นายวิทูร เจียมจิตต์ตรง ประธานกรรมการ บริษัท พรีไซซ อีเลคตริค แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด (PEM) และนายกสมาคมวิศวกรที่ปรึกษาแห่งประเทศไทย กล่าวในงานเสวนาว่า "ในปัจจุบันมีการศึกษาเรื่องการการขยายตัวในเขตเมืองและชานเมืองเพิ่มมากขึ้น โดยมีการเข้ามาอาศัยในเขตเมืองเพิ่มมากขึ้นถึง 70% และชานเมือง 30% สังเกตได้จาก กรุงเทพ ฯ ที่เราอาศัยอยู่ มีจำนวนประชากรเยอะมาก และเกิดการอาศัยที่แออัด ขาดแคลนในหลาย ๆ ด้าน ทำให้มีผลกระทบต่อความเป็นอยู่อาศัย การใช้พลังงาน การสัญจร สุขภาพ การเข้าถึงสาธารณสุข ปัญหาสิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจ การที่เราจะเริ่มทำ Smart City จะต้องเริ่มต้นการใช้ Smart หรือความอัจฉริยะ อย่างจริงจังทั้ง 7 ด้าน คือ เศรษฐกิจอัจฉริยะ (Smart Economy) ขนส่งอัจฉริยะ (Smart Mobility) พลังงานอัจฉริยะ (Smart Energy) การดำรงชีวิตอัจฉริยะ (Smart Living) สิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ (Smart Environment) พลเมืองอัจฉริยะ (Smart People) และการบริหารภาครัฐอัจฉริยะ (Smart Governance) ทั้งหมดนี้จะต้องมองเห็นถึงข้อมูล (Data) ที่สำคัญของแต่ละด้านในการนำมาวิเคราะห์ปัญหา และจบปัญหานั้นลงด้วยเทคโนโลยีที่สร้างสรรค์ในแต่ละด้าน คือ หากเกิดน้ำท่วมถนนในกรุงเทพ ฯ จะต้องมีการแจ้งเตือนหรือขจัดปัญหาก่อนที่จะเกิดขึ้น ด้วยระบบการบริหารจัดการที่มีการเตือนกันล่วงหน้า และป้องกันจุดที่เกิดปัญหา ไม่ใช่ปล่อยให้มีคำตอบว่าเป็น "น้ำขังรอการระบาย" เราต้องนำนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีทุกด้านที่เป็นความอัจฉริยะมาใช้ เพื่อทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของพลเมืองให้ดีขึ้น ปลอดภัยมากขึ้น ให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจของเมืองและเรื่องสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น "
"ในการสร้าง Smart City จะต้องอาศัยความรู้ความสามารถของทุกฝ่ายร่วมกันในการจัดการและบริหาร โดยจะต้องให้ทางหน่วยงานภาครัฐ ผู้บริหารเมือง และการมีส่วนร่วมของประชาชนในการ ร่วมกัน หาข้อมูล สำรวจ จัดทำ และชี้วัดความต้องการทุกด้านว่า ยังขาดสิ่งไหนอยู่ และจะจัดหาให้พอเพียงต่อความต้องการอย่างไร และจะต้องเห็นคุณค่าในภาคประชาชนอย่างแท้จริง โดยคำนึงถึงความสะดวก ปลอดภัย การมีชีวิตที่ดีขึ้น และอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี ไม่มีมลพิษ และจะต้องสามารถตอบปัญหาที่เกิดขึ้นได้ทุกข้อ และมองว่าควรเริ่มต้นเป็นโครงการที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ต่อไปเรื่อย ๆ เพื่อเป็นการพัฒนาโครงการต่อไปไม่หยุดยั้ง ดีกว่าการทำเป็นโครงการต้นแบบที่มันจะจบที่โครงการปลายแบบ คือทำแล้วจบ หมดการสานต่อหรือพัฒนาต่อนั่นเอง ทั้งนี้จากความสามารถของทุกวิชาชีพก็สำคัญมาก ซึ่งเราต้องร่วมตัวกันในการ รวบรวม ความรู้ความสามารถในการสร้าง Smart City ในทุกด้านมาเป็นจุดมุ่งหมายเดียวกันที่จะทำให้ Smart City เกิดขึ้นได้จริง" นายวิทูรกล่าวปิดท้าย
นอกจากนี้ PRECISE ได้ร่วมจัดแสดงนิทรรศการในงานฯ โดยนำนวัตกรรมด้านพลังงานไฟฟ้า "PEMS" (Professional Energy Management System) ที่เป็นลิขสิทธ์เฉพาะของพรีไซซเท่านั้น ที่เป็นเครื่องมือสำหรับการจัดการบริหารพลังงานให้ทุกองค์กรที่ใช้พลังงานจำนวนมากและมีความต้องการลดการใช้พลังงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ด้วยระบบการวัดที่สามารถวัดพลังงานไฟฟ้าแบบ Real time ผ่านระบบการเชื่อมต่อเครื่องตรวจวัดข้อมูลแบบไร้สาย Wi-Fi, 3G/4G เหมาะสมกับผู้ประกอบการทุกธุรกิจที่ต้องการลดต้นทุนการใช้พลังงานไฟฟ้าทุกธุรกิจ สามารถบริหารการใช้ทำให้ลดต้นทุนการใช้พลังงานไฟฟ้าได้มากถึง 10-15% สามารถวางแผนลดต้นทุนด้านพลังงานในระยะยาวได้ถึง 50% ลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานมากกว่า 20% โดยระบบสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ทันที ทุกที่ ทุกเวลา ผ่านระบบการเชื่อมต่อแบบไร้สาย และยังรองรับการเชื่อมต่อกับ Green Technology รูปแบบต่างๆ อาทิ Solar Rooftop , สถานีรถพลังงานไฟฟ้าและพลังงานทดแทนอื่น ๆ ได้ในอนาคต และยังได้แนะนำอีกหนึ่งนวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ไฟฟ้า "TMS" Transformer Monitoring System อุปกรณ์อัจฉริยะ ที่สามารถตรวจสอบการใช้ไฟฟ้า รวมถึงความผิดปกติของหม้อแปลง เพื่อความเข้าใจในกิจกรรมการใช้ไฟ เฝ้าระวังเหตุที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายในระบบไฟฟ้า ดึงข้อมูลหม้อแปลงทุกตัวได้เรียลไทม์แบบ Mapping Position ผ่านระบบ GPS ซึ่งเรียกดูได้จาก Dashboard ที่แสดงผลในรูปของกราฟหรือตาราง ผ่านการเชื่อมต่อระบบอินเตอร์เน็ต และยังสามารถแจ้งเตือนความผิดปกติผ่าน Line ได้อีกด้วย
ทั้งนี้ ผู้ที่สนใจรายละเอียดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของ พรีไซซ สามารถชมสินค้าและนวัตกรรมการจัดการพลังงานอัจฉริยะ ดูรายละเอียด หรือสั่งซื้อสินค้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง ที่ https://preciseproducts.in.th/ LINE: https://lin.ee/1T37XR1 สอบถามเพิ่มเติม โทร. (+66) 02-584-2367 ต่อ 621 , 065-528-5860