รู้ทันฝ้า - กระ รักษาได้

จันทร์ ๐๙ พฤศจิกายน ๒๐๒๐ ๑๑:๑๑

สมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย (หรือ DST) ตระหนักที่จะทำหน้าที่เพื่อตอบแทนสังคมและเผยแพร่และทำการรักษาและให้ความรู้กับประชาชนทั่วประเทศ สำหรับปัญหาเรื่องฝ้าของคนไทย โดยเฉพาะ สาว ๆ ที่มักประสบปัญหาอยู่เสมอ จึงนำมาให้ความรู้และวิธีการรักษาและป้องกันให้ถูกวิธี

ฝ้ามีลักษณะเป็นปื้นสีคล้ำที่อยู่บนใบหน้า อาจมีตั้งแต่สีน้ำตาลอ่อนจนถึงสีน้ำตาลเข้มหรือสีน้ำตาลเทา ฝ้าแบ่งเป็น 3 ชนิด คือ ฝ้าตื้น ฝ้าลึกและฝ้าผสม โดยขึ้นอยู่กับความลึกของตำแหน่งเม็ดสีที่ผิวหนัง โดยคนส่วนใหญ่มักเป็นฝ้าผสมมากกว่า ซึ่งการจะรู้ว่าตนเองเป็นฝ้าชนิดไหน การดูด้วยตาเปล่าจะค่อนข้างยาก ควรใช้ Wood's lamp อาจจะช่วยบอกชนิดของฝ้าได้ โดยลักษณะของฝ้าตื้นมีลักษณะขอบเขตชัดเจน ในขณะที่ฝ้าลึกมีขอบเขตไม่ชัดเจน ส่วนความเข้มของสีจะนำมาใช้พิจารณาชนิดของฝ้ายาก เนื่องจากขึ้นอยู่กับสีผิวของแต่ละคน บางครั้งอาจพบอาการแดงจากปฏิกิริยาอักเสบที่บริเวณฝ้าได้ด้วย

ฝ้าและกระมีลักษณะอย่างไร ฝ้าจะมีลักษณะเป็นผื่นที่มีลักษณะเป็นปื้นสีคล้ำที่อยู่บนใบหน้า โดยเฉพาะที่บริเวณหน้าผาก โหนกแก้ม จมูก เหนือริมฝีปากและคาง ส่วนกระแดด มีลักษณะเป็นปื้นราบ ๆ สีน้ำตาล ขอบเขตชัด เป็นวงกลมขนาดไม่ใหญ่ ทั้งนี้สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดฝ้า ประกอบด้วย 1. การได้รับแสงอัลตราไวโอเลตทั้ง A (UVA) และ B (UVB) ที่มีอยู่ในแสงแดด เป็นปัจจัยหลักในการกระตุ้นให้เกิดฝ้า 2. ฮอร์โมนเพศหญิง โดยเฉพาะ Estrogen เนื่องจากผู้หญิงเป็นฝ้ามากกว่าผู้ชาย โดยมักพบในช่วงที่รับประทานยาคุมกำเนิดและช่วงตั้งครรภ์ และ 3. พันธุกรรมและเชื้อชาติ โดยพบว่าคนเอเชียเป็นฝ้าได้ง่ายกว่าคนผิวขาวและสามารถพบในครอบครัวเดียวกันได้บ่อยด้วย

