เคพีเอ็มจี ชี้ 'แนวคิด ESG' กุญแจรับมือโลกหลังโควิด-19

พุธ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๐๒๐ ๑๕:๔๔

เคพีเอ็มจี ประเทศไทย ชี้แนวโน้มด้านการลงทุนที่ให้ความสำคัญกับธุรกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม (Environment) สังคม (Social) และบรรษัทภิบาล (Governance) หรือ ESG ยังคงดำเนินต่อไปแม้จะมีวิกฤติโควิด-19 โดยการแพร่ระบาดของโควิด-19 กระตุ้นให้ ESG เป็นกลยุทธ์ทางธุรกิจที่ยกระดับความสำคัญขึ้นมาเป็นลำดับต้นๆ

ผลกระทบของโควิด-19 ได้เร่งให้องค์กรเกิดการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ในการนำดิจิทัล (Digital Transformation) และนวัตกรรม (Innovation) มาใช้ รวดเร็วยิ่งขึ้น ปรากฏการณ์นี้ทำให้เกิดการคาดการณ์ว่าบริษัทต่างๆ จะให้ความสำคัญกับการตอบสนองต่อภัยคุกคามอันเร่งด่วนมากขึ้น และจะลดลำดับความสำคัญของวาระการพัฒนาอย่างยั่งยืนลง อย่างไรก็ตาม แนวคิดการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน (ESG) ยังคงได้รับความสนใจและถูกนำมาประยุกต์ใช้

โควิด-19 ไม่ใช่ภัยคุกคามเพียงอย่างเดียวที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคม แต่ภาวะการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ก็เป็นอีกหนึ่งภัยคุกคามที่สำคัญในทศวรรษต่อๆ ไป ผลวิจัย KPMG 2020 CEO Outlook เผยว่า ซีอีโอทั่วโลกต้องการแก้ไขปัญหาภาวะการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศอย่างจริงจัง ซึ่งสะท้อนจากจำนวนของซีอีโอมากกว่าร้อยละ 65 ที่กล่าวว่า การจัดการความเสี่ยงนี้จะเป็นกุญแจสำคัญในการกำหนดความสำเร็จ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความสามารถในการรักษาตำแหน่งงานของพวกเขาไว้ในอีกห้าปีข้างหน้า และในอนาคต ซีอีโอต้องการสานต่อความเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างที่เกิดขึ้นในช่วงวิกฤตโควิด-19 เช่น การลดการเดินทางเพื่อธุรกิจให้น้อยลง โดยซีอีโอร้อยละ 71 มีความตั้งใจที่จะรักษาสภาพแวดล้อมและคงไว้ซึ่งเป็นผลจากการแพร่ระบาดของโควิด-19

ด้วยเหตุนี้ การมุ่งเน้นไปที่ความยั่งยืนของธุรกิจจึงไม่ใช่เพียงการพุ่งเป้าไปที่ภาวะการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมถึง ESG ในวงกว้างด้วย ผู้นำธุรกิจจึงกำลังใช้โอกาสนี้ในการประเมินจุดมุ่งหมายขององค์กร (Purpose) ใหม่ เนื่องจากพวกเขารู้สึกว่าจำเป็นต้องมีจุดยืนในประเด็นทางสังคมและการดำเนินการกับความท้าทายทางด้านสิ่งแวดล้อม

อีกหนึ่งผลวิจัยล่าสุดของเคพีเอ็มจี เผยให้เห็นว่าผู้นำธุรกิจของบริษัทชั้นนำในทวีปยุโรปหลายรายให้ความสำคัญกับ ESG ในเชิงกลยุทธ์และกล่าวว่าการแพร่ระบาดของโควิด-19 เป็นโอกาสสำคัญในการวาง ESG เป็นศูนย์กลางของกลยุทธ์ฟื้นฟูองค์กร โดยโควิด-19 ได้กระตุ้นให้เกิดการปรับปรุงการกำกับดูแล ESG ในบริษัทขนาดใหญ่ ตลอดจนให้ความเข้าใจที่เพิ่มขึ้นในแง่ความสำคัญของบทบาทของบริษัทและผลกระทบต่อสังคม ในขณะที่ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมยังคงเป็นประเด็นสำคัญ แต่ประเด็นทางสังคม เช่น ความปลอดภัย สุขภาพร่างกายและจิตใจ และความครอบคลุมทุกกลุ่มคนในสังคมก็กลายเป็นประเด็นใหม่ที่สำคัญด้วยเช่นกัน

