กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ จัดเวทีส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน ครั้งที่ 3 ภาคอีสาน

จันทร์ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๐๒๐ ๑๔:๓๙

เพื่อส่งเสริมให้ประชาชน 5 ภูมิภาค ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาทักษะการรู้เท่าทันสื่อและผลิตสื่อที่ปลอดภัยและสร้างสรรค์เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง ชุมชน และสังคม "กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์" นำโดย รศ.ดร. พนา ทองมีอาคม ประธานอนุกรรมการเกี่ยวกับการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน เปิดเวทีให้นักศึกษาและประชาชนทั่วไปที่สนใจได้มีส่วนร่วมกับกิจกรรมในครั้งนี้ ภายใต้แนวคิด "TMF Power Fusion กองทุนสร้างสรรค์สื่อ สื่อสร้างสรรค์สังคม" โดยมี เกริกชัย ผ่องแผ้ว รองผู้ว่าราชการอุบลราชธานี พร้อมด้วย ดร.ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์, นายสมชาย เจริญอำนวยสุข รองประธานอนุกรรมการเกี่ยวกับส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน, นางสาวลัดดา ตั้งสุภาชัย ประธานอนุกรรมการเกี่ยวกับการเฝ้าระวังสื่อที่ไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์ และ ผศ.ดร. วรัชญ์ ครุจิต ประธานอนุกรรมการส่งเสริมสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เข้าร่วมงาน เมื่อเร็ว ๆ นี้ (วันที่ 13 พ.ย. ณ โรงแรมสุนีย์แกรนด์ อำเภอเมือง จ.อุบลราชธานี)

นายเกริกชัย ผ่องแผ้ว รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี รู้สึกมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้เป็นจังหวัดที่เป็นเจ้าภาพในการจัดงานในครั้งนี้ ในการจัดเวทีในครั้งนี้ จังหวัดอุบลราชธานีถือว่าเป็นจังหวัดขนาดใหญ่ ถ้าพูดถึงประชากรถือว่าเป็นอันดับ 3 ของประเทศ ในขณะเดียวกันเป็นศูนย์รวมด้านอินโดจีนฝั่งตะวันออก ฉะนั้นการรับสื่อนอกจากในประเทศแล้ว เรายังรับสื่อจากลาวและกัมพูชาด้วย เพราะฉะนั้นความหลากหลายจะเยอะ ในพื้นที่ทั้งหมด 2,880 หมู่บ้านทั้งหมด การรับรู้ผ่านสื่อได้ครอบคลุมทุกช่องทาง

ทั้งนี้จังหวัดอุบลราชธานี ถือเป็นแหล่งรวมวัฒนธรรม ถือเป็นจังหวัดที่วัดมากที่สุดอันดับ 2 ของประเทศ เรามีวัฒนธรรมประเพณีที่หลากหลาย เราจึงคำนึงการสร้างความปลอดภัยและการมีส่วนร่วมในการสร้างสื่อที่ปลอดภัยและสร้างสรรค์ ทั้งในจังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดรอบข้าง ทั้งนี้ เพื่อจะเก็บเกี่ยวความรู้และประสบการณ์ เพื่อสร้างสรรค์สื่อที่สามารถใช้ได้ในชีวิตประจำวัน เพื่อนำไปพัฒนาสื่อที่ดีและสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

รศ.ดร.พนา ทองมีอาคม ประธานอนุกรรมการเกี่ยวกับการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน

งานวันนี้ถือว่าจัดขึ้นเพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมกับกองทุนสื่อฯ มีโอกาสร่วมแสดงความคิดเห็นและวางแผนกับกองทุนสื่อฯ เพื่อให้ประสานความร่วมมือในครั้งนี้เกิดประโยชน์ โดยการสร้างภาคีเครือข่าย การเฝ้าระวังและรู้เท่าทันสื่อ ให้มีความหลากหลายมากขึ้น สร้างนวัตกรรมที่มีประโยชน์ต่อการดำเนินงาน โดยภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมเป็นเจ้าของร่วมกัน

กิจกรรมครั้งนี้จัดเพื่อให้ผู้ที่มีเจตนารมณ์และมีศักยภาพ มาร่วมแสดงความคิดเห็นและสร้างการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ร่วมเผยแพร่แนวคิดของการสร้างสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ สร้างการทำงานร่วมกัน รวมไปถึงการให้ข้อเสนอแนะ ให้ความร่วมมือ และเสริมอำนาจแก่ประชาชน นับจากนี้ไปเราเชื่อว่าจะมีผู้ที่สนใจมาร่วมกับกองทุนสื่อมากขึ้น เราถือว่าท่านเป็นเครือข่ายของกองทุนแล้ว เราเชื่อว่าทุกท่านต้องการให้เกิดสื่อที่ดี และมีนิเวศสื่อที่ดีอย่างยั่งยืน