สำหรับวิธีป้องกันหรือหลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้เกิดฝ้านั้น ควรเลี่ยงการรับประทานยาคุมกำเนิดและหลบแดด โดยเฉพาะในช่วงเวลา 10:00-15:00 น. หากเลี่ยงไม่ได้ก็ควรใช้ยาทากันแดด และสวมหมวกปีกกว้างจะช่วยป้องกันการเกิดฝ้าได้ โดยการรักษาฝ้า มีแนวทางดังนี้ 1. การรักษาตามสาเหตุและแก้ไขหรือหลีกเลี่ยงจากสาเหตุนั้น เช่น พยายามหลีกเลี่ยงแสงแดด หรือใช้ครีมกันแดด 2. การทำให้ฝ้าจางลงโดยการใช้สารที่ทำให้ผิวขาว โดยทั่วไปมักใช้ยาทาผสมกันหลายตัว และต้องดูผลการรักษาบ่อย ๆ ทุก 1-2 สัปดาห์ เพื่อสังเกตผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น ผิวตรงที่ทายามีอาการแดง หรือบางลงกว่าปกติ ถ้ามีผลข้างเคียงอาจต้องปรับยา 3. การลอกฝ้าด้วยสารเคมี ซึ่งเป็นวิธีการเสริม เพื่อทำ ให้ฝ้าจางเร็วขึ้นโดยทั่วไปจะใช้กรดอ่อน ๆ เช่น alpha hydroxyl acids (AHAs) หรือ trichloroacetic acid (TCA) 30-50% เพื่อทำให้เซลล์ผิวหนังในชั้นบน ๆ หลุดลอกออก และทำให้เม็ดสีที่อยู่ด้านบนหลุดออกไป การลอกฝ้านั้นจะต้องทา ติดต่อกันอย่างน้อย 3-4 ครั้ง ทุก 2-4 สัปดาห์ โดยแพทย์ผู้ชำนาญการเท่านั้น แต่หากทำเองหรือไม่ ใช่แพทย์ผู้ไม่ชำนาญมีโอกาสเสี่ยง ซึ่งผลข้างเคียงค่อนข้างรุนแรง เช่น หน้าลอกหรือไหม้ได้

หลาย ๆ คนมักเข้าใจผิดเกี่ยวกับฝ้า ซึ่งการรักษาเองด้วยการพอกหน้าด้วยผลไม้มีฤทธิ์เป็นกรดนั้น ไม่ควรรักษาด้วยวิธีการนี้ เนื่องจากผลไม้มีฤทธิ์เป็นกรด และกรดจากผลไม้ไม่สามารถทดแทนการลอกฝ้าด้วยสารเคมี AHA หรือ TCA ได้ นอกจากนั้นอาจทำให้ผิวหนังอักเสบเกิดเป็นผื่นคัน เมื่อผื่นหาย อาจทำให้ฝ้าคล้ามากขึ้น นอกจากนี้ผลไม้บางอย่าง เช่น มะนาว ถ้ามีการทาแล้วไปสัมผัสกับแสงแดด อาจทำให้เกิดปฏิกิริยาที่ผิวหนัง เกิ ดเป็นผื่น ดำ คล้ำในบริเวณที่ทาได้ นอกจากนี้จากรายงานการศึกษาพบว่าชาเขียวมีคุณสมบัติในการลดอนุมูลอิสระและลดการอักเสบ พบว่าสารสกัดจากชาเขียว ช่วยลดอาการแดง, ลดจำนวนของเซลล์ที่ไหม้และป้องกันการทำลาย DNA จากแสงอัลตร้าไวโอเล็ตหรือยูวี ดังนั้นอาจเป็นไปได้ว่าสารสกัดจากชาเขียว อาจจะมีส่วนช่วยลดการอักเสบจากแสงอัลตร้าไวโอเล็ต ซึ่งมีผลต่อการเกิดฝ้า อย่างไรก็ตามสารสกัดจากชาเขียว อาจมีความเข้มข้นของสารประกอบไม่เท่ากับการกินชาเขียวที่ซื้อได้ทั่วไป และในขณะนี้ยังไม่มีรายงานการศึกษาที่มีการ ตีพิมพ์แล้วแสดงผลว่าสารสกัดจากชาเขียวช่วยรักษาฝ้าได้

