เอกรัฐฯ ทุ่มเม็ดเงินกว่า 1,500 ล้านบาท สร้างโรงงานผลิตเซลล์แสงอาทิตย์แห่งแรก ในเดือนมีนาคมนี้

ศุกร์ ๑๐ มีนาคม ๒๐๐๖ ๐๘:๑๙
กรุงเทพฯ--10 มี.ค.--124 คอมมิวนิเคชั่น
บริษัท เอกรัฐวิศวกรรม จำกัด (มหาชน) ผู้ประกอบธุรกิจผลิตหม้อแปลงไฟฟ้า พร้อมบริษัท เอกรัฐโซล่าร์ จำกัด (บริษัทย่อย) ผู้ประกอบธุรกิจประกอบแผงโซล่าร์เซลส์ ประกาศทุ่มเม็ดเงินกว่า 1,500 ล้านบาท ก่อสร้างโรงงานผลิตเซลล์แสงอาทิตย์แห่งแรกของประเทศในเดือนมีนาคมนี้ พร้อมก้าวขึ้นสู่การเป็นผู้นำในธุรกิจพลังงานครบวงจรในปี 2550
ดร.วิวัฒน์ แสงเทียน กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอกรัฐวิศวกรรม จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงความคืบหน้าของโครงการก่อสร้างโรงงานผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ว่า บริษัทฯ จะสามารถอนุมัติการก่อสร้างโรงงานผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ได้ภายในต้นเดือนมีนาคมนี้ ภายหลังได้ข้อสรุปเรื่องแบบแปลนโรงงานขั้นสุดท้ายจากคณะกรรมการบริษัทฯ ทีมสถาปนิก และวิศวกร โดยโรงงานแห่งนี้จะก่อสร้างในเขตนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ระยอง บนพื้นที่กว่า 15 ไร่ ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จและเริ่มการผลิตได้ในปี 2550
“ขณะนี้บริษัทฯอยู่ระหว่างขั้นตอนการพิจารณา เพื่ออนุมัติการก่อสร้างโรงงานผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ขั้นสุดท้าย ก่อนจะเริ่มการก่อสร้างในต้นเดือนมีนาคม และจะนำเข้าเครื่องจักรจากเยอรมนีราวเดือนกันยายนปีนี้ ซึ่งถือว่าเป็นไปตามกำหนดการที่วางไว้ในตอนแรก โดยโรงงานผลิตเซลล์แสงอาทิตย์แห่งนี้จะใช้ระบบวางแผนการก่อสร้างแบบฟาสต์ แทร็กซ์ ซึ่งจะสามารถเริ่มการก่อสร้างได้ทันทีหลังได้แบบโครงสร้างโดยรวม และจะดำเนินการก่อสร้างควบคู่ไปกับการออกแบบภายใน เพื่อให้แล้วเสร็จตามกำหนดการที่วางไว้ในปี 2550”
ทั้งนี้ โรงงานผลิตเซลล์แสงอาทิตย์จะมีกำลังการผลิตเซลส์แสงอาทิตย์ต่อปีอยู่ที่ 25 เมกะวัตต์ และจะสามารถเพิ่มกำลังการผลิตไปจนถึง 50 เมกะวัตต์ โดยมีการตั้งเป้าการผลิตในระยะแรกไว้ที่ 12 เมกะวัตต์ โดย 6 เมกะวัตต์แรกจะถูกนำไปใช้ในกระบวนการผลิตแผงเซลล์แสงอาทิตย์ที่บริษัทฯ ได้ดำเนินการอยู่ และอีก 6 เมกะวัตต์จะส่งออกไปขายในประเทศจีน อินเดีย ไต้หวัน และยุโรป ซึ่งประเทศเหล่านี้ล้วนเป็นประเทศที่มีแนวโน้มการเติบโตของอุตสาหกรรมการผลิตแผงเซลล์แสงอาทิตย์ค่อนข้างสูง นอกจากนั้นจากการประเมินราคาเซลล์ในปัจจุบัน คาดว่าจะมีรายได้เพิ่มจากการผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ในปีแรกที่เริ่มดำเนินการกว่า 1,400 ล้านบาท
“ภาพรวมของธุรกิจพลังงานแสงอาทิตย์ในปัจจุบันถือว่ามีความชัดเจนมากขึ้น อีกทั้งยังมีแนวโน้มการเติบโตที่ดี อันเป็นผลมาจากความชัดเจนของนโยบายทางด้านพลังงานของภาครัฐ อาทิ มาตรการพลังงานทดแทน (Renewable Portfolio Standard : RPS) และ โครงการโซล่าร์โฮม อีกทั้งปัจจัยของความจำเป็นทางด้านพลังงานที่มีเพิ่มสูงขึ้น จึงทำให้ผู้ประกอบการทางด้านพลังงาน พร้อมที่จะหันมาใช้พลังงานทดแทนรูปแบบต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเลือกใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ที่มีความเหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย ซึ่งขณะนี้ถือว่าเอกรัฐวิศวกรรมเป็นผู้ประกอบการรายแรกที่ได้เตรียมพร้อมกับสถานการณ์ดังกล่าว และทันทีที่มาตรการนี้ประกาศใช้ เชื่อว่า ธุรกิจพลังงานแสงอาทิตย์จะมีการเติบโตในทิศทางที่ดีกว่าที่กำลังการผลิตจะสนองความต้องการของตลาดได้” ดร.วิวัฒน์ กล่าว