เจริญ ผู้สัมฤทธิ์เลิศ ประธานกรรมการบริหาร เคพีเอ็มจี ประเทศไทย เมียนมาร์ และลาว กล่าวว่า "แนวโน้ม ESG ยังคงดำเนินต่อไปแม้จะมีวิกฤติโควิด-19 ดังนั้นธุรกิจต่างๆ จึงต้องคาดการณ์ถึงสภาวะโลกหลังโควิด-19 เพราะองค์กรจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหาวิธีในการสร้างความแตกต่างและแข่งขันในสนามธุรกิจท่ามกลางความปรกติใหม่ (New Normal)"

ในประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กำหนดให้มีการเปิดเผยนโยบายและกิจกรรมเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรตั้งแต่ปี 2557 ในขณะที่ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ได้ประกาศรายชื่อหุ้นยั่งยืน หรือ Thailand Sustainability Investment (THSI) ตั้งแต่ปี 2558 เพื่อเป็นแนวทางในการลงทุนในหุ้น ESG ที่เติบโตสูงและเพื่อสนับสนุนบริษัทไทยที่ยั่งยืน โดย ตลท. นิยามบริษัทที่ยั่งยืนว่าเป็นบริษัทที่มีการจัดการบริหารความเสี่ยง การจัดการห่วงโซ่อุปทาน และนวัตกรรม พร้อมทั้งรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล

ในปี 2561 ตลท. ได้จัดทำ ดัชนีความยั่งยืน หรือ SET THSI Index (SETTHSI) ขึ้นเป็นครั้งแรกในตลาดทุนไทย โดยเป็นดัชนีที่ใช้แสดงระดับและความเคลื่อนไหวของราคาหุ้นสามัญของบริษัทจดทะเบียนที่มีการดำเนินธุรกิจตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ท่ามกลางความกังวลด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล ธุรกิจต่างๆ ให้ความสำคัญกับวาระ ESG มากขึ้นโดยบูรณาการความยั่งยืนเข้ากับพันธกิจและกลยุทธ์ขององค์กรเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในปัจจุบัน บริษัทจดทะเบียนหลายแห่งในประเทศไทยเลือกใช้มาตรฐานการรายงานความยั่งยืน GRI Standards ในการรายงานผลกระทบด้านความยั่งยืนและอีกหลายแห่งเข้าร่วมเป็นสมาชิกดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ (DJSI)

"การรายงานข้อมูลผลการดำเนินงานด้าน ESG เป็นประโยชน์ต่อบริษัทในหลายด้าน เนื่องจากแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของผู้บริหารในการปรับปรุงการเปิดเผยข้อมูลต่อตลาดทุนและหน่วยงานกำกับดูแล โดยการรายงานข้อมูลประสิทธิภาพการดำเนินงานด้านความยั่งยืนที่น่าเชื่อถือจะทำให้บริษัทได้รับความเชื่อมั่นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ข้อมูลดังกล่าวยังสามารถใช้เทียบในแบบจำลองการให้คะแนนตามเกณฑ์มาตรฐานภายนอกและดัชนีความยั่งยืนต่างๆ เช่น GRI Standards ดัชนี THSI และดัชนี DJSI นอกจากนี้การรายงานและการวิเคราะห์ข้อมูลผลการดำเนินงานด้าน ESG ยังช่วยทำให้กลยุทธ์ของบริษัทมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น และช่วยให้เห็นสิ่งที่ต้องพัฒนาเพื่อการเติบโตของธุรกิจ" พอล ฟลิปส์ หัวหน้าฝ่ายความยั่งยืน เคพีเอ็มจี ประเทศไทย กล่าว

