ไรส์ (RISE) สถาบันเร่งสปีดนวัตกรรมองค์กร สตาร์ทอัพสัญชาติไทยผู้นำด้านการสร้างนวัตกรรมองค์กร เผยบริษัทในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีการทำและให้ความสำคัญกับนวัตกรรมองค์กร แต่กว่า 91% เผชิญความท้าทายในการผลักดันนวัตกรรมองค์กรให้บรรลุเป้าหมาย รวมถึงไม่สามารถสเกลหรือขยายผลในการทำนวัตกรรมต่อไปได้ ส่งผลให้หลายองค์กรไม่ทราบว่าควรจะทำอย่างไรกับการสร้างนวัตกรรมองค์กร หรือมุ่งหน้าไปทางใดในเส้นทางการสร้างนวัตกรรม (Innovation journey) ด้วยประสบการณ์การทำงานด้านนวัตกรรมองค์กรอย่างใกล้ชิดกับธุรกิจขนาดใหญ่จากหลากหลายอุตสาหกรรม RISE คิดค้นโมเดลวัดระดับนวัตกรรมองค์กร ซึ่งประกอบไปด้วยระดับในการสร้างนวัตกรรมองค์กร 5 ระดับ ได้แก่ ระดับเริ่มต้น (Newcomer) ระดับสำรวจ (Explorer) ระดับท้าทาย (Challenger) ระดับเชี่ยวชาญ (Practitioner) และระดับแชมเปี้ยน (Champion) เพื่อเป็นแนวทางแก่องค์กรในการพัฒนาความสามารถในการสร้างนวัตกรรม พร้อมแนะ 6 ปัจจัยสำคัญเกี่ยวกับบุคลากรและเทคโนโลยีที่เป็นตัวชี้วัดระดับนวัตกรรมองค์กร เพื่อใช้เป็นเครื่องมือช่วยองค์กรในการเร่งสปีด นวัตกรรมให้ประสบความสำเร็จแบบก้าวกระโดด ซึ่งจากการศึกษาองค์กร 400 แห่งทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบว่ากว่า 46% มีการสร้างนวัตกรรมองค์กรในระดับสำรวจ (Explorer) และกว่า 28% อยู่ในระดับท้าทาย (Challenger) ซึ่งแสดงให้เห็นว่า แม้ว่าองค์กรส่วนใหญ่จะรู้ถึงความสำคัญในการสร้างนวัตกรรมองค์กร แต่ยังเผชิญกับความท้าทายในการลงมือทำและปรับใช้กลยุทธ์ที่ก่อให้เกิดการสร้างนวัตกรรมพร้อมผลลัพธ์ที่ชัดเจนอย่างแท้จริง พร้อมกันนี้ เพื่อแนะนำโมเดลวัดระดับนวัตกรรมองค์กรเป็นครั้งแรก และเปิดเผยทิศทางการเร่งสปีดนวัตกรรมสำหรับปี 2564 RISE จะจัดงาน "RISE Rethink" ในวันที่ 13 พฤศจิกายนนี้ ที่ The Society, Gaysorn Tower ชั้น 22 ผู้สนใจเข้าร่วมงาน สามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมและลงทะเบียนเพื่อเข้าร่วมงานได้ที่ https://bit.ly/RegisterRISERethink-news
นายแพทย์ศุภชัย ปาจริยานนท์ หรือ หมอคิด ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้ง RISE เปิดเผยว่า จากการทำงานอย่างใกล้ชิดเพื่อช่วยองค์กรเร่งสปีดในการสร้างนวัตกรรมมากว่า 4 ปี พบองค์กรส่วนใหญ่ 83% ตระหนักรู้ ถึงความสำคัญของการสร้างนวัตกรรมองค์กร อย่างไรก็ตาม หลายองค์กรยังต้องเผชิญกับความท้าทายตลอดเส้นทางการสร้างนวัตกรรม (Innovation journey) เนื่องจากการสร้างนวัตกรรมเป็นเส้นทางที่ใช้เวลายาวนาน และมีความแตกต่างกันในแต่ละธุรกิจ อีกทั้งในแต่ละองค์กรก็มีทรัพยากรไม่เหมือนกัน โดย 91% ของบริษัทในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีการทำนวัตกรรมองค์กร แต่ส่วนใหญ่ยังเจอความท้าทายในด้านการเห็นผลลัพธ์ที่ชัดเจนของการทำนวัตกรรมองค์กร และปัญหาที่ไม่สามารถสเกลหรือขยายนวัตกรรมให้ไปในระดับที่ใหญ่ต่อไปได้ จึงทำให้ไม่มั่นใจว่า ควรมุ่งไปทางไหนต่อ เพื่อไปถึงเป้าหมายด้านนวัตกรรมที่องค์กรได้วางไว้
