บจ. ใน mai โชว์ผลงานปี 2547 กำไรรวมกันกว่าพันล้าน อัตราการเติบโตก้าวกระโดด 29%

จันทร์ ๑๔ มีนาคม ๒๐๐๕ ๑๑:๑๒
กรุงเทพฯ--14 มี.ค.--ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ mai 23 บริษัทประกาศผลการดำเนินงานปี 2547 มีกำไร
สุทธิรวม ทั้งสิ้น 1,035 ล้านบาท กำไรเฉลี่ยเพิ่มขึ้นทั้งตลาดถึง 29% นำโดย อินเตอร์ลิงค์ คอมมิวนิเคชั่น
(ILINK) กำไรเพิ่มขึ้น 344% ซีเอ็ม ออร์กาไนเซอร์ (CMO) กำไรเพิ่มขึ้น 205% ยูนิค ไมนิ่ง เซอร์วิสเซส
(UMS) กำไรเพิ่มขึ้น 181% และ พรพรหมเม็ททอล (PPM) กำไรเพิ่มขึ้น 150%
นายวิเชฐ ตันติวานิช ผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์ mai กล่าวว่า บริษัทจดทะเบียนในตลาด
หลักทรัพย์ mai จำนวน 23 บริษัท นำส่งงบการเงินประจำปี 2547 สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2547 มีผล
กำไรรวม 1,035 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 29 เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน และเมื่อมองภาพรวม
ปี 2547 บริษัทในตลาดหลักทรัพย์ mai เกือบทั้งหมดมีผลกำไรยกแผง
“บริษัทจดทะเบียนใน mai ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่มีศักยภาพในการเติบโต
สูง ซึ่งจาก ผลการดำเนินงานของปี 2547 นี้ จะเห็นได้ว่าบริษัทที่มีผลประกอบการเติบโตแบบก้าวกระโดด
โดยมีกำไรเกินกว่า 150% ถึง 4 บริษัท ได้แก่ 1. อินเตอร์ลิงค์ คอมมิวนิเคชั่น (ILINK) กำไรสุทธิ
40 ล้านบาทเพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อนถึงร้อยละ 344% เนื่องจาก บริษัทมีรายได้เพิ่มขึ้นจากธุรกิจจัด
จำหน่ายถึง 30% ตลอดจนการขยายธุรกิจใหม่ด้วยการรับรู้รายได้จากการรับเหมาติดตั้งระบบข่ายสายสัญญาณ
สื่อสาร สนามบินสุวรรณภูมิ เฟสแรก และการจัดทำบัตรสมาร์ทการ์ดเพื่อใช้ในการผ่านพิธีการศุลกากร
2. บมจ. ซีเอ็ม ออร์กาไนเซอร์ (CMO) กำไรสุทธิ 58 ล้านบาทเพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปี
ก่อนถึง 205% เนื่องจาก การขยายตัวอย่างมากของอุตสาหกรรมการจัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาดและส่ง
เสริมการขาย ลูกค้าของบริษัททั้งหน่วยงานราชการ และบริษัทชั้นนำในภาคเอกชนได้มีการเพิ่มงบประมาณ
สำหรับการจัดกิจกรรมทางการตลาดอย่างมาก นอกจากนี้ บริษัทยังมีการรับรู้รายได้จากการลงทุนในบริษัทย่อย
2 บริษัท คือ บริษัท พีเอ็ม เซ็นเตอร์ จำกัด และบริษัท ดิอายส์ จำกัด อีกด้วย
3. บมจ. ยูนิค ไมนิ่ง เซอร์วิสเซส กำไรสุทธิ 135 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปี
ก่อนถึงร้อยละ 181 เนื่องจากบริษัทมีลูกค้าเพิ่มขึ้นโดยกลุ่มลูกค้าส่วนใหญ่เป็นกลุ่มขนาดกลางและขนาดเล็ก
มีผลทำให้กำไรขั้นต้นสูงขึ้น ในขณะเดียวกันค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย
อันดับ 4 คือ บมจ. พรพรหมเม็ททอล (PPM) มีกำไรสุทธิ 52 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียว
กันของปีก่อนถึงร้อยละ 150 เนื่องจากบริษัทสามารถขยายฐานลูกค้าได้อย่างต่อเนื่อง อีกทั้งลูกค้ากลุ่มเดิมของ
บริษัทมีการเพิ่มปริมาณการสั่งซื้อสินค้า นอกจากนี้ บริษัทผู้ผลิตที่บริษัทเป็นตัวแทนจำหน่ายยังมีการเพิ่มกำลังการ
ผลิตเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของตลาด
นายวิเชฐ ยังกล่าวอีกว่า นอกจาก 4 บริษัทข้างต้นที่มีอัตราการเติบโตของกำไรสุทธิร้อยละ
150 แล้ว ยังมีบริษัท ที่มีอัตราการเติบโตเกินกว่าร้อยละ 100 อีก 3 บริษัท ได้แก่ บมจ. ซี.ไอ. กรุ๊ป
(CIG) บมจ. แอล.วี. เทคโนโลยี (LVT) และ บมจ. โกลด์ไฟน์ แมนูแฟคเจอร์เรอส์ (GFM) โดยมี
กำไรสุทธิเพิ่มขึ้นร้อยละ 130 ร้อยละ 110 และร้อยละ 100 ตามลำดับ
สำหรับผู้ลงทุนที่สนใจลงทุนใน mai สามารถศึกษาข้อมูลจากบทวิเคราะห์หลักทรัพย์ หรือเข้าดู
ข้อมูลของบริษัทจดทะเบียนใน mai ได้ ทาง www.mai.or.th หรือ www.settrade.com หรือสอบถาม
ข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ S-E-T Call center โทร. 02229 —2222
ติดต่อส่วนสื่อมวลชนสัมพันธ์ ฝ่ายสื่อสารองค์กร :
ลดาวัลย์ กันทวงศ์ โทร. 0-2229—2036 /
กุลวิดา จินตกะวงส์ โทร. 0-2229 —2037 /
ณัฐพร บุญประภา โทร. 0-222 2049/
วรรษมน เสาวคธนธ์เสถียร โทร. 0-2229 — 2797
ตารางแสดงผลการดำเนินงานของบจ. ในตลาดหลักทรัพย์ mai สำหรับปี 2547
หน่วย : ล้านบาท
ชื่อบริษัท กำไรสุทธิงวด 12 เดือน
2547 2546 %เปลี่ยนแปลง
1. บมจ.อินเตอร์ลิงค์ คอมมิวนิเคชั่น (ILINK) 40 9 344
2. บมจ.ซีเอ็ม ออร์กาไนเซอร์ (CMO) 58 19 205
3. บมจ.ยูนิค ไมนิ่ง เซอร์วิสเซส (UMS) 135 48 181
4. บมจ.พรพรหมเม็ททอล (PPM) 52 21 148
5. บมจ. ซี ไอ กรุ๊ป (CIG) 46 20 130
6. บมจ.แอล.วี.เทคโนโลยี (LVT) 44 21 110
7. บมจ.บิซิเนส ออนไลน์ (BOL) 12 6 100
8. บมจ.ไลท์ติ้ง แอนด์ อิควิปเมนท์ (L&E) 44 24 83
9. บมจ.ธนมิตร แฟคตอริ่ง (DM) 19 11 73
10. บมจ.ปิโก้ (ไทยแลนด์) (PICO) 41 30 37
11. บมจ.มาสเตอร์ แอด (MACO) 85 65 31
12. บมจ.โซลูชั่น คอนเนอร์ (1998) (SLC) 21 16 31
13. บมจ.ชูโอ เซ็นโก (ประเทศไทย) (CHUO) 13 10 30
14. บมจ.อาร์ เค มีเดีย โฮลดิ้ง (RK) 38 30 27
15. บมจ ทาพาโก้ (TAPAC) 24 22 9
16. บมจ. โกลด์ไฟน์ แมนูแฟคเจอเรอร์ส 107 100 7
17. บมจ.เชอร์วู๊ด เคมิคอล (SWC) 63 69 -9
18. บมจ.ไทยมิตซูวา (TMW) 128 147 -13
19. บมจ.อินเตอร์เนชั่นแนล รีเสริช คอร์ปอเรชั่น (IRCP) 36 44 -18
20. บมจ.แพค เดลต้า (PD) 39 60 -35
21. บมจ.ยัวซ่าแบตเตอรี่ ประเทศไทย (YUASA) 4 20 -80
22. บมจ.โฟคัส เอ็นจิเนียริ่ง คอนสตรัคชั่น (FOCUS) 2 13 -85
23. บมจ.บรุ๊คเคอร์ กรุ๊ป (BROOK) -16 4 -500
รวม 1,035 809 28.43--จบ--

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๕๐ รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๑๖:๑๔ ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๑๖:๑๓ Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๑๖:๑๐ ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๑๖:๕๒ โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๑๕:๒๖ กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๑๕:๐๑ สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๑๕:๒๙ 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๑๕:๐๘ โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๑๕:๕๒ electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version