บมจ.โพลีเพล็กซ์ (ประเทศไทย) หรือ PTL โชว์ผลงานไตรมาส 2 ปี 63/64 รับดีมานต์แผ่นฟิล์ม PET ชนิดบางโตต่อเนื่อง

พุธ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๐๒๐ ๐๙:๑๓

บมจ.โพลีเพล็กซ์ (ประเทศไทย) หรือ PTL ได้แจ้งผลการดำเนินงานในไตรมาส 2 รอบปีบัญชี 2563/64 (กรกฎาคม-กันยายน) มีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 65% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากความต้องการแผ่นฟิล์ม PET ชนิดบางที่เพิ่มสูงขึ้น ขณะเดียวกันบริษัทฯ ยังบริหารจัดการต้นทุนการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งกำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้นในประเทศอินโดนีเซียได้ช่วยสนับสนุนการเติบโตที่ดี

ทั้งนี้ PTL เป็นบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นผู้ผลิตแผ่นฟิล์มรายใหญ่อันดับ 5 ของโลก ทำยอดขายได้ 3,748 ล้านบาทในไตรมาส 2 รอบปีบัญชี 2563/64 หรือเพิ่มขึ้น 12% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาที่ทำยอดขาย 3,348 ล้านบาท

ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ ได้อนุมัติจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลงวดผลการดำเนินงานในครึ่งปีแรกของปี 2563 (เมษายน-กันยายน 2563) ในอัตราหุ้นละ 0.54 บาทต่อหุ้น คิดเป็น 486 ล้านบาท โดยจะปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหุ้นเพื่อกำหนดสิทธิรับเงินปันผลในวันที่ 24 พฤศจิกายน 2563 และกำหนดจ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้นในวันที่ 4 ธันวาคมนี้

"PTL เล็งเห็นความต้องการใช้แผ่นฟิล์ม PET ที่เพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา จากความนิยมที่นำไปใช้อย่างแพร่หลายในบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารและบรรจุภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร เช่น ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและสุขอนามัย" นายอมิต ปรากาซ กรรมการผู้จัดการ บมจ.โพลีเพล็กซ์ (ประเทศไทย) หรือ PTL กล่าว

ส่วนแนวโน้มความต้องการแผ่นฟิล์ม PET แบบบางสำหรับบรรจุภัณฑ์ชนิดอ่อนในอุตสาหกรรมอาหารในเดือนตุลาคม-ธันวาคม 2563 คาดว่ายังเติบโตได้ดี เนื่องจากการระบาดของ COVID-19 ยังคงส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญในหลายประเทศ โดยเฉพาะในประเทศสหรัฐอเมริกาและในภาคพื้นยุโรป จึงมั่นใจว่า ด้วยขีดความสามารถด้านการผลิตของบริษัทฯ จะสามารถป้อนความต้องการใช้แผ่นฟิล์ม PET ในอุตสาหกรรมอาหารได้เป็นอย่างดี

"ผลการดำเนินงานทางการเงินของ PTL ในไตรมาส 2 ได้สะท้อนถึงสถานะที่แข็งแกร่งของ บริษัท ในฐานะผู้ผลิตฟิล์ม PET รายใหญ่อันดับ 5 ของโลก และการบริหารการผลิตแผ่นฟิล์มมาตรฐานและแผ่นฟิล์มชนิดพิเศษ เพื่อรับกับความต้องการที่มีอย่างต่อเนื่อง รวมถึงมีฐานลูกค้าที่มั่นคงและการให้ความสำคํญกับนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ จึงช่วยสนับสนุนการเติบโตได้ดี" นาย อมิต กล่าว

ส่วนภาพรวมในไตรมาส 3 รอบปีบัญชี 2563/64 (ตุลาคม-ธันวาคม 2563) บริษัทฯ ประเมินว่าความต้องการแผ่นฟิล์ม PET ชนิดบางยังถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมอาหารอย่างต่อเนื่อง จากความต้องการใช้บรรจุภัณฑ์ Flexible Packaging ที่เพิ่มขึ้น เหตุจากสถานการณ์ COVID-19 ในหลายประเทศยังมีการแพร่ระบาด COVID-19 โดยเฉพาะในประเทศสหรัฐอเมริกาและในภาคพื้นยุโรป จึงมั่นใจว่า ด้วยขีดความสามารถด้านการผลิตของบริษัทฯ จะสามารถป้อนความต้องการใช้แผ่นฟิล์ม PET ในอุตสาหกรรมอาหารได้เป็นอย่างดี

ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้ตอกย้ำการเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายแผ่นฟิล์ม PET ระดับแนวหน้าของโลก โดยลงทุนเพิ่มไลน์การผลิตแผ่นฟิล์ม BOPET ชนิดบาง โดยมีกำลังการผลิต 50,000 ตันต่อปี และขยายกำลังการผลิตเม็ดพลาสติก PET จาก 58,000 ตันต่อปี เป็น 86,000 ตันต่อปี ของโรงงานที่เมืองดีเคเตอร์ รัฐอลาบามา ประเทศสหรัฐอเมริกา ภายใต้งบการลงทุน 103 ล้านเหรียญสหรัฐ และคาดว่าจะเริ่มเปิดสายการผลิตได้อีกประมาณ 2 ปี นับจากนี้ รองรับความต้องการใช้แผ่นฟิล์ม PET ชนิดบางที่ถูกนำไปใช้ในบรรจุภัณฑ์ชนิดอ่อนตัวในภาคอุตสาหกรรมอาหารในตลาดสหรัฐอเมริกาที่มีแนวโน้มเติบโตทุกปี

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