"RISE ต้องการช่วยให้องค์กรสามารถเร่งสปีดการสร้างนวัตกรรมได้ตามเป้าหมาย เห็นผลลัพธ์ชัดเจน และตอบโจทย์ทางธุรกิจอย่างยั่งยืน เราจึงได้พัฒนา 'โมเดลวัดระดับนวัตกรรมองค์กร' หรือ 'Corporate Innovation Maturity Model' (CIMM) เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการวัดว่าองค์กรต่าง ๆ มีการทำนวัตกรรมองค์กรอยู่ในระดับใด เพื่อช่วยให้สามารถกำหนดแผนงานและวางแนวทางในการขับเคลื่อนนวัตกรรมองค์กรไปในทิศทางที่ถูกต้อง โดยเราได้แบ่งระดับของการสร้างนวัตกรรมองค์กรเป็น 5 ระดับ คือ ระดับเริ่มต้น (Newcomer) ระดับสำรวจ (Explorer) ระดับท้าทาย (Challenger) ระดับเชี่ยวชาญ (Practitioner) และระดับแชมเปี้ยน (Champion)" หมอคิดกล่าว
ระดับเริ่มต้น หรือ Newcomer คือ องค์กรตระหนักว่านวัตกรรมนั้นสำคัญ และมีความจำเป็นต่อการดำเนินธุรกิจ แต่ยังไม่มีแผนงานหรือเป้าหมายด้านนวัตกรรม ระดับสำรวจ หรือ Explorer คือ องค์กรที่มีแผนด้านนวัตกรรมองค์กรแล้ว แต่ไม่ได้มีการเตรียมความพร้อมในด้านกระบวนการทางความคิด หรือ Mindset และชุดทักษะที่ใช้ในการสร้างนวัตกรรมให้กับบุคลากร ระดับท้าทาย หรือ Challenger คือ องค์กรที่มีแผนและบุคลากรที่มี Mindset ที่พร้อมสำหรับการสร้างนวัตกรรมองค์กรแล้ว แต่ยังขาดชุดทักษะในการสร้างนวัตกรรมองค์กรขึ้นมาให้เห็นผลลัพธ์จริง ระดับเชี่ยวชาญ หรือ Practitioner คือ องค์กรที่สามารถสร้างนวัตกรรมองค์กรได้แล้ว แต่ยังไม่ได้ผลลัพธ์หรือผลตอบแทนทางธุรกิจอย่างชัดเจน และระดับแชมเปี้ยน หรือ Champion คือ องค์กรที่ประสบความสำเร็จในการสร้างนวัตกรรมและมีผลลัพธ์จากการสร้างนวัตกรรมเป็นรูปธรรม ซึ่งควรสร้างความยั่งยืนของธุรกิจใหม่ที่เกิดขึ้นจากนวัตกรรมนั้น
จากการศึกษากับองค์กรกว่า 400 แห่งทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบกว่า 46% มีการสร้างนวัตกรรมองค์กรอยู่ในระดับสำรวจ (Explorer) และกว่า 28% อยู่ในระดับท้าทาย (Challenger) ซึ่งข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เป็นว่าองค์กรส่วนใหญ่แม้จะรู้ถึงความสำคัญและความจำเป็นในการสร้างนวัตกรรมองค์กร แต่ยังเผชิญกับความท้าทายในการลงมือทำและปรับใช้กลยุทธ์ที่ก่อให้เกิดนวัตกรรมที่ให้ผลลัพธ์ที่ชัดเจนอย่างแท้จริง โดย RISE แนะนำถึงปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อระดับนวัตกรรมองค์กรคือ บุคลากร และเทคโนโลยี เพื่อใช้เป็นเครื่องมือช่วยองค์กรในการสร้างนวัตกรรมองค์กรให้ประสบความสำเร็จแบบก้าวกระโดด โดยด้านของบุคลากร ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ คือ ความพร้อมของผู้นำ (Leadership) ศักยภาพของทีมงาน (Team Capability) และกระบวนการภายในองค์กร (Organizational Process) ด้านเทคโนโลยี ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ คือ ระบบนิเวศน์ (Ecosystem) เครื่องมือ (Tools) และข้อมูล (Data) ซึ่งเป็นตัวชี้วัดระดับการเติบโตของนวัตกรรมองค์กร
