นับเป็นครั้งแรกสำหรับไอวีแอลและ Techwool ที่ดำเนินธุรกรรม LC บนเครือข่ายดิจิทัล Contour โดยเทคโนโลยีบล็อกเชนที่นำมาใช้นี้ เกี่ยวเนื่องกับการขนส่งขนสัตว์ที่ทำความสะอาดแล้วจาก Techwool ในประเทศออสเตรเลีย มายังไอวีแอลในประเทศไทย ซึ่งทำให้ไอวีแอลในฐานะผู้ซื้อ และ Techwool ในฐานะผู้ขาย สามารถทำการค้าที่ครบวงจรได้ด้วย Contour แอปพลิเคชันเดียวที่ใช้ร่วมกัน ทดแทนการใช้หลายระบบอย่างที่ผ่านมา โดยมีธนาคารเอชเอสบีซีเป็น ตัวแทนของทั้งสองฝ่าย ตั้งแต่การยื่นขอและออกตราสารเครดิต การยื่นเอกสารส่งออก ตลอดจนการนำส่งเอกสารให้แก่ผู้นำเข้า
Letter of Credit หรือ ตราสารเครดิต คือการค้ำประกันการชำระเงินซึ่งสถานบันการเงินออกให้กับผู้ขาย ตามข้อกำหนดและเงื่อนไขที่ผู้ขายกำหนดไว้อย่างชัดเจนในรายละเอียดของตราสารดังกล่าว
ธุรกรรมครั้งนี้สะท้อนให้เห็นว่าเทคโนโลยีบล็อกเชนเป็นแนวทางสำหรับการค้าแบบดิจิตัล และสามารถนำมาใช้ได้ในการดำเนินงานและการพาณิชย์ โดยธุรกิจการค้าที่ใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนจะช่วยให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องสามารถตรวจสอบเอกสารต่างๆ แทบจะในทันทีทันใด ซึ่งจะช่วยลดต้นทุน ความเสี่ยง และระยะเวลาการดำเนินงาน จากการศึกษาของ Bain & Company คาดการณ์ว่า เทคโนโลยีบล็อกเชนจะทำให้การค้าระดับโลกมีปริมาณเพิ่มขึ้นอีก 1.1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2569 จากปัจจุบันที่มีปริมาณ 16 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ[1] การแลกเปลี่ยนแบบเดิมที่พึ่งพากระดาษในการทำเอกสารสำหรับตราสารเครดิต มักใช้เวลาประมาณ 7 - 10 วัน แต่การดำเนินการผ่าน Contour สามารถแล้วเสร็จได้ภายใน 24 ชั่วโมงเท่านั้น
นายกฤษฎา แพทย์เจริญ ผู้อำนวยการบริหาร ฝ่ายพาณิชย์ธนกิจ ธนาคารเอชเอสบีซี ประเทศไทย กล่าวว่า "เรารู้สึกยินดีที่สามารถสนับสนุนความมุ่งมั่นของไอวีแอลในการเปลี่ยนกระบวนการทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับการค้า ไปสู่รูปแบบดิจิทัล ธนาคารเอชเอสบีซี เชื่อว่าการใช้เทคโนโลยีอย่างบล็อกเชน โดยเฉพาะ Contour จะตอบสนองการทำธุรกิจได้เป็นอย่างดี ยิ่งในสภาพแวดล้อมปัจจุบันที่มีข้อจำกัดหลายอย่าง จากการแพร่ระบาดของโควิด-19 การนำระบบดิจิตัลมาใช้จึงเป็นหนทางที่เหมาะสมสำหรับอนาคต ธนาคารเอชเสบีซียินดีเป็นอย่างยิ่งที่สามารถสนับสนุนไอวีแอลในการนำเทคโลยีนี้มาใช้ได้สำเร็จ"
นายราเจซ บังกา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารธุรกิจขนสัตว์ อินโดรามา เวนเจอร์ส กล่าวว่า "ธุรกรรมการค้าผ่านทาง Contour ช่วยชี้ให้เห็นว่าเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทต่อการปฏิวัติทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับการค้าได้อย่างไร และช่วยลดระยะเวลาการดำเนินงานและความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการค้าระหว่างประเทศ ไอวีแอลร่วมกับธนาคารเอชเอสบีซี จะสานต่อการนำเทคโนโลนีนี้มาใช้ สอดคล้องกับโครงการของเราที่มุ่งเปลี่ยนแปลงไปสู่ยุคดิจิตัล"
จากการรายงานของสหประชาชาติ การเปลี่ยนแปลงกระบวนการทางการค้าจากกระดาษสู่ดิจิตัลในภูมิภาคเอเซียแปซิฟิก จะสามารถลดระยะเวลาในการส่งออกได้ถึงร้อยละ 44 และลดต้นทุนได้ถึงร้อยละ 31 อีกทั้งช่วยกระตุ้นการส่งออกได้ถึง 257 พันล้านเหรียญสหรัฐต่อปี[2]
[1] Rebooting a Digital Solution to Trade Finance, Bain & Company และธนาคารเอชเอสบีซี, หน้า 2
[2] https://www.unescap.org/news/first-regional-agreement-enable-cross-border-electronic-trade-asia-pacific-opens-signature-un