ธนาคารกรุงเทพมีกำไรสุทธิ 5,184 ล้านบาท ในไตรมาสแรกปี 49

ศุกร์ ๒๑ เมษายน ๒๐๐๖ ๑๔:๒๗
กรุงเทพฯ--21 เม.ย.--ธ.กรุงเทพ
ธนาคารกรุงเทพรายงานผลประกอบการสำหรับไตรมาสแรกของปี 2549 โดยมีกำไรก่อนหักภาษีจำนวน 7,964 ล้านบาท และเมื่อหักภาษีเงินได้นิติบุคคลจำนวน 2,780 ล้านบาทแล้ว ธนาคารมีกำไรสุทธิจำนวน 5,184 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,271 ล้านบาทเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า โดยมีกำไรต่อหุ้นเพิ่มขึ้นจาก 2.05 บาท เป็น 2.72 บาท
สินเชื่อของธนาคารในไตรมาสนี้ขยายตัวร้อยละ 2.3 จาก 912,003 ล้านบาท เมื่อสิ้นปี 2548 เป็น 932,678 ล้านบาท ณ วันที่ 31 มีนาคม 2549 โดยการขยายตัวดังกล่าวเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของสินเชื่อจากกลุ่มลูกค้าหลักทุกกลุ่ม ณ สิ้นเดือนมีนาคม ธนาคารมียอดเงินฝากรวมจำนวน 1,153,134 ล้านบาท ลดลงเล็กน้อยร้อยละ 0.3 จากจำนวน 1,156,530 ล้านบาทเมื่อสิ้นปี 2548 ส่งผลให้ธนาคารมีสัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 78.9 เมื่อสิ้นปี 2548 เป็นร้อยละ 80.9 เมื่อสิ้นไตรมาสแรกของปี 2549
จากสถานการณ์ในตลาดที่อัตราดอกเบี้ยปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งรายได้และค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยของธนาคารจึงเพิ่มขึ้นด้วย โดยค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น 1,004 ล้านบาท เป็น 5,470 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ในขณะที่รายได้ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น 869 ล้านบาท เป็น 16,670 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา ซึ่งส่งผลให้รายได้ดอกเบี้ยสุทธิของธนาคารยังคงค่อนข้างทรงตัว โดยลดลงเพียงเล็กน้อย คิดเป็นจำนวน 134.1 ล้านบาท หรือร้อยละ 1.2
รายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยของไตรมาสนี้มีจำนวน 6,432 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 38.5 เทียบกับไตรมาสก่อนหน้า และเพิ่มขึ้นร้อยละ 49.2 เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว โดยธนาคารมีกำไรจากเงินลงทุนสุทธิ จำนวน 933 ล้านบาท นอกจากนี้ รายได้ค่าธรรมเนียมและบริการของธนาคารยังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 เทียบกับไตรมาสก่อนหน้า หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.9 เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากบริการที่เกี่ยวกับด้านสินเชื่อและบริการธนาคารอิเล็กทรอนิกส์
ค่าใช้จ่ายที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยในไตรมาสนี้ลดลง 615 ล้านบาทเป็นจำนวน 8,323 ล้านบาท เนื่องจากในไตรมาสก่อนหน้ามีการตั้งสำรองภาระผูกพันนอกงบดุลจำนวน 720 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม ในไตรมาสนี้ไม่มีค่าใช้จ่ายพิเศษที่เป็นรายการใหญ่เกิดขึ้น
สินเชื่อด้อยคุณภาพเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 100,573 ล้านบาทเมื่อสิ้นปี 2548 เป็น 102,493 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 10.9 ของสินเชื่อรวม อย่างไรก็ตาม สินเชื่อชั้นสงสัยและสงสัยจะสูญลดลงจำนวน 4,487 ล้านบาท
ในไตรมาสนี้ ธนาคารได้ตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญเพิ่มเติมจำนวน 1,345 ล้านบาท ทำให้มีสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญรวมทรงตัวใกล้เคียงระดับเดิม โดยมีจำนวน 78,855 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดร้อยละ 64.4 โดยในไตรมาสนี้ธนาคารมีสำรองค่าเผื่อหนี้สูญคิดเป็นร้อยละ 76.9 ของสินเชื่อด้อยคุณภาพเทียบกับร้อยละ 79.1 เมื่อสิ้นปี 2548
ส่วนของผู้ถือหุ้น ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2549 เพิ่มขึ้น จากจำนวน 139,232 ล้านบาทเมื่อสิ้นปี 2548 เป็น 141,719 ล้านบาท
เมื่อนับรวมผลกำไรในไตรมาสนี้และหักเงินปันผลจากผลกำไรงวดหลังของปี 2005 ที่จะจ่ายในเดือนพฤษภาคม 2549 ธนาคารมีอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงประมาณร้อยละ 14.8 และอัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 ประมาณร้อยละ 11.5

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