"นวัตกรรมองค์กรที่ประสบความสำเร็จ จะนำองค์กรไปสู่การมีผลิตภัณฑ์ การบริการ และธุรกิจใหม่ ๆ ที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจ นับว่านวัตกรรมองค์กรเป็นสิ่งที่องค์กรต้องให้ความสำคัญเป็นอันดับต้น ๆ โดยเฉพาะในยุคดิจิทัลดิสรัปชัน RISE มุ่งมั่นที่จะเป็นส่วนสำคัญในการช่วยองค์กร ด้วยการนำโมเดลวัดระดับนวัตกรรมองค์กรพาองค์กรไปสู่เส้นทางการสร้างนวัตกรรมที่ถูกต้องและเหมาะสมกับระดับการเติบโตของแต่ละองค์กร เพื่อยกระดับการแข่งขันสู่ระดับภูมิภาคและสร้างความเติบโตให้องค์กรอย่างยั่งยืน" หมอคิดกล่าวทิ้งท้าย
ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเปิดตัวโมเดลการเติบโตของการสร้างนวัตกรรมองค์กร RISE จัดงาน "RISE Rethink" พร้อมให้ข้อมูลเกี่ยวกับทิศทางการเร่งสปีดนวัตกรรมในปี 2564 ในวันที่ 13 พฤศจิกายน 2563 ที่ The Society, Gaysorn Tower ชั้น 22 สนใจเข้าร่วมพัฒนาเร่งสปีดการสร้างนวัตกรรมองค์กรโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย สามารถขอเข้าร่วมงานดังกล่าวได้ที่ https://bit.ly/RegisterRISERethink-news
เกี่ยวกับไรส์
RISE สถาบันเร่งสปีดนวัตกรรมองค์กร มีภารกิจหลัก คือการเพิ่ม 1% ผลิตภัณฑ์มวลรวม (Gross Domestic Product) ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ RISE ทำงานร่วมกับองค์กรต่าง ๆ และหน่วยงานภาครัฐ เพื่อเร่งสปีดนวัตกรรมองค์กรผ่านแพลตฟอร์มที่ RISE ออกแบบมาเพื่อให้องค์กรประสบความสำเร็จในการสร้างนวัตกรรม อาทิ เช่น ศูนย์เร่งสปีดนวัตกรรมให้องค์กร (Corporate Accelerator), มหาวิทยาลัยผู้ประกอบการในองค์กร (Intrapreneur University), บริการสร้างธุรกิจใหม่ (Venture Building Services) และงานสัมมนานวัตกรรมองค์กรที่เน้นการลงมือทำจริงที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย (Corporate Innovation Summit : CIS - Asia's Largest Experiential Conference) เป็นต้น
4 ปีที่ผ่านมา RISE ได้สร้างระบบนิเวศน์ด้านนวัตกรรมองค์กรผ่านเครือข่ายทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นองค์กรชั้นนำกว่า 400 แห่งในเอเชีย สตาร์ทอัพกว่า 2,000 ราย และคอมมูนิตี้ด้านนวัตกรรมในอีก 40 ประเทศทั่วโลก ภายในเวลา 4 ปี RISE ได้สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์มวลรวมกว่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ เทียบเท่าการจ้างงานเพิ่มกว่าแสนตำแหน่งให้เอเชียตะวันออกเฉียงใต้