ข้อแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับการรักษาฝ้า คือหัวใจสำคัญที่สุดของการรักษาฝ้า คือ คนที่เป็นฝ้าควรจะหลีกเลี่ยงปัจจัยต่าง ๆ ที่กระตุ้นการเกิ ดฝ้าและหลีกเลี่ยงการ ตากแดด รวมทั้งใช้ครีมกันแดดอย่างสม่ำเสมอ ในการทาครีมกันแดด ควรจะทาปริมาณที่เพียงพอในตอนเช้าและทาซ้ำทุก 2-3 ชั่วโมง เมื่ออยู่กลางแจ้งหรือมีกิจกรรมทางน้ำ การรักษาฝ้าควรอยู่ในความดูแลของแพทย์เนื่องจากการทายารักษาฝ้าบางชนิด อาจมีผลข้างเคียงถาวร ถ้ามีการใช้ต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานาน การรักษาเสริม เช่น การลอกฝ้าด้วยสารที่มีฤทธิ์เป็นกรด อ่อน ๆ ควรจะทาโดยแพทย์ผู้ชำนาญการ เนื่องจากอาจเกิดอาการไหม้ได้ ถ้าใช้ความเข้มข้นของสารนั้นมากเกินไปหรือทิ้งไว้ที่ผิวหน้านานเกินไป การรักษาด้วยเลเซอร์ อาจเป็นการรักษาเสริม ซึ่งไม่สามารถทำให้ฝ้าหายขาดได้และควรอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เนื่องจากอาจเกิดผลข้างเคียงทำให้ฝ้าเป็นปื้นสีเข้มมากขึ้นหรือเกิดรอยขาวได้

หากต้องการรายละเอียดเรื่องราวเกี่ยวกับฝ้า แบบเจาะลึก สามารถติดตามได้ที่ Facebook Live ?EP.2 ตอน "ฝ่าฟันฝ้ากับ DST" ในวันอังคาร ที่ 24 พฤศจิกายน 2563 เวลา 12.00 -13.00 น.ทาง เพจเฟซบุ๊ก "ครบเครื่องเรื่องผิวหนัง" หรือเข้าไปค้นหาข้อมูลได้ที่เว็บไซต์สมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย WWW.DST.OR.TH

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๓๘ บางจากฯ ร่วมสร้างสีสัน ส่งต่อสุขภาพดี ชวน เมย์ รัชนก ร่วมแข่งกีฬา Econmass Sport Day 2024
๑๖:๐๐ จิม ทอมป์สัน ฟาร์ม เอิ้นหาพี่น้องโค้งสุดท้าย! ชวนมาม่วนซื่นส่งท้ายปี สูดอากาศดีกลางทุ่งดอกไม้บาน ชมงานศิลป์สุดอลัง พร้อมกิจกรรมม่วน ๆ ทั้งครอบครัว 2 สัปดาห์สุดท้าย
๑๕:๓๘ MediaTek เปิดตัว Dimensity 8400 ชิป All Big Core รุ่นแรกสำหรับสมาร์ทโฟนพรีเมียม
๑๕:๕๔ เปิด 10 เทรนด์ฮิตชีวิตดิจิทัลปี 2024 ปีแห่งความหลากหลายด้านป๊อปคัลเจอร์ โดย LINE ประเทศไทย
๑๕:๒๕ สุรพงษ์ ส่งมอบความสุข ขยายเวลาให้บริการสายสีแดง ถึง ตี 2 ในคืนเคานต์ดาวน์ เป็นของขวัญปีใหม่มอบให้แก่ประชาชน
๑๕:๐๗ เอ็นไอเอคัด 8 ผู้ประกอบการไทยสายการแพทย์ - สุขภาพ คว้าโอกาสบุกตลาดเยอรมนี - ยุโรป พร้อมโชว์จุดแข็งในงาน Medica 2024 ตอกย้ำไทย
๑๕:๒๖ EGCO Group คว้าหุ้นยั่งยืน SET ESG Ratings ปี 2567 ระดับ AA ตอกย้ำความมั่นใจนักลงทุนต่อการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน
๑๕:๕๖ เมืองไทยประกันชีวิต จับมือ แมกซ์ โซลูชัน ส่งมอบความสุขและความอุ่นใจ ต้อนรับเทศกาลปีใหม่แก่สมาชิก Max Card ผ่าน กรมธรรม์ประกันภัยปีใหม่สุขกายสุขใจ
๑๕:๔๘ แอสตร้าเซนเนก้า ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MoU) กับ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เพื่อขับเคลื่อนการวิจัยทางคลินิกในไทย
๑๕:๓๒ ซีเอ็มเอ็มยู มุ่งผลิตบุคลากรชั้นนำผ่านนวัตกรรมการศึกษาและงานวิจัยระดับโลก พร้อมจุดประกายภาคเศรษฐกิจ - สังคม เปลี่ยนแหล่งเรียนรู้สู่ พาร์ทเนอร์การเรียนรู้