สกว. จัดสัมมนาเรื่อง “รัฐและปัญหาความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้”

พุธ ๑๖ สิงหาคม ๒๐๐๖ ๑๗:๐๗
กรุงเทพฯ--16 ส.ค.--สกว.
ปัญหาความรุนแรงในภาคใต้ที่เกิดขึ้นในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ได้ส่งผลกระทบต่อปัญหาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศเป็นอย่างมาก ซึ่งการจะแก้ไขปัญหาดังกล่าวให้หมดไปจำเป็นต้องมีการพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับจังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างเป็นระบบ รศ.ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ เมธีวิจัยอาวุโส สกว. จึงได้จัดเวทีเพื่อนำเสนอผลงานวิจัยเรื่อง “รัฐและปัญหาความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้” โดยมุ่งตอบคำถามหลักคือ สังคมไทยมีองค์ความรู้เกี่ยวกับจังหวัดชายแดนภาคใต้เพียงไร มีพัฒนาการนโยบายความมั่นคงในพื้นที่เช่นไร และในความเปลี่ยนแปลงทางนโยบายดังกล่าวได้อาศัยความรู้เป็นฐานในการกำหนดนโยบายเหล่านี้หรือไม่อย่างไร ช่องว่างระหว่างนโยบายและการปฏิบัติงานในจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นความเข้าใจอยู่บนฐานข้อเท็จจริงเพียงไร ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในระยะเวลากว่า 2 ปีนี้ ส่งผลอย่างไรต่อสายสัมพันธ์ระหว่างผู้คนที่แตกต่างหลากหลายทางวัฒนธรรม และกระเทือนถึงขั้นทำให้ผู้คนย้ายออกจากพื้นที่หรือไม่อย่างไร และที่สำคัญคือการพิจารณาสถานการณ์ในจังหวัดชายแดนใต้คงไม่อาจหลีกเลี่ยงมิติระหว่างประเทศได้ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องตรวจสอบว่าประเทศสหรัฐอเมริกาและกลุ่มประเทศมุสลิมในตะวันออกกลางรับรู้ความเป็นจริงของปัญหาความรุนแรงในพื้นที่อย่างไร
ด้วยเหตุสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) จึงกำหนดจัดเวทีเพื่อนำเสนอผลงานวิจัยเรื่อง “รัฐและปัญหาความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้” โดย รศ.ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ ขึ้นภายใต้ทุนเมธีวิจัยอาวุโส สกว. ในวันศุกร์ที่ 18 และ เสาร์ที่ 19 สิงหาคม 2549 เวลา 8.30 — 16.30 น. ณ ห้อง 407 ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน )
กำหนดการสัมมนา
วันศุกร์ที่ 18 สิงหาคม 2549
8.30 น. ลงทะเบียน
9.00 - 9.10 น. ศาสตราจารย์ คุณหญิง ไขศรี ศรีอรุณ
รักษาการผู้อำนวยการศูนย์มานุษยวิทยาสิริธร (องค์การมหาชน) และ
ศาสตราจารย์ ดร. ปิยะวัติ บุญ-หลง
ผู้อำนวยการกองทุนสนับสนุนการวิจัย กล่าวเปิดงาน
รายการภาคเช้า ดำเนินรายการโดย
รศ.ดร.ชลิดาภรณ์ ส่งสัมพันธ์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
9.10 - 9.50 น. องค์ความรู้การวิจัยความสัมพันธ์พุทธ-มุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ในรอบ 49 ปีโดย อ. แพร ศิริศักดิ์ดำเกิง
ภาควิชามานุษยวิทยา คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
9.50 — 10.30 น. นโยบายความมั่นคงจังหวัดชายแดนภาคใต้เปรียบเทียบ
โดย ดร. มารค ตามไท
สถาบันเพื่อการศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยพายัพ
10.30 — 10.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง
10.45 — 11.30 น. นำเสนอความเห็นโดย
พล.อ. ปฐมพงษ์ เกษรศุกร์
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ กองบัญชาการทหารสูงสุด
ดร.อุทัย ดุลยเกษม
สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
11.30 — 12.15 น. ผู้ร่วมสัมมนาแสดงความคิดเห็น
