เหตุลดชั้นดาวพลูโต! สามองค์กรใหญ่ชวนครูไทยร่วมสัมมนาสร้างความเข้าใจ

จันทร์ ๒๕ กันยายน ๒๐๐๖ ๑๐:๐๘
กรุงเทพฯ--25 ก.ย.--กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ดร.ศักดิ์สิทธิ์ ตรีเดช ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานเปิดการสัมมนา “พลูโตกับภาพใหม่ของระบบสุริยะ” จัดโดย สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(สดร.) และองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพ.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และสมาคมดาราศาสตร์ไทย ณ ห้องประชุม 4 — 6 อาคาร Convention Center อิมแพค เมืองทองธานี
ดร.ศักดิ์สิทธิ์ ตรีเดช ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ กล่าวเปิดการสัมมนาฯ ตอนหนึ่งว่า ความรู้ทางด้านดาราศาสตร์ เป็นศาสตร์แขนงหนึ่งที่เราสามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดปะโยชน์ในการดำรงชีวิตได้ นอกจากนี้ ดาราศาสตร์ยังช่วยส่งเสริมให้เกิดบรรยากาศและความตื่นตัวทางด้านวิทยาศาสตร์ของประเทศ ดังจะเห็นได้จากผลการประชุมของนักดาราศาสตร์ทั่วโลก ในการประชุมใหญ่ของสหพันธ์ดาราศาสตร์นานาชาติที่กรุงปราก ประเทศสาธารณรัฐเชก เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของระบบสุริยะ อันเป็นผลให้ดาวพลูโตหมดสภาพจากการเป็นดาวเคราะห์ กลายเป็นวัตถุในระบบสุริยะชนิดใหม่แทน การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ ทำให้ทุกประเทศอาจต้องปรับปรุงเนื้อหาวิชาดาราศาสตร์ที่สอนในโรงเรียนและสถาบันการศึกษาอื่น ๆ ใหม่ รวมทั้งประเทศไทยเองด้วย กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีบทบาทหน้าที่หนึ่งในการสร้างความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์ให้เกิดขึ้นกับสังคมไทย จึงเห็นว่าเรื่องนี้ควรจะมีการพูดชี้แจงให้เกิดความเข้าใจถึงข้อเท็จจิรงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
การจัดสัมมนาวิชาการดาราศาสตร์ในวันนี้ เป็นผลมาจากการประชุมนานาชาติที่กรุงปราก ประเทศสาธารณรัฐเชก ระหว่างวันที่ 14-25 สิงหาคม ที่ผ่านมา ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในวงการดาราศาสตร์โลก เกี่ยวกับดาวพลูโตและระบบสุริยะ กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ โดย สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ, สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, สมาคมดาราศาสตร์ไทย และองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ร่วมกันจัดการสัมมา เรื่อง "ดาวพลูโตกับภาพใหม่ของระบบสุริยะ" เพื่อให้ครู อาจารย์ นักเรียน นักศึกษา และประชาชนที่สนใจได้รับทราบรายละเอียดเกี่ยวกับความเป็นมาของการกำหนดนิยามและการจัดระเบียบใหม่ของระบบสุริยะ รวมทั้งข้อมูลใหม่ ๆ ของดาวเคราะห์และวัตถุท้องฟ้าอื่นในระบบสุริยะ เพื่อให้เกิดการบูรณาการทางวิชาการอันจะเป็นประโยชน์แก่สังคมและสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ทางดาราศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในระดับประเทศอย่างยั่งยืนต่อไปวิทยากรในการสัมมนาฯ ครั้งนี้ ได้แก่ รศ.ดร. บุญรักษา สุนทรธรรม ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) ซึ่งเป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมการประชุมไอเอยู ครั้งประวัติ- ศาสตร์นี้ นอกจากนี้ยังมี ดร.ศรันย์ โปษยะจินดา รองผู้อำนวยการ สดร. และนายอารี สวัสดี นายกสมาคมดาราศาสตร์ไทย ร่วมเป็นวิทยากรถ่ายทอดข้อมูลเพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับองค์ความรู้ด้านดาราศาสตร์แก่ผู้รับฟังการสัมมนาฯ และในทางกลับกันก็หวังว่าจะได้ข้อคิดเห็นต่าง ๆ อันเป็นประโยชน์เกี่ยวกับการปรับปรุงเนื้อหาวิชาดาราศาสตร์ โดยเฉพาะจากกลุ่มครู อาจารย์ ซึ่งเข้าร่วมกว่า1,000 คน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