รฟม.ยืนยันเป็นพันธมิตรทางธุรกิจกับ BMCL พร้อมจ่ายค่าหุ้น 21 ก.ย.นี้

พฤหัส ๒๑ กันยายน ๒๐๐๖ ๑๗:๒๓
กรุงเทพฯ--21 ก.ย.--124 คอมมิวนิเคชั่น
ประธาน รฟม. พร้อมเป็นพันธมิตรทางธุรกิจกับบีเอ็มซีแอล เผยเจตนารมณ์ในการลงทุนเพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน สร้างกลไกการดูแลระบบรถไฟฟ้าให้มีประสิทธิภาพ มั่นใจเป็นการลงทุนที่สร้างผลตอบแทนที่ดีให้ภาครัฐ ยืนยันถือหุ้นยาว
นางอัญชลี ชวนิชย์ ประธานกรรมการ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กล่าวว่า ตามที่คณะกรรมการ รฟม.มีมติเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2549 ให้รฟม.ซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนของ บริษัท รถไฟฟ้าขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BMCL) จำนวน 2,987.5 ล้านหุ้น ในราคาหุ้นละ 1 บาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 25 ของทุนจดทะเบียนภายหลังการเสนอขายหุ้นสามัญให้แก่ประชาชนหรือประมาณ 11,950 ล้านบาท ซึ่งเป็นเข้าถือหุ้นตามสัญญาสัมปทานและมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2549 นั้น ขณะนี้ รฟม.ได้ดำเนินการกู้เงินจำนวน 2,987.5 ล้านบาท จากธนาคารออมสิน เพื่อชำระค่าหุ้นในกับ BMCL เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และพร้อมจะชำระให้กับบีเอ็มซีแอลในวันที่ 21 กันยายนนี้ ซึ่งเป็นวันที่หุ้นของบริษัทเข้าทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเป็นวันแรก
โดยการกู้เงินในครั้งนี้ รฟม. ได้ทำการคัดเลือกข้อเสนอการให้สินเชื่อจากธนาคารพาณิชย์หลายแห่ง ซึ่งนาคารออมสินเป็นธนาคารที่ให้ข้อเสนอดีที่สุด โดยให้สินเชื่อเป็นระยะเวลา 5.2 ปี อัตราดอกเบี้ยลอยตัวเท่ากับ อัตราต่ำสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 6 เดือนประเภทบุคลลธรรมดา ของ 5 ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ (FDR เฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 3.7 ต่อปี นอกเหนือจากอัตราร้อยละ 1.3 ต่อปี โดยมีกระทรวงการคลังเป็นผู้ค้ำประกัน)
“การเข้าถือหุ้นในบีเอ็มซีแอลครั้งนี้ ถือเป็นการใช้สิทธิตามสัญญาสัมปทานระหว่าง รฟม. กับ บีเอ็มซีแอล ซึ่งตามเจตนารมณ์ของสัญญาดังกล่าว เป็นการดำเนินการที่ต้องการให้เกิดความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน นอกเหนือจากภาครัฐเป็นผู้ลงทุนและดำเนินก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางโยธา และบีเอ็มซีแอลเป็นผู้ลงทุนจัดหาและให้บริการระบบรถไฟฟ้า ทั้งนี้เพื่อที่จะเข้าไปมีส่วนในการบริหารจัดการและกำกับดูแล ระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้การถือหุ้นในบีเอ็มซีแอล ถือเป็นการลงทุนที่สามารถทำให้เกิดผลตอบแทนที่ดีแก่รัฐบาลได้ในระยะยาว เนื่องจากรัฐบาลมั่นใจว่า จำนวนผู้ใช้บริการจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ตามแนวสายทางที่กำลังเกิดขึ้นเป็นจำนวนมากในขณะนี้แล้วเสร็จ และในอนาคตเมื่อดำเนินการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยาย ไปยังชานเมือง แหล่งธุรกิจ และแหล่งชุมชนหนาแน่น”นางอัญชลี กล่าว
สำหรับการเข้าถือหุ้นในบีเอ็มซีแอลในครั้งนี้ รฟม. จะเข้าไปในฐานะของตัวแทนภาครัฐ รวมทั้งจะเป็นพันธมิตรทางธุรกิจ (strategic partner) กับบีเอ็มซีแอล โดยหุ้นที่ รฟม. ถือ จะเป็นหลักทรัพย์ที่ถูกห้ามจำหน่ายเป็นระยะเวลา 3 ปี (silent period) เช่นเดียวกับผู้ถือหุ้นหลักรายอื่นๆ อาทิ บมจ. ช.การช่าง บมจ.ทางด่วนกรุงเทพ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของภาครัฐ ที่ต้องการลงทุนในระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน โดยใช้ศักยภาพของเอกชนในการดำเนินการอย่างเต็มที่
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ
อินทิรา ใจอ่อนน้อม
คชภพ สงวนวงศ์
บริษัท 124 คอมมิวนิเคชั่นส จำกัด (มหาชน)

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