ก.แรงงาน จับมือ กรมศิลปากร พัฒนาช่างฝีมือ อนุรักษ์โบราณสถาน

จันทร์ ๐๙ พฤศจิกายน ๒๐๒๐ ๑๐:๐๗

ณ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ธัญบุรี จ.ปทุมธานี นายธวัช เบญจาทิกุล อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กับนายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการสร้างอาชีพช่างอนุรักษ์โบราณสถานในประเทศ โดยมี นางสาว จิราภรณ์ ปุญญฤทธิ์ ผู้ตรวจราชการกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน และ นายสตวัน ฮ่มซ้าย รองอธิบดีกรมศิลปากร เป็นพยานในการลงนาม พร้อมร่วมเปิดงานปฐมนิเทศและทดสอบฝีมือผู้เข้าแข่งขันฝีมือช่างอนุรักษ์สถาปัตยกรรมไม้ของไทย โดยมีทีมช่างไม้และช่างเขียนแบบจากบริษัทและสถาบันต่างๆ เข้าร่วมมากกว่า 60 คน ซึ่งทีมที่ผ่านการคัดเลือก จะเข้าแข่งขันเพื่อรับโล่พระราชทาน ภายใต้โครงการเทิดพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน ในเดือนมกราคม ปี 2564

นายธวัช เบญจาทิกุล อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) กระทรวงแรงงาน เปิดเผย หลังจากการลงนามและเปิดงานแข่งขันดังกล่าวว่า ปัจจุบันสมบัติของชาติที่เป็นโบราณสถานและโบราณวัตถุต้องเผชิญกับปัญหาชำรุดทรุดโทรม เสื่อมสภาพตามกาลเวลา ประกอบกับประเทศไทยยังขาดแคลนช่างอนุรักษ์ ที่มีฝีมือเข้าใจถึงกระบวนการแบบโบราณและวัสดุแบบเก่า ทำให้การซ่อมแซมฟื้นฟูอนุรักษ์ดำเนินการได้ยากยิ่ง กพร. กระทรวงแรงงาน จึงร่วมกับกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ดำเนินโครงการสร้างอาชีพช่างอนุรักษ์โบราณสถานในประเทศ เพื่อสร้างช่างอนุรักษ์ให้มีความรู้ความเข้าใจถึงหลักการอนุรักษ์ และมีทักษะฝีมือในงานช่างศิลป์ระดับสูง ตอบสนองความต้องการของตลาดในการอนุรักษ์แหล่งโบราณสถาน เมืองโบราณ อาคารประวัติศาสตร์ทั่วประเทศและภูมิภาคอาเซียน

นายธวัช กล่าวต่อไปว่า ความร่วมมือที่ผ่านมาทั้งสองหน่วยงานได้ร่วมกันจัดฝึกอบรมช่างอนุรักษ์สถาปัตยกรรมประเภทไม้ ผู้ที่จะเข้ารับการฝึกอบรมต้องผ่านการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ สาขาช่างไม้ก่อสร้าง ระดับ 1 โดยมีการถ่ายทอดความรู้เบื้องต้นในการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมประเภทไม้ ฝึกออกสำรวจและบันทึกสภาพโบราณสถานก่อนการอนุรักษ์ ประเมินความเสียหายและการวางแผน พัฒนาทักษะ และเทคนิคการอนุรักษ์เชิงป้องกันและบำรุงรักษา มีผู้ผ่านการฝึกอบรมจำนวน 20 คน และเพื่อเป็นการยกระดับความร่วมมือเพิ่มขึ้นร่วมกันพัฒนาวิทยากรต้นแบบในการถ่ายทอดความรู้ให้แก่ช่างฝีมือ จัดทำหลักสูตร การฝึกอบรมช่างอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมในสาขาต่างๆ อาทิ ช่างอิฐและปูน ช่างไม้ ช่างเขียนแบบงานอนุรักษ์ สนับสนุนการจัดทำมาตรฐานฝีมือแรงงานในสาขาที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น

"ความร่วมมือในครั้งนี้จะมีส่วนสำคัญในการสร้างคุณค่าให้แก่ช่างฝีมือและความมั่นคงทางอาชีพ รวมถึงเป็นการอนุรักษ์โบราณสถาน โบราณวัตถุ อาคารประวัติศาสตร์ ให้ดำรงคงอยู่กับประเทศไทยไปอีกยาวนาน ส่งต่อประวัติศาสตร์ไปยังรุ่นลูกหลาน และขณะเดียวกันเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ให้เกิดขึ้นอีกด้วย" อธิบดีกพร. กล่าว

ด้านนายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร เสริมว่า ต้องขอบคุณทางองค์การยูเนสโกที่เป็นหน่วยงานสำคัญในการประสานงานความร่วมมือ ซึ่งเป็นเรื่องน่ายินดีอย่างยิ่งสำหรับการพัฒนาศักยภาพด้านการอนุรักษ์ ของไทย ส่วนการแข่งขันเป็นเสมือนจุดเริ่มต้นของการรวบรวมผู้ที่มีฝีมือให้เข้ามาทำงานในด้านการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมไม้มากขึ้น

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