ธนาคารไทยพาณิชย์เลือกเทราดาต้าในการเป็นคลังจัดเก็บข้อมูลธุรกิจ

พุธ ๒๔ พฤษภาคม ๒๐๐๖ ๑๒:๐๕
กรุงเทพฯ--24 พ.ค.--เวเบอร์ แชนด์วิค
ธนาคารไทยพาณิชย์เลือกเทราดาต้าในการเป็นคลังจัดเก็บข้อมูลธุรกิจ ระบบข่าวกรองธุรกิจที่พัฒนาขึ้นจะช่วยเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน ของธนาคารทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับโลก
เทราดาต้า” เป็นหนึ่งในแผนกของบริษัท เอ็นซีอาร์ คอร์ปอเรชั่น (NYSE: NCR) ล่าสุดได้ประกาศว่า ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) หนึ่งในธนาคารที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย (ใหญ่ที่สุดในด้านทุนการตลาด; ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 3 เมื่อวัดจากขนาดสินทรัพย์) ซึ่งมีสาขามากกว่า 710 สาขา และให้บริการเครื่องเอทีเอ็มกว่า 3,000 เครื่องทั่วประเทศ ได้เลือกใช้ Teradata? Warehouse เป็นระบบสำหรับโครงการจัดเก็บข้อมูลธุรกิจ (Enterprise Data Warehouse—EDW) ขององค์กร
ระบบ EDW แบบครบวงจรประกอบด้วยฮาร์ดแวร์, ซอฟท์แวร์ และการบริการอย่างมืออาชีพของเทราดาต้า ซึ่งทั้งหมดนี้ได้รับการออกแบบให้ผสมผสานและสนับสนุนแอพพลิเคชั่นเชิงวิเคราะห์แบบซับซ้อนของข้อมูลจากทุกหน่วยธุรกิจของธนาคารไทยพาณิชย์ โดยทางธนาคารฯ ได้เล็งเห็นว่าอุตสาหกรรมการเงินการธนาคารของประเทศไทยนั้นจะมีโอกาสในการเติบโตสูง และเชื่อว่า ระบบ EDW ของเทราดาต้าจะช่วยกระตุ้นศักยภาพในการแข่งขันของธนาคารฯ ในตลาดต่าง ๆ ทั้งภายในและนอกประเทศได้เป็นอย่างดี
ขั้นตอนแรกของการดำเนินการจะมุ่งเน้นไปที่การแยกกลุ่มและถ่ายโอนข้อมูลและข่าวสารสำคัญทั้งหมดที่จัดเก็บในระบบ legacy ปัจจุบันของทุกหน่วยธุรกิจของธนาคารฯ จากนั้น ข้อมูลเหล่านี้จะถูกนำมาผสมผสานกันภายในระบบปฏิบัติการกลาง “Teradata EDW” ซึ่งจะเป็นข้อมูลที่สะท้อนได้ถึงภาพรวมของธุรกิจต่างๆของธนาคารไทยพาณิชย์ได้ทั้งองค์กร
ก่อนหน้านี้ ธนาคารไทยพาณิชย์ได้ใช้คลังเก็บข้อมูลซึ่งทำงานบนระบบคอมพิวเตอร์เมนเฟรมไอบีเอ็มพร้อมกับแหล่งข้อมูลที่แตกต่างกันหลายแหล่ง โดยระบบดังกล่าวจะทำงานตอบรับทุกหน่วยธุรกิจของธนาคารฯในฐานะศูนย์กระจายข้อมูลแบบ “hub-and-spoke architecture” โครงสร้างของระบบนี้ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายในส่วนของการบำรุงรักษาและการเป็นเจ้าของนั้นสูง อีกทั้งยังมีข้อจำกัดด้านประสิทธิภาพและการขยายศักยภาพเพิ่มเติมอีกด้วย สุดท้ายแล้ว จึงทำให้เกิดปัญหาความต่อเนื่อง ผู้ใช้ไม่สามารถมองเห็นภาพรวมของธุรกิจได้ จากการที่ข้อมูลนั้นมาจากหลายแหล่งข้อมูลของทั้งองค์กร
มร. เจสัน ชิพแมน ผู้จัดการทั่วไป เทราดาต้า ประเทศไทย กล่าวว่า “โซลูชันเทราดาต้านั้นจะเก็บรวบรวมข้อมูลของหน่วยธุรกิจทั้งหมดของธนาคารไทยพาณิชย์ไว้อย่างมีเสถียรภาพและประสิทธิภาพ พร้อมให้ผู้มีอำนาจตัดสินใจสามารถมองเห็นภาพรวมของธุรกิจได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น โดยผู้บริหารของทางธนาคารฯจะสามารถตัดสินใจได้อย่างรอบคอบโดยพิจารณาจากทุกข้อมูลที่เกี่ยวข้องที่ได้จากดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพการทำงานหลัก (Key Performance Indicator) ที่เอื้อต่อยุทธศาสตร์สำคัญของธนาคาร”
“โซลูชัน Teradata EDW นั้นจะสนับสนุนฟังก์ชันที่หลากหลายเพิ่มขึ้น เช่น การบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้าส่วนบุคคล, โปรแกรมการตลาด, ยุทธศาสตร์การบริหารความเสี่ยงเชิงเครดิต, การวิเคราะห์และการรายงานทางการเงิน ตลอดจน ประสิทธิภาพเชิงปฏิบัติการที่ได้รับการพัฒนา ซึ่งจะส่งผลต่อการช่วยลดค่าใช้จ่ายเชิงปฏิบัติการลงได้”
