สุขภัณฑ์นามจับมือสถาบันวิจัยฯ จุฬา โชว์นวัตกรรมใหม่ Stealth Guard Titania Silver Nano

จันทร์ ๒๖ มิถุนายน ๒๐๐๖ ๑๐:๕๑
กรุงเทพฯ--26 มิ.ย.--บี วัน คอมมูนิเคชั่นส์
บริษัท นาม สุขภัณฑ์ จำกัด ลงนามในสัญญาร่วมกับสถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สนับสนุนนักวิจัยไทย นำนวัตกรรมใหม่การเคลือบผิวสุขภัณฑ์เพื่อยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย “ Stealth Guard Titania Silver Nano ” ใช้กับสุขภัณฑ์นามเป็นครั้งแรก
นายณัฐชนา เพ็ญชาติ กรรมการผู้จัดการ บริษัท นาม สุขภัณฑ์ จำกัด กล่าวว่า บริษัทฯ มีความยินดีเป็นอย่างมาก ที่นับเป็นบริษัทไทยรายแรก ในการพัฒนาสุขภัณฑ์เพื่อส่งเสริมสุขอนามัยที่ดีขึ้นให้กับผู้บริโภคชาวไทยเป็นครั้งแรก โดยได้ร่วมลงนามและสนับสนุนทุนวิจัยแก่สถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการศึกษาและพัฒนากรรมวิธีเรื่องการเตรียมสารเคลือบผิวสุขภัณฑ์ให้มีคุณสมบัติในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย ภายใต้ชื่อทางการค้าว่า
“ Stealth Guard Titania Silver Nano ” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนและสร้างชื่อเสียงให้กับนักวิจัยไทย ทั้งด้านวิชาการและเทคโนโลยีที่เป็นประโยชน์ พร้อมตอบสนองนโยบายบริษัทฯ ที่มุ่งส่งเสริมและพัฒนาสินค้าด้วยเทคโนโลยีที่ทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดแก่กลุ่มลูกค้าและผู้บริโภคในปัจจุบันที่ตระหนักถึงเรื่องสุขอนามัย ด้วยระบบป้องกันการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียและนวัตกรรมใหม่นี้จะเริ่มใช้กับสุขภัณฑ์นามเป็นครั้งแรก จำนวน 13 รุ่น เช่น Faye , Sense , Liza , Nuvo , Maya , D?cor , Orbit , Ofuro , Aka , Nian , Nur และคาดว่าสินค้าดังกล่าวจะได้รับความนิยม ด้วยปัจจุบันผู้บริโภคมีความเข้าใจและใส่ใจในเรื่องคุณภาพชีวิตมากขึ้น
ด้านสถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย ศ.ดร.สุพจน์ หารหนองบัว ผู้อำนวยการสถาบันฯ เปิดเผยว่า การศึกษาวิจัยในครั้งนี้เป็นการคิดค้นพัฒนาเทคโนโลยีนาโนของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งก่อนหน้านี้มีการคิดค้นและพัฒนาเทคโนโลยีนาโนบนผิววัสดุที่เป็นใยผ้า แต่สำหรับงานวิจัยครั้งนี้ที่ได้ร่วมกับนามสุขภัณฑ์นั้น เป็นการวิจัยบนเซรามิกครั้งแรก ซึ่งจากข้อมูลการวิจัยที่ผ่านมา ด้วยประสิทธิภาพของไทเทเนียมไดออกไซด์ หรือ ไทเทเนีย และโลหะเงิน ที่เป็นองค์ประกอบหลักที่นิยมใช้สำหรับการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย และจากการศึกษาพบว่าเมื่อสารทั้งสองชนิดถูกนำมาใช้ร่วมกันจะทำให้กระบวนการดังกล่าวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพการนำสารดังกล่าวมาใช้ประกอบด้วย 2 ขั้นตอน คือ การเตรียมสารละลายไทเทเนีย ซิลเวอร์ นาโน และการฉีดพ่นสารละลายดังกล่าวลงบนผิวเคลือบสุขภัณฑ์ในปริมาณที่เหมาะสม จากนั้นจึงนำสุขภัณฑ์ไปเผา เพื่อให้สารยึดติดที่ผิวเคลือบ ด้วยการคิดค้นและพัฒนากรรมวิธีในการเตรียมสารเคลือบผิวสุขภัณฑ์ และจากผลการทดสอบการยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ด้วยวิธีการทางจุลชีววิทยา พบว่า ผิวเคลือบมีประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียบางชนิดได้มากกว่า 70% ซึ่งกรรมวิธีนี้ได้ยื่นขอจดสิทธิบัตรแล้วเป็นที่เรียบร้อย ซึ่งทางสถาบันฯ เชื่อว่า ผลการศึกษาวิจัยจะเป็นที่ยอมรับและยกระดับมาตรฐานเรื่องสุขอนามัยให้เทียบเท่ามาตรฐานสากล ดังนั้น การลงนามในวันนี้จึงเป็นการพัฒนางานวิจัย=8

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