ดร.ธนกร ศรีสุกใส ผู้จัดการกองทุนสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
ทุกคนมีสื่ออยู่ในมือ เราเรียนรู้โลกผ่านสื่อ สื่อก็เสมือนเป็นตัวกลางสัญญะความหมายจากที่หนึ่งไปสู่ที่หนึ่ง แต่ตอนนี้รูปแบบการสื่อสารมันถูกเปลี่ยนไปแล้ว ทุกคนเป็นสื่อได้ ถ่ายรูปและโพสต์ไปได้ในทุกๆ แพลตฟอร์มทันที เราใช้ Facebook มากที่สุดในประเทศไทย แต่เราเป็นคนผลิตสื่อที่ดีหรือไม่? ทุกคนเริ่มไม่แน่ใจใช่ไหมครับ? ในสมัยก่อนเราจะถูกสอนมาว่าเราต้องเรียนรู้เรื่องสื่อ กว่าจะออกมาผลิตได้ แต่ทุกวันนี้เราถูกว่ากล่าวจากใครก็ไม่รู้ ฉะนั้นสื่อมีผลกระทบต่อชีวิตประจำวันอย่างแท้จริง

ท้ายสุด รศ.ดร. พนา ทองมีอาคม กล่าวว่า "ท่ามกลางเทคโนโลยีการสื่อสารที่มีพัฒนาการอย่างก้าวกระโดดส่งผลให้เกิดความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมทั่วโลก ในขณะเดียวกันเทคโนโลยีดังกล่าวก็ส่งผลกระทบต่อการรับสื่อของประชาชนที่จะต้องเสพข้อมูลข่าวสารทั้งด้านสาระและบันเทิงอย่างมหาศาลและรวดเร็ว ก่อให้เกิดปัญหาการแพร่ระบาดของข่าวปลอม (Fake news) การกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ (Cyberbullying) รวมทั้งการใช้วาจาที่ไม่เหมาะสมในอินเทอร์เน็ต (Hate speech) โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำเสนอความรุนแรงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทำให้ผู้เสพสื่อ โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนเกิดการรับรู้ที่ผิดไปจากความเป็นจริง ฉะนั้นผู้เสพสื่อ หรือผู้รับสื่อโดยเฉพาะกับเด็กและเยาวชนจึงจำเป็นต้องมีองค์ความรู้และทักษะในการรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล เพื่อให้ตนเองมีวิจารณญาณในการรู้เท่าทันสื่อ และนำองค์ความรู้เหล่านั้นไปใช้ในชีวิตประจำวัน ให้พวกเขาสามารถปฏิเสธสื่อที่ไม่ดี และเลือกรับสื่อที่ดี ที่ปลอดภัยและสร้างสรรค์ได้

ด้วยเหตุนี้ กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์จึงพร้อมจะผลักดัน เผยแพร่ความรู้และแนวคิดด้านสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ การรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล รวมถึงพร้อมที่จะสนับสนุนผู้ผลิตสื่อที่ดี สื่อที่ปลอดภัยและสร้างสรรค์ ซึ่งทำประโยชน์เพื่อสังคมอย่างแท้จริง ดังนั้น โครงการจัดเวทีส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน 5 ภูมิภาคในครั้งนี้ จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ในการขับเคลื่อนสังคมสู่การพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ โดยอาศัยการมีส่วนร่วมของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และประชาชนในทุกภาคส่วน เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนให้เกิดนิเวศสื่อที่ดี ที่ปลอดภัยและสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน ปลอดภัยและสร้างสรรค์ร่วมกันครับ"

ด้านรายละเอียดภายในงานครั้งนี้มีกิจกรรม TMF Talks ในหัวข้อ "การบูรณาการแผนพัฒนาด้านการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ระยะที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๖๓ - ๒๕๖๕)" โดย ดร.ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ และมีเวทีเสวนาวิชาการ การสร้างสื่ออย่างสร้างสรรค์ด้านพลังการมีส่วนร่วม ในหัวข้อ TMF Power Fusion กองทุนสร้างสรรค์สื่อ สื่อสร้างสรรค์สังคม ผู้ร่วมเสวนา ได้แก่ นายสมชาย เจริญอำนวยสุข รองประธานอนุกรรมการเกี่ยวกับส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน, นางสาวลัดดา ตั้งสุภาชัย ประธานอนุกรรมการเกี่ยวกับการเฝ้าระวังสื่อที่ไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์ และ ผศ.ดร. วรัชญ์ ครุจิต ประธานอนุกรรมการส่งเสริมสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ หลังจากนั้นต่อด้วยการอบรมเชิงปฏิบัติการ และประชุมระดมสมองแบ่งห้องย่อย ดังนี้ ห้องที่หนึ่ง : เฝ้าระวังสื่อที่ไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์ และ การรู้เท่าทันสื่อ ห้องที่สอง : การส่งเสริมสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ และ การเรียนรู้ (Media Lab) ห้องที่สาม : อบรมเชิงปฏิบัติการ จัดทำฐานข้อมูลเครือข่ายการทำงานด้านสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์และด้านการรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล สำหรับทุกกลุ่มประชากร

เวที TMF Power Fusion กองทุนสร้างสรรค์สื่อ สื่อสร้างสรรค์สังคม จะสัญจรต่อเนื่องไปอีก 2 ครั้ง ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนเพื่อเข้าร่วมกิจกรรม ฟรี !!!

ครั้งที่ 4 วันศุกร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 ณ โรงแรมบางแสนเฮอริเทจ จ.ชลบุรี
ครั้งที่ 5 วันพุธที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2563 ณ โรงแรมมิราเคิลแกรนด์คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version