกพัฒนา ยกระดับไอทีสู่ Version 2

จันทร์ ๐๙ พฤศจิกายน ๒๐๒๐ ๑๐:๐๕

- เป็นการยกระดับการบริการส่งสินค้าถึงบ้านผู้ซื้อของลูกค้าหรือ Last Mile Service
- ทุกฝ่าย ได้เต็ม ๆ จากการยกระดับเข้าสู่ เทคโนโลยีดิจิตอล Version 2

กลุ่มบริษัทวี คาร์โก ซึ่งเป็นผู้ให้บริการโลจิสติกส์ชั้นนำชาวไทย เดินหน้าพัฒนาระบบเทคโนโลยี ดิจิตอลและไซเบอร์ Version 2 ต่อยอดจาก Version 1 ทำให้สามารถ บริหารจัดเส้นทางการขนส่ง (Routing) อัตโนมัติ ไปถึงบ้านลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพคือ รวดเร็ว ประหยัดและลดการใช้ทรัพยากรทั้งเวลาและพลังงานเชื้อเพลิง

นายอุดม ศรีสงคราม กรรมการผู้จัดการ กลุ่มบริษัทวี คาร์โก เปิดเผยว่านับจากที่ประเทศไทยเข้าสู่กระแสโลกที่รณรงค์ในประเด็นสิ่งแวดล้อมที่นำไปสู่กระแสสำนักงานไร้กระดาษหรือ Paperless Office นานกว่า 20 ปีที่ผ่านมา กลุ่มบริษัทวี คาร์โก ได้เริ่มต้นพัฒนาสำนักงานไร้กระดาษนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 โดยเริ่มนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาให้บริการแก่ลูกค้าอย่างต่อเนื่อง จนนำไปสู่ความสำเร็จในโครงการพัฒนา Transport Management System หรือ TMS ใน Version แรก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558

ภายใต้ TMS Version แรก ถือเป็นความสำเร็จในการพัฒนาการให้บริการลูกค้าผ่าน Applications บนโทรศัพท์มือถือที่เป็น Smart Phone โดยพนักงานส่งสินค้าจะไม่ต้องใช้เอกสารการทำงานในแต่ละวัน แต่จะเป็นการรับคำสั่งรวมไปถึงการส่งมอบสินค้าไปจนถึงการปิดงานในแต่ละวันผ่าน Application บน Smart Phone 100% ทำให้ไม่มีเอกสารที่เป็นกระดาษหลงเหลืออยู่ในระบบการทำงานจากสำนักงานถึงบ้านลูกค้าที่สั่งสินค้าผ่านองค์กรที่เป็นลูกค้าของกลุ่มบริษัทวี คาร์โก

"แต่การพัฒนาของเรายังไม่ได้หยุดอยู่เพียงแค่นี้ เรายังคงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง หากจะพูดให้ชัดเจนขึ้นก็คือเราสามารถพัฒนา Application บน Smart Phone ที่หัวใจอยู่ในระบบ TMS ก็เพราะเรามีถนนทางด่วนทางการสื่อสารที่เรารู้จักกันในชื่อ 3G และ 4G ทำให้เราสามารถพัฒนารูปแบบการให้บริการแบบ Paperless ได้อย่างสมบูรณ์แบบ แต่เราไม่ได้หยุดการพัฒนาเพียงแค่นี้ เรายังพัฒนาต่อเนื่องจนมาถึงวันนี้ ผมพูดได้เลยว่า TMS Version 2 นั้นสมบูรณ์แบบ 100% และที่สำคัญ จะเป็นระบบที่ Smart ยิ่งขึ้นครับ" นายอุดม กล่าว

