นายธวัช กล่าวต่อไปว่า จากความร่วมมือในการพัฒนาฝีมือแรงงานที่ผ่านมาได้จัดตั้งศูนย์ฝึกอบรม ช่างสีรถยนต์ในหน่วยงานกพร. 12 แห่ง และฝึกอบรมให้กับช่างฝีมือไปแล้ว จำนวน 2,116 คน พัฒนาครูฝึก ของกพร. ในหลักสูตรการฝึกยกระดับฝีมือสาขาการเตรียมพื้นและการพ่นซ่อมแผลรถยนต์ พร้อมนำความรู้ ที่ได้รับไปถ่ายทอดให้แก่กลุ่มเป้าหมาย อาทิ พนักงานในสถานประกอบกิจการ ช่างฝีมือ และประชาชนทั่วไป กพร. ให้การรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานของผู้ประกอบอาชีพซึ่งเป็นมาตรฐานของบริษัทเอง ในสาขา ช่างเครื่องกล และสาขาช่างเตรียมพื้นผิวสำหรับงานซ่อมสีรถยนต์ เพื่อนำไปใช้ทดสอบพนักงานของบริษัท รวมถึงช่างของตัวแทนจำหน่าย เป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้รับบริการ สำหรับแผนการในอนาคต ตั้งแต่ปี 2564 เป็นต้นไป จะได้ขยายผลเพิ่มจำนวนผู้เข้าฝึกอบรมในหลักสูตรช่างสีรถยนต์ และหลักสูตร การพ่นซ่อมสีรถยนต์อัจฉริยะระบบซ่อมด่วน
นอกจากนี้กพร. ได้ให้คำแนะนำบริษัทในการจัดตั้งเป็นศูนย์ทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานด้านช่างสีรถยนต์ โดยมุ่งเป้าหมายยกระดับทักษะฝีมือแรงงานให้ตรงกับความต้องการของสถานประกอบกิจการ สร้างความพึงพอใจให้แก่ผู้รับบริการ มุ่งแก้ปัญหาขาดแคลนช่างฝีมือในสาขานี้ "ความร่วมมือระหว่างกพร.กับภาคเอกชนซึ่งเป็นเจ้าของเทคโนโลยีเป็นแนวทางที่กพร. ยึดถือมาโดยตลอดซึ่งถือว่าตอบโจทย์ในช่วงเวลาปัจจุบัน เนื่องจากภาคเอกชนเข้าใจถึงปัญหาต่างๆ อย่างชัดเจน และพร้อมจะสนับสนุนบุคลากรและอุปกรณ์ต่างๆ ช่วยเติมเต็มให้กพร. ขับเคลื่อนงานพัฒนาฝีมือแรงงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและทั่วถึงยิ่งขึ้น จึงเดินจะหน้าสร้างความร่วมมือกับทุกภาคส่วนต่อไปต่อไป" อธิบดีกพร. กล่าว