วิศวะมหิดล ผนึกความร่วมมือ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ร่วมวิจัยและพัฒนานวัตกรรม...รองรับโลกอนาคต

พฤหัส ๒๖ พฤศจิกายน ๒๐๒๐ ๑๑:๕๐

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดี พร้อมด้วยผู้บริหาร คณาจารย์ ผนึกความร่วมมือกับ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล นำโดย รศ.นพ.รัฐพล ตวงทอง รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และ รศ.นพ.ก้องเขต เหรียญสุวรรณ รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร ในโอกาสมาเยี่ยมชมและขับเคลื่อนแนวทางพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมรองรับโลกอนาคต เพื่อให้เกิดความรู้ที่หลากหลายและต่อยอดนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมเศรษฐกิจไทยและประชาคมโลก ณ ศูนย์บ่มเพาะและสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรม Innogineer Maker Studio คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

ทั้งนี้ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้นำเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการที่ก้าวหน้าทันสมัยและ Eco-System ต่าง ๆที่สนับสนุนการพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 การศึกษาและวิจัยบูรณาการที่ตอบโจทย์ใช้ประโยชน์ได้จริง อาทิ Innogineer Maker Studio ศูนย์บ่มเพาะและสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรม เปรียบเสมือนเวิร์คช็อป ครบครันเครื่องมือไฮเทคที่เปิดโอกาสให้เมคเกอร์และเอสเอ็มอีสามารถเข้ามาทำโปรเจคต่าง ๆ บ่มเพาะสตาร์ทอัพ สร้างชิ้นงานและต้นแบบจากความคิดสร้างสรรค์ สานความฝันสู่ความเป็นจริงและกิจกรรมอื่น ๆ อีกมากมาย , BART LAB ศูนย์เครือข่ายวิจัยประยุกต์ทางเทคโนโลยีหุ่นยนต์และชีวการแพทย์, Laboratory for Biocompatibility Testing of Medical Devices ห้องปฏิบัติการทดสอบความเข้ากันได้ทางชีวภาพของเครื่องมือแพทย์, BCI LAB ห้องปฎิบัติการการเชื่อมต่อคลื่นสัญญาณสมองด้วยคอมพิวเตอร์, BIOSENS LAB ห้องปฏิบัติการเกี่ยวกับเทคโนโลยีไอโอเซนเซอร์ เทคโนโลยีสำหรับการตรวจวัดหาสาร , SMART LAB ห้องวิจัยที่พัฒนาอุปกรณ์เพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายและการฟื้นฟูเพื่อผู้พิการและผู้สูงอายุ ด้วยเทคโนโลยีการประมวลภาพและสัญญาณจากกล้ามเนื้อ, AIOT LAB ห้องปฏิบัติการวิจัยปัญญาประดิษฐ์ของสรรพสิ่ง และ Flexible Manufacturing System ห้องปฏิบัติการเกี่ยวกับงานอุตสาหกรรม การเชื่อมประกอบแบบโดยใช้หุ่นยนต์อุตสาหกรรม เชื่อมต่อกับอุปกรณ์เสริมที่ให้ความยืดหยุ่น รวมถึงการผลิตเครื่องมือแพทย์ทางด้านงานโลหะและการขึ้นรูปโลหะ เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังได้นำชมโครงการแข่งขันชิงแชมป์โลก ไซบาธอน2020 (Cybathlon)?ซึ่งเปรียบเสมือนโอลิมปิกแห่งเทคโนโลยีเพื่อผู้พิการ การแพทย์และมนุษยชาติ ซึ่งมีผู้สมัครเข้าแข่งขัน 77 ทีม จาก 30 ประเทศ โดยทีมมหิดลบีซีไอแลบ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้สร้างนวัตกรรมและส่งนักแข่งผู้พิการร่วมแข่งขัน 2 ประเภท เมื่อเร็วๆนี้ และสามารถคว้ารองแชมป์โลก รางวัลเหรียญเงิน ในประเภท BCI (Brain-Computer Interface Race) หรือ ใช้คลื่นสมองเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ควบคุมสั่งการแข่งรถ แค่คิด?ก็ขับรถแข่งได้ สร้างชื่อเสียงให้ประเทศไทยบนเวทีโลก

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