TMS Version 2 นี้ เสร็จเมื่อปลาย พ.ศ. 2562 ซึ่งเป็นการพัฒนาต่อยอดจาก Version 1 ด้วยวิสัยทัศน์ที่มองไปข้างหน้าของเทคโนโลยี ทำให้กลุ่มบริษัทวี คาร์โก พัฒนาระบบ TMS ให้เป็นระบบเปิดที่พร้อมจะรับการสื่อสารสองทางกับบริษัทคู่ค้าภายนอกได้อย่างลื่นไหล ไม่เกิดการสะดุด ทำให้ Applications ต่าง ๆ ที่วิ่งในระบบ TMS สามารถดึงและส่งข้อมูลเชื่อมต่อกับลูกค้าที่เป็นองค์กรภายนอกได้ อีกทั้งมีการพัฒนาระบบ Vehicle Route Planning หรือ VRP ซึ่งเป็นระบบที่อยู่ภายใต้ระบบใหญ่ TMS โดย VRP จะเป็นระบบที่นำข้อมูลชุดคำสั่งของลูกค้าแต่ละรายเข้าสู่ระบบ TMS เพื่อทำการวิเคราะห์จัดสรรรถบรรทุกว่าจำเป็นต้องใช้กี่คัน รวมไปถึงเสนอแนะเส้นทางการเดินรถ ว่าควรมีเส้นทางใดบ้าง รวมไปถึงจำนวนแต่บะจุดที่ต้องส่งก่อนหรือหลังตามลำดับ ภายใต้คำสั่งของลูกค้าว่าจะให้ส่งสินค้าไปยังจุดไหน ในปริมาณเท่าใด โดยเฉพาะสินค้าที่จะต้องทำการจัดส่งไปยังบ้านลูกค้าที่เป็นผู้บริโภคที่สั่งสินค้าจากผู้ค้าปลีกหรือ โมเดิร์นเทรด พร้อมติดตั้ง หรือเป็นที่รู้จักกันในบริการ Last Mile Service ซึ่งจะเป็นเส้นทางที่กระจัดกระจายไปทั่งประเทศไทยในปริมาณที่หลากหลายในแต่ละคำสั่งซื้อ

"เราโชคดีที่โครงการนี้เริ่มทดลองใช้ก่อนที่จะเกิดวิกฤติ Covid 19 ทำให้เรามีความพร้อมให้บริการทันที่ที่รับฐบาลได้ประกาศ Lock Down ประเทศในช่วงต้นปีนี้ จนถึงวันนี้ ผมยืนยันครับว่า TMS Version 2 ของเราสมบูรณ์แบบแล้ว

"ซึ่ง TMS Version 2 ที่พ่วงระบบ VRP นี้ทำให้เราเข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ หากเรายังใช้ระบบ Manual อยู่นั้น ผมบอกได้เลยว่าเราจะต้องใช้คนจำนวนมากมายที่จะมาวางแผนเส้นทางการเดินรถเพื่อให้บริการกับลูกค้าอย่างทั่วถึงในระยะเวลาที่เรากำหนดไม่ได้ภายใต้เงื่อนไขข้อจำกัดมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องจำนวนรถที่จะต้องใช้ พนักงานขับรถที่จะต้องเกิดขึ้นตามจำนวนรถ รวมไปถึงระบบการจัดวางสินค้าในรถขนส่งแต่ละคัน มันทำให้เราใช้ทรัพยากรอย่างมากมายในต้นทุนที่แพง

"แต่ TMS Version 2 นี้ ปัญหานี้หมดไปทันทีเพราะระบบจะทำการคำนวณให้ตั้งแต่การจัดเรียงสินค้าในรถแต่ละคัน การกำหนดเส้นทางให้รถแต่ละคันที่จะวิ่งส่งไปถึงบ้านลูกค้าภายใต้เงื่อนไขที่ลูกค้าผู้บริโภคคนสุดท้ายสั่งเช่นจะให้ส่งสินค้าพร้อมติดตั้งหรือไม่ ซึ่งระบบ TMS Version 2 จะกำกับพนักงานส่งสินค้าให้ทราบถึงรายละเอียดเงื่อนไข รวมไปถึงระบบการเก็บเงินปลายทาง ซึ่งรถแต่ละคันจะได้รับเส้นทางที่ชัดเจนและเป็นเส้นทางที่ลื่นไหลไปตามตำแหน่งที่จะส่งของแบบต่อเนื่อง" นายอุดม กล่าว

นายอุดมกล่าวว่าด้วยระบบการขนส่ง TMS ภายใต้การบริหารของ VRP นี้ ทำให้เกิดการประหยัด ทั้งจากเส้นทางที่สอดคล้องกับเนื้องานที่เหมาะสมในรถขนสินค้าแต่ละคัน ในเวลาที่พนักงานสามารถให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ด้วยค้าใช้จ่ายจากเส้นทางการเดินรถที่สั้นและใช้เสลาที่ต่ำที่สุด และที่สำคัญคือใช้จำนวนรถที่น้อยที่สุดด้วย ซึ่งทั้งหมดนี้ ผู้ที่จะได้รับประโยชน์โดยตรงคือองค์กรที่เป็นลูกค้าของกลุ่มบริษัทวี คาร์โก ที่จะส่งผ่านต้นทุนที่ลดลงไปถึงมือลูกค้าของแต่ละองค์กร จึงทำให้กลุ่มบริษัทวี คาร์โก ได้รับการตอบรับอย่างดีจากลูกค้าปัจจุบันและลูกค้าอนาคตที่ได้ให้ความสนใจใช้บริการของกลุ่มบริษัทวี คาร์โก ในอนาคตอันใกล้

