กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ร่วมกับ สมาคมนักเขียนบทละครโทรทัศน์ จัดพิธีมอบรางวัล บทละครโทรทัศน์ดีเด่น "เล่าเรื่องเป็นละคร ปีที่ 2"

พฤหัส ๑๒ พฤศจิกายน ๒๐๒๐ ๑๑:๐๔

โครงการ "เล่าเรื่องเป็นละคร ปี 2" สร้างนวลักษณ์เกิดเป็นนวัตกรรมใหม่ประดับวงการบันเทิงไทย ละครโทรทัศน์, วรรณกรรม และ สื่อสร้างสรรค์ สืบสานเรื่องราว สื่อสารเรื่องเล่า ส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรในท้องถิ่น ระยะทางกว่า 1,000 กิโล จากชลบุรี ถึงหาดใหญ่ ระยะเวลา กว่า 120 วัน เกิดเป็น 10 สุดยอดผลงาน บทละครโทรทัศน์หลากลีลา, สีสันและอรรถรส และวันนี้ คือวันเริ่มต้นผลิดอกออกผล บนเส้นทางนักเขียน สู่บทบาทคนเขียนบทละครโทรทัศน์มืออาชีพ

กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ร่วมกับสมาคมนักเขียนบทละครโทรทัศน์ ได้จัดกิจกรรมส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมการผลิตสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ผ่านการจัดกิจกรรมเล่าเรื่องเป็นละคร ปีที่ 2 ภาคใต้และภาคตะวันออก

ดร.ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ กล่าวว่า "กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ มีพันธกิจในการส่งเสริม สนับสนุนภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนในการผลิตและพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึง เข้าใจ และใช้ประโยชน์จากสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์อย่างทั่วถึง สร้างการมีส่วนทั้งภาครัฐ เอกชน ประชาชน กลุ่มองค์กรพัฒนาเอกชนเป็นสื่อกลางเชื่อมนักวิชาการและนักวิชาชีพโดยสร้างรูปแบบการปฏิบัติงานร่วมกันเพื่อให้เกิดเนื้อหาของสื่อที่จะนำไปใช้ในการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืน จากสภาพการณ์ในสังคมปัจจุบัน ละครโทรทัศน์กลายเป็นวัฒนธรรมประชานิยม (popular culture) ที่สามารถเข้าถึงกลุ่มมวลชนคนกลุ่มใหญ่ของสังคม จนเกิดแนวคิดการผลิตสินค้าทางวัฒนธรรม ภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจบนพื้นฐานของการใช้องค์ความรู้การศึกษา การสร้างสรรค์งาน และการใช้ทรัพย์สินทางปัญญา ที่เชื่อมโยงกับรากฐานทางวัฒนธรรม เพื่อผลิตชิ้นงานสื่อที่สร้าง "มูลค่าทางเศรษฐกิจ" และ "คุณค่าทางสังคม" ซึ่งตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคทั้งในตลาดภายในประเทศและสามารถต่อยอดไปในตลาดโลกได้

บทละครโทรทัศน์นับเป็นหัวใจสำคัญของการถ่ายทอดข้อมูลความคิด อารมณ์ และความรู้สึกที่จะกระทบต่อทัศนคติและสุนทรียะของผู้ชม ดังนั้นกระบวนการของการสร้างแนวความคิดที่จะนำไปสู่ลำดับขั้นของการเขียนเพื่อสร้างสรรค์เป็นบทละครโทรทัศน์ จึงเป็นกลไกสำคัญที่จะช่วยพัฒนานักผลิตสื่อ หรือนักเขียนให้เรียนรู้ที่จะออกแบบวิธีการคิดที่จะนำไปสู่การสร้างสรรค์บทละครโทรทัศน์ที่แตกต่างจากเดิม และสามารถสร้างสรรค์ชิ้นงานสื่อที่มีเนื้อหาหลากหลายได้อย่างไม่มีขีดจำกัด ด้วยเหตุนี้ การสร้างนวัตกรรมด้านเนื้อหาที่มีคุณภาพ มีความสอดคล้องกับทิศทางการส่งเสริมเศรษฐกิจวัฒนธรรม และสามารถนำองค์ความรู้หรือกระบวนการขั้นตอนของวิธีคิดในการสร้างนักเขียนบทละครโทรทัศน์ นำไปสู่การพัฒนาทักษะวิธีคิดของบุคคลากรในกลุ่มของนักวิชาชีพผู้ผลิตสื่อ จึงเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนพลังความคิดของคนผลิตสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