มร. ชิพแมน กล่าวเพิ่มเติม
ดร. อมฤต เหล่ารักพงษ์ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ สายประมวลผลเทคโนโลยีสารสนเทศ ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า “ธนาคารไทยพาณิชย์มีพันธกิจสำคัญในการคัดสรรและดำเนินการกับเทคโนโลยีที่ดีที่สุดเพื่อสนับสนุนธุรกิจขององค์กร ซึ่ง ‘Teradata EDW’ จะช่วยให้เราสามารถมองเห็นภาพธุรกิจเป็นภาพรวมภาพเดียวอย่างชัดเจน ส่งผลให้ผู้บริหารสามารถตัดสินใจในเรื่องสำคัญต่างๆได้โดยพิจารณาข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งหมดอย่างละเอียดรอบคอบความสามารถในการตัดสินใจบนพื้นฐานความเป็นจริงอย่างรวดเร็วนี้จะช่วยผลักดันการเติบโตทั้งในระดับบนและระดับล่างขององค์กร”
“โซลูชันอันทรงประสิทธิภาพนี้จะช่วยให้ธนาคารพัฒนาความสามารถในการสามารถให้บริการลูกค้าได้ดีขึ้นและเติมเต็มความต้องการด้านการบริหารการตลาด ตลอดทั้งการควบคุมความเสี่ยงขององค์กร รวมถึงการสนับสนุนด้านข่าวกรองธุรกิจที่สำคัญได้อีกด้วย” มร. ซารัป กล่าวเพิ่มเติม
นอกจากนี้ มร. ชิพแมนยังเปิดเผยอีกว่า ธนาคารไทยพาณิชย์เป็นธนาคารแห่งแรกของประเทศไทยที่นำเอาระบบ ของเทราดาต้านี้มาใช้ และแน่นอนว่าระบบอันทรงประสิทธิภาพนี้จะเอื้อประโยชน์ให้ธนาคารไทยพาณิชย์มีศักยภาพในการแข่งขันในตลาดที่สูงขึ้น
เทราดาต้า จะมอบโซลูชันชั้นนำและแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดระดับสากลเพื่อช่วยให้ ธนาคารไทยพาณิชย์มีบริการที่ปรึกษาที่รอบรู้ และบริการด้านคลังเก็บข้อมูลที่มีความครอบคลุมมากที่สุดอีกด้วย
เกี่ยวกับแผนก เทราดาต้า
เทราดาต้า ( www.teradata.com ) เป็นหนึ่งในแผนกของ เอ็นซีอาร์ คอร์ปอเรชั่น ซึ่งเป็นผู้นำเทคโนโลยีระดับโลกด้านแอพพลิเคชั่นการวิเคราะห์ ระบบคลังข้อมูลองค์กร และบริการคลังข้อมูลองค์กร องค์กรทั่วโลกไว้วางใจในความสามารถของโซลูชั่นที่ได้รับรางวัลของเทราดาต้า ที่ช่วยให้องค์กรสามารถมองภาพรวมของธุรกิจ เพื่อพัฒนาลูกค้าสัมพันธ์ การตัดสินใจทางธุรกิจและผลกำไร
เกี่ยวกับ เอ็นซีอาร์ คอร์ปอเรชั่น
เอ็นซีอาร์ เป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีระดับโลกในการช่วยให้บริษัทต่างๆ สร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าได้แน่นแฟ้นมากขึ้น บริการของ เอ็นซีอาร์ คอร์ปอเรชั่น ได้แก่ บริการคลังข้อมูล (Teradata? data warehouses) ระบบเอทีเอ็ม ระบบขายปลีก โซลูชันบริการตนเองและ บริการระบบสารสนเทศ ซึ่งได้ให้บริการโซลูชั่น Relationship Technology ที่ช่วยเพิ่มคุณค่าของการสื่อสารลูกค้า และช่วยให้องค์กรสร้างสถานะการแข่งขันที่ดีกว่า เอ็นซีอาร์ คอร์ปอเรชั่น ( www.ncr.com ) มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่โอไฮโอ ประเทศสหรัฐอเมริกาและมีพนักงาน 28,200 คนทั่วโลก
NCR และ Teradata เป็นเครื่องหมายการค้า หรือ เครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของ เอ็นซีอาร์ในประเทศสหรัฐอเมริกา และ ประเทศอื่นๆ
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
รุ่งนภา ชาญวิเศษ/ ชนัตถ์ แนวณรงค์
เวเบอร์ แชนด์วิค (ประเทศไทย)
โทร. 0-2287-1000 ต่อ 279 หรือ 134
อีเมล์ [email protected]
[email protected]
สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