คุณพระช่วย เปิดบันทึกแฝดสยาม อิน-จัน เผยเรื่องลับ ครั้งหนึ่งเคยคิดแยกจากกัน!!

จันทร์ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๐๐๖ ๑๑:๓๙
กรุงเทพฯ--20 พ.ย.--เวิร์คพอยท์ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์
คุณพระช่วย ภูมิใจนำเสนอเรื่องราวของ แฝดสยาม อิน-จัน แฝดไทยคู่แรกที่เดินทางไปอเมริกา และทำให้รู้จักสยามประเทศจากคำว่า “Siamese Twin หรือ แฝดสยาม อิน-จัน” ซึ่งวันอังคารที่ 21 พ.ย.นี้ จะมาเปิดบันทึกเรื่องราวของแฝดสยาม อิน-จัน อย่างหมดเปลือกกับผู้เชี่ยวชาญ อาจารย์อนุชา ธีรคานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งท่านจะมาเปิดเผยถึงเรื่องราวที่ใครหลายคนไม่เคยรู้มาก่อน ตั้งแต่แฝดอิน-จัน ถือกำเนิดเกิดขึ้นมา ตั้งแต่ชีวิตความเป็นอยู่ จนกระทั่งได้เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และได้พบกับนายฮันเตอร์ ผู้ที่พาแฝดอิน-จัน เดินทางสู่อเมริกา และที่สำคัญกับเรื่องราวของความรัก และเรื่องครอบครัว ซึ่งครั้งหนึ่งทั้งคู่เคยคิดจะแยกจากกัน ซึ่งสาเหตุที่ว่านั้นคืออะไรนั้น ต้องติดตามฟัง
นอกจากเรื่องราวของประวัติแฝดสยามคู่แรกแล้ว ยังจะได้ชมภาพประวัติศาสตร์ของทั้งคู่พร้อมครอบครัวอีกด้วย ซึ่งเรื่องราวอันทรงคุณค่าทั้งหมดนี้ ติดตามชมได้ในรายการ “คุณพระช่วย” วันอังคารที่ 21 พ.ย.นี้ เวลา 20.30 น. ทาง โมเดิร์น ไนน์ ทีวี
สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