ดังนั้น กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ได้มีแผนการสร้างพื้นที่ของเนื้อหาโดยผ่านสื่อบุคคลที่เป็นนักคิดนักเขียนที่เรียกว่าเป็นผู้ผลิตสื่อกับผู้ที่ออกแบบหลักสูตรกระบวนการอบรมไปพร้อม ๆ กัน เพื่อสร้างคนให้มีหลักคิดให้มีแนวทางในการผลิตและสร้างสรรค์สื่อที่มีชั้นเชิงของความคิดสร้างสรรค์ในการสื่อสารกับสังคม กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ จึงร่วมกับสมาคมนักเขียนบทละครโทรทัศน์ จัดกิจกรรมส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมการผลิตสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ผ่านการจัดกิจกรรมเล่าเรื่องเป็นละคร ปีที่ 1 ในภาคเหนือและภาพตะวันออกเฉียงเหนือ เมื่อปี 2562 ที่ผ่านมา ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี และจัดกิจกรรมต่อเนื่องในโครงการ เล่าเรื่องเป็นละคร ปีที่ 2 ภาคใต้และภาคตะวันออก" โดยมอบรางวัลให้กับผู้ที่ผ่านการคัดเลือกจำนวน 10 คน ในพิธีมอบรางวัล บทละครโทรทัศน์ดีเด่น "เล่าเรื่องเป็นละคร ปีที่ 2 "

อาจารย์ ศัลยา สุขะนิวัตติ์ นายกสมาคมนักเขียนบทละครโทรทัศน์ กล่าวว่าโครงการ เล่าเรื่องเป็นละคร ปีที่ 2 ภาคใต้และภาคตะวันออก เป็นหนึ่งโครงการดีๆที่ สมาคมนักเขียนบทละครโทรทัศน์ร่วมกับกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ได้ร่วมกันสร้างขึ้น เพราะเล็งเห็นว่าการสื่อสารในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยและความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ซึ่งมีส่วนทำให้รูปแบบของการเสพสื่อของคนยุคใหม่ต่างออกไปจากเดิม โดยสิ่งสำคัญที่จะทำให้ผู้ผลิตสื่ออยู่รอดได้นั้นก็คือ "เนื้อหา" ที่ไม่ใช่เพียงแค่เน้นปริมาณ แต่ควรนำเสนอเนื้อหาที่มีคุณภาพเป็นหลัก โดยการสร้างนวัตกรรมการเล่าเรื่องเพื่อพัฒนาเนื้อหาในละครโทรทัศน์นอกจากจะต้องเป็นที่จดจำและน่าติดตามแล้วยังจะต้องปลอดภัยและสร้างสรรค์ต่อผู้ชมเพื่อพัฒนาและเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นควบคู่กันไปด้วย

โครงการ "เล่าเรื่องเป็นละคร" เป็นสื่อกลางในการเชื่อมนักวิชาการและนักวิชาชีพ ให้สามารถสร้างรูปแบบการทำงานร่วมกัน เพื่อให้เกิดนวัตกรรมการเล่าเรื่องที่จะนำไปใช้ในการสื่อสารให้มีประสิทธิภาพและสร้างพลังบวกแก่สังคม เปิดมุมมองต่อกระบวนการทางความคิด และสร้างนวัตกรรมด้านเนื้อหาในบทละครโทรทัศน์จากเรื่องเล่าในท้องถิ่น จึงเป็นที่มาของการลงพื้นที่หาผู้คนในท้องถิ่นเพื่อรับฟังมุมมอง ด้วยแนวคิดว่า หากหาเรื่องเล่าจากท้องถิ่นและนำมาผูกเรื่องได้จะเกิดเนื้อหาที่มีคุณภาพดี โดยปีนี้ก็เป็นปีที่ 2 ของการจัดโครงการ โดยในปีแรกได้ไปเดินสายอบรมนักเขียนในท้องถิ่นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ ส่วนในปีนี้ได้เดินสายอบรมไปที่ภาคตะวันออกและภาคใต้ ซึ่งได้มีการอบรม พร้อมคัดเลือกผู้เข้ารอบจนได้ผู้ผ่านการคัดเลือกภาคละ 5 ท่าน ที่จะมารับมอบรางวัลกันในวันนี้ แต่ละผลงานก็มีความโดดเด่น ในแบบของตัวเอง และยังสามารถถ่ายทอดเรื่องราวในท้องถิ่นของตนเองออกมาได้เป็นอย่างดี ตามคอนเซ็ปต์งาน "ล้านเรื่องเล่า จากเรื่องราวในท้องถิ่น"

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๕๐ รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๑๖:๑๔ ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๑๖:๑๓ Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๑๖:๑๐ ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๑๖:๕๒ โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๑๕:๒๖ กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๑๕:๐๑ สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๑๕:๒๙ 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๑๕:๐๘ โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๑๕:๕๒ electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version