12.15 — 13.30 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
รายการภาคบ่าย ดำเนินรายการโดย
ผศ. พรชัย ตระกูลวรานนท์ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
13.30 — 14.00 น. วัฒนธรรมองค์กรของหน่วยทหารในภูมิภาคต่างๆที่มีผลต่อการแก้ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
โดย พ.ท.หญิง พิมลพรรณ อุโฆษกิจ
กองวิชากฎหมายและสังคมศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
14.00 — 14.30 น. คู่มือข้าราชการ: วาทกรรมวัฒนธรรมของรัฐไทย
โดย ดร. เดชา ตั้งสีฟ้า
คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
14.30 — 15.00 น. การคัดเลือกและการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ทหารตำรวจกับปัญหาการละเมิด
สิทธิมนุษยชนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
โดย รุ่งรวี เฉลิมศรีภิญโญรัช
Associated Press
15.00 — 15.15 น. พักรับประทานอาหารว่าง
15.15 — 16.00 น. นำเสนอความเห็นโดย
พ.อ. อนุชาติ บุนนาค
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ กองบัญชาการทหารสูงสุด
ผศ.ดร.นิติ ภวัครพันธุ์
คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผศ. ชิดชนก ราฮิมมูลา
คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
16.00 — 16.45 น. ผู้เข้าร่วมสัมมนานำเสนอความเห็น
วันเสาร์ที่ 19 สิงหาคม 2549
รายการภาคเช้า ดำเนินรายการโดย
อ.มล.พินิตพันธ์ บริพัตร คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
9.00 — 9.40 น. ปฏิสัมพันธ์ใหม่ของพุทธ-มุสลิมจังหวัดชายแดนภาคใต้ในสถานการณ์ความรุนแรง
โดย รศ.ดร. รัตติยา สาและ
คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
9.40 — 10.20 น. ผลกระทบของเหตุการณ์ความไม่สงบต่อการย้ายถิ่นของประชากร
ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
โดย อ. ซากีย์ พิทักษ์คุมพล
สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
10.20 — 10.30 น. พักรับประทานอาหารว่าง
10.30 — 11.15 น. นำเสนอความเห็นโดย
ศ.ดร. อมรา พงศาพิชญ์
คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผศ. สุชาติ เศรษฐมาลินี
สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยพายัพ
11.15 — 12.00 น ผู้เข้าร่วมสัมมนานำเสนอความเห็น
12.00— 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
รายการภาคบ่าย ดำเนินรายการโดย
ปรางทิพย์ ดาวเรือง นักข่าวและนักวิจัยอิสระ
13.00 — 13.40 น. นโยบายของสหรัฐฯต่อสถานการณ์ความรุนแรงจังหวัดชายแดนภาคใต้
โดย Matthew Wheeler
Institute of Current World Affairs และสถาบันวิจัยความมั่นคงนานาชาติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
13.40 — 14.20 น. นโยบายประเทศตะวันออกกลางต่อสถานการณ์ความรุนแรงจังหวัดชายแดนภาคใต้
โดย Dr. Imtiyaz Yusuf
ภาควิชาปรัชญาและศาสนา มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
14.20 — 14.30 น. พักรับประทานอาหารว่าง
14.30 — 15.20 น. นำเสนอความเห็นโดย
รศ.ดร. ปณิธาน วัฒนายากร
คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ดร. สุกรี หลังปูเต๊ะ
คณะศิลปศาสตร์และสังคมศาสตร์ วิทยาลัยอิสลามยะลา
15.20 — 16.00 น. ผู้เข้าร่วมสัมมนานำเสนอความเห็น
16.00 — 16.10 น. ดร. ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ เมธีวิจัยอาวุโส สกว. กล่าวปิดการสัมมนา
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
โทร.0-2619-9701 email : [email protected]

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