ผู้ลงทุนสถาบันรายใหญ่กำลังมุ่งหน้าสู่แนวโน้มธุรกิจรักษ์โลกภายใต้แรงกดดันที่เพิ่มขึ้นในการผนวก ESG เข้ากับการตัดสินใจลงทุน เนื่องจากเป็นหนึ่งในเกณฑ์ที่ช่วยกำหนดผลการดำเนินงานของธุรกิจในระยะยาว และเพื่อตอบสนองต่อความต้องการที่เพิ่มขึ้นจากทั้งผู้ออกตราสารหนี้และนักลงทุน บริษัทต่างๆ มีความกระตือรือร้นมากขึ้นในการออกตราสารหนี้เพื่อความยั่งยื่น (ESG Bonds) และตราสารหนี้สีเขียว (Green Bonds) เพื่อให้การสนับสนุนโครงการด้านสิ่งแวดล้อม และจนถึงขณะนี้ การออกตราสารหนี้เหล่านี้ล้วนแล้วแต่ประสบความสำเร็จ

ความตระหนักรู้ถึงผลกระทบทางสังคมขององค์กรเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากโควิด-19 เป็นวิกฤตการณ์ที่มี 'คน' เป็นศูนย์กลาง โดยวิกฤติครั้งนี้ได้เปลี่ยนวิธีการใช้ชีวิตและการทำงานของเราไปอย่างสิ้นเชิง ดังนั้นผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมของธุรกิจจึงจะทวีความสำคัญมากยิ่งขึ้นภายหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 ผ่านพ้นไป และโควิด-19 จะเร่งให้เกิดการตรวจสอบข้อเท็จจริงต่อสาธารณะเกี่ยวกับบทบาทขององค์กรต่างๆ ในสังคม

"ในโลกหลังโควิด-19 ที่สาธารณชนต้องการให้ธุรกิจต่างๆ เพิ่มบทบาทในการจัดการและรับมือกับความท้าทายทางสังคม ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเร่งผลักดันให้มีความโปร่งใสเพิ่มมากขึ้น และหน่วยงานกำกับดูแลให้ความสำคัญกับการกำกับดูแลกิจการด้าน ESG มากยิ่งขึ้น ผู้นำธุรกิจจำเป็นต้องเสริมสร้างมุมมองในระยะยาวเกี่ยวกับผลกระทบขององค์กรที่มีต่อสังคมและชุมชนของตน เพื่อให้องค์กรสามารถนำนโยบาย ESG และความตั้งใจดี ไปสู่การลงมือปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม เพื่อให้องค์กรเติบโตท่ามกลางความเป็นจริงใหม่ (New Reality) ได้อย่างยั่งยืน" เจริญ กล่าวสรุป

เกี่ยวกับเคพีเอ็มจี

เคพีเอ็มจี เป็นเครือข่ายระดับโลกของบริษัทผู้เชี่ยวชาญด้านการสอบบัญชีและการให้ความเชื่อมั่นอื่น ภาษี กฎหมาย และให้คำปรึกษาทางธุรกิจ เราดำเนินธุรกิจใน 147 ประเทศ และมีพนักงานมากกว่า 219,000 คน ที่ทำงานร่วมกันในเครือข่ายสมาชิกทั่วโลก เคพีเอ็มจีในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกดำเนินธุรกิจใน 20 ประเทศและมีพนักงานมากกว่า 46,000 คน

เกี่ยวกับ เคพีเอ็มจี ประเทศไทย

เคพีเอ็มจี ประเทศไทย เป็นสมาชิกของ เคพีเอ็มจี อินเตอร์เนชั่นแนล ที่มีเครือข่ายทั่วโลก ซึ่งให้บริการด้านการสอบบัญชีและการให้ความเชื่อมั่นอื่น ภาษี กฎหมายและให้คำปรึกษาทางธุรกิจ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version