สำหรับความคืบหน้าในการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยนั้น ขณะนี้บริษัทกำลังอยู่ระหว่างการยื่นไฟลิ่งต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) โดยมีบริษัท ฟาร์อีสท์ แคปปิตอลแอ็ดไวเซอรี่ จำกัด เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน โดยบริษัทฯ จะเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน 182 ล้านหุ้น โดยมีมูลค่าที่ตราไว้ (พาร์) 1 บาท โดยการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์อาจจะต้องเลื่อนออกไปเป็นช่วงไตรมาส 2 ปี 2549 จากกำหนดเดิมคือภายในไตรมาส 1 ปี 2549
“ภายหลังการหารือร่วมกับคณะกรรมการบริษัทฯ มีความเห็นว่า การเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์อาจจะต้องเลื่อนออกไปเป็นช่วงไตรมาส 2 ปีนี้ เพราะบริษัทฯต้องรอการอนุมัติไฟลิ่งจากสำนักงานก.ล.ต. อีกทั้งปัจจัยหลายอย่างมีความไม่แน่นอน และส่งผลกระทบต่อการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ อย่างไรก็ตามความล่าช้าดังกล่าวจะไม่ส่งผลต่อแผนการขยายธุรกิจผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ของบริษัทฯอย่างแน่นอน” ดร. วิวัฒน์ กล่าวในตอนท้าย
อนึ่ง บริษัท เอกรัฐวิศวกรรม จำกัด (มหาชน) ผู้นำในธุรกิจผลิตและจำหน่ายหม้อแปลงไฟฟ้ารายใหญ่ที่สุดของประเทศ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยกำลังการผลิต 3,000 เมกะโวลต์แอมแปร์ต่อปี พร้อมด้วยธุรกิจต่อยอดในรูปแบบการบริการในเชิงพลังงานครบวงจร อาทิ งานซ่อมบำรุงรักษาหม้อแปลงไฟฟ้าทุกระบบ มอเตอร์ไฟฟ้าอุตสาหกรรม และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า งานออกแบบและติดตั้งระบบไฟฟ้าอุตสาหกรรมทั้งระบบ Medium และ Low Voltage งานที่ปรึกษาด้านระบบบริหารจัดการทั้งระบบบริหารคุณภาพ การจัดการสิ่งแวดล้อม การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย เป็นต้น พร้อมด้วย บริษัท เอกรัฐโซล่าร์ จำกัด ผู้ดำเนินกิจการประกอบแผงเซลล์แสงอาทิตย์ ทั้งชนิดผลึกเดี่ยวซิลิคอนและชนิดผลึกโพลีซิลิคอน พร้อมด้วยโครงการก่อสร้างโรงงานผลิตเซลล์แสงอาทิตย์แห่งแรกในประเทศไทยและภูมิภาค ซึ่งจะแล้วเสร็จในปี 2550
ข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ
ชัยวัฒน์ สิมะวัฒนา / จตุพล นาคนิ่ม
พรพรรณ ฉวีวรรณ
บริษัท 124 คอมมิวนิเคชั่นส จำกัด (มหาชน)
โทร 0-2662-2266
www.124comm.com

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๓๑ ม.ค. รู้จักโรคอ้วนดีแล้ว.จริงหรือ?
๓๑ ม.ค. บมจ.ไทยเซ็นทรัลเคมี ร่วมกับ MBK ส่งมอบปฏิทินในกิจกรรม ปฏิทินเก่ามีค่า เราขอ
๓๑ ม.ค. BSRC ออกหุ้นกู้รอบใหม่ 8,000 ล้านบาท ยอดจองเกินเป้า ตอกย้ำความเชื่อมั่นของผู้ลงทุน
๓๑ ม.ค. คปภ. ร่วมสัมมนาประกันภัย ครั้งที่ 29 เตรียมรับมือความเสี่ยงอุบัติใหม่ พลิกโฉมธุรกิจประกันภัยสู่ความท้าทายในอนาคต
๓๑ ม.ค. มอบของขวัญให้กับครอบครัวของคุณช่วงวันหยุดพิเศษที่ สเตย์บริดจ์ สวีท แบงค็อก สุขุมวิท
๓๑ ม.ค. OR เปิดตัว CEO คนใหม่ หม่อมหลวงปีกทอง ทองใหญ่ มุ่งผลักดันไทยสู่ Oil Hub แห่งภูมิภาค พร้อมขับเคลื่อนองค์กรด้วยดิจิทัล-นวัตกรรม
๓๑ ม.ค. เดลต้า ประเทศไทย คว้ารางวัล ASEAN's Top Corporate Brand ประจำปี 2567
๓๑ ม.ค. โรงแรมอลอฟท์ กรุงเทพ สุขุมวิท 11 พลิกโฉมใหม่ สุดโมเดิร์น! พร้อมเปิดตัว w xyz bar ตอกย้ำความสนุกในแบบฉบับ
๓๑ ม.ค. PAUL JOE เปิดตัว GLOSSY ROUGE ต้อนรับฤดูใบไม้ผลิ 2025
๓๑ ม.ค. บริษัท โกซอฟท์ (ประเทศไทย) ได้รับเกียรติบัตรศูนย์ รับเรื่องและแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภคระดับดีเด่น จาก สคบ. และการรับรองมาตรฐาน ISO