ภายใต้ระบบ TMS Version 2 ยังมีอีกหนึ่ง Application คือ Smart Station หรือ ปั้มจ่ายน้ำมันอัจฉริยะ ที่จะช่วยให้กลุ่มบริษัทวี คาร์โก สามารถควบคุมต้นทุนหลักของธุรกิจขนส่งคือน้ำมันเชื้อเพลิง โดย Smart Station เป็นระบบการคำนวณการใช้น้ำมันของรถแต่ละคันที่เชื่อมต่อกับระบบ VRP ที่คำนวณเส้นทางซึ่งจะสามารถระบุระยะทางที่เป็นกิโลเมตรของรถแต่ละคันเชื่อมต่อกับอัตราสิ้นเปลืองน้ำมันของรถแต่ละคัน ทำให้ระบบสามารถกำหนดความต้องการใช้น้ำมันของรถแต่ละคันในแต่ละวันได้อย่างแม่นยำ ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะถูกส่งผ่านไปที่ระบบ Smart Station เพื่อกำหนดปริมาณน้ำมันที่จะเติมให้กับรถแต่ละคันในแต่ละวัน

"ทุกวันนี้ พนักงานขับรถของเราจะได้รับคำสั่งปฏิบัติงานในทุกเช้าของแต่ละวัน พนักงานก็จะนำรถไปที่ศูนย์กระจายสินค้าที่กำหนดไว้ผ่าน Smart Phone เมื่อพนักงานนำรถไปขึ้นสินค้าที่มีการจัดเรียงตามที่ระบบ VRP กำหนดเสร็จเรียบร้อย พนักงานคนนั้นก็จะทำการถ่ายภาพกลับมาที่ TMS ระบบจะส่ง QR Quote กลับไปที่ Smart Phone เพื่อให้พนักงานขับรถนำรถของเขาไปที่ Smart Station เพื่อเติมน้ำมัน โดยที่พนักงานคนนั้นจะต้องทำการ Scan ลายนิ้วมือเพื่อระบุตัวตนควบคู่ไปกับการ Scan QR Quote ที่ต้องตรงกัน ระบบจึงจะอนุมัติให้ทำการเติมน้ำมันในปริมาณที่ถูกคำนวณมาเรียบร้อยแล้ว จากนั้นจึงนำรถออกปฏิบัติหน้าที่ของแต่ละวัน โดยขั้นตอนการเติมน้ำมันนี้ ไม่จำเป็นต้องมีพนักงานส่วนกลาง ที่จะคอยประเมินว่ารถแต่ละคัน ต้องใช้น้ำมันกี่ลิตร รวมไปถึงพนักงานประจำปั้มน้ำมัน ซึ่งทั้งหมดนี้เราใช้ระบบ TMS และ Smart Station เป็นตัวควบคุมแทนคนทั้ง 100% " นายอุดม กล่าว

นายอุดมกล่าวว่าระบบ VRP และ TMS ทำให้ Smart Station และส่วนอื่น ๆ ใม่ต้องใช้เอกสารที่เป็นกระดาษอีกต่อไปหรือจะพูดว่าหมดยุคของการรับคำสั่งและดำเนินการภายใต้ระบบกระดาษอีกต่อไป อีกทั้งการใช้คนเท่าที่จำเป็น โดยยืนยันได้ที่ Smart Station ไม่มีพนักงานเติมน้ำมัน แต่พนักงานขับรถจะเป็นผู้รับผิดขอบการเติมน้ำมัน

"ผมพูดได้เต็มปากครับว่า TMS Version 2 และ VRP ทำให้เราเป็น Paperless Office และ Human Less Office ซึ่งสุดท้ายแล้วคนที่จะได้ประโยชน์จากเทคโนโลยีที่เราพัฒนาขึ้นมาก็คือองค์กรลูกค้าของเรา และลูกค้าขององค์กรลูกค้าเราที่จะได้รับบริการที่ดี มีประสิทธิภาพ ในราคาที่สมเหตุสมผล ทำให้ลูกค้าเราสามารถแข่งขันกับผู้เล่นรายอื่นในตลาดได้" นายอุดม กล่าวทิ้งท้าย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version