โรเล็กซ์ประกาศชื่อ Rolex Laureates

อังคาร ๐๗ พฤศจิกายน ๒๐๐๖ ๑๒:๑๘
กรุงเทพฯ--7 พ.ย.--Grayling Public Relations
อาจารย์ พิไล พูลสวัสดิ์ “มารดาแห่งนกเงือก” ได้รับการยกย่องให้เป็นผู้ทรงเกียรติโรเล็กซ์ท่านล่าสุด
โรเล็กซ์ เจ้าของรางวัล Rolex Awards for Enterprise ซึ่งได้ทำการมอบรางวัลมาเป็นเวลา 30 ปี ทำการประกาศชื่อผู้ทรงเกียรติ (Laureate) ที่ได้รับรางวัลทั้งสิ้น 5 ท่าน โดยเแบ่งเป็นหญิง 3 ท่าน และ ชาย 2 ท่าน จากประเทศออสเตรเลีย ฝรั่งเศส อินเดีย สหราชอาณาจักรและประเทศไทย ซึ่งผู้ทรงเกียรติท่าน 5 ท่าน จะเข้าร่วมกับผู้ทรงเกียรติอีก 55 ท่านที่ได้รับรางวัลตั้งแต่ปี 2519 จากผู้ผลิตนาฬิกาสัญชาติสวิสสำหรับโครงการนวัตกรรมค่างๆที่ช่วยเปลี่ยนแปลงโลกและทำให้โลกนี้เป็นที่ที่น่าอยู่มากยิ่งขึ้น
ผู้ทรงเกียรติทั้ง 5 ท่าน ได้รับการคัดเลือกจากผู้คณะกรรมการทรงคุณวุฒิ ซึ่งทำการคัดเลือกผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆจากเกือบ 1,700 ท่าน จาก 117 ประเทศ โดยผู้ทรงเกียรติเหล่านี้จะได้รับการยกย่องในเรื่องของการอุทิศตนเพื่อด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม การสำรวจและ มรดกทางวัฒนธรรม ผู้ทรงเกียรติจะได้รับเงินรางวัลท่านละ 100,000 เหรียยสหรัฐ พร้อมด้วยนาฬิกา Rolex chronometer เรือนทองรุ่นที่ได้รับการจารึกเป็นพิเศษ ในงานมอบรางวัลคืนวันที่ 26 ณ เอสปลาเนด คอนเสิร์ต ฮอลล์ ประเทศสิงคโปร์
ในปีนี้ จำนวนของผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกจากภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 66 จากปี 2547 และด้วยโครงการที่แสดงถึงศักยภาพอันดีเยี่ยม มีผู้ได้รับรางวัลจากภูมิภาคนี้มากถึงร้อยละ 50 ของผู้ได้รับรางวัลทั้งหมด ซึ่งนับเป็นตัวเลขที่สูงสุดเป็นประวัติการณ์ นอกจากนี้ จำนวนที่ได้รับรางวัลที่เป็นสตรีก็มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น เป็นจำนวน 4 จาก 10 คน
“เรารู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่มีส่วนช่วยส่งเสริมท่านเหล่านี้ โดยรวมถึงหลายๆท่านจากภูมิภาคนี้” รีเบคก้า อาร์วิน ผู้อำนวยการ of the Rolex Awards for Enterprise กล่าว “จำนวนของผู้ชนะเลิศและจำนวนของผู้ส่งผลงานเข้าสมัครจากพื้นที่นี้แสดงให้เห็นถึงสัญญานการเจริญเติบโตที่ชัดเจนของความมุ่งมั่นของจิตวิญญาน”
เราได้พบเห็นผู้สมัครขั้นดีจากประเทศไทยมาเป็นเวลาหลายปี นักสิ่งแวดล้อมคุณพิสิทธ์ ชาญสเนาะ ได้รับรางวัลในฐานะรองผู้ทรงเกียรติในปี 2547 สำหรับโครงการพิทักษ์พะยูนจากการสูญพันธุ์ มาในปีนี้ เรารู้สึกตื่นเต้นเป็นอย่างยิ่งทีจะทำการยกย่องคุณพิไล พูนสวัสดิ์ให้เป็นผู้ทรงเกียรติคนล่าสุดจากประเทศไทย คุณพิไลได้ใช้เวลามากกว่า 10 ปีในการรณรงค์พิทักษ์นกเงือก โดยทำการเปลี่ยนผู้บุกรุกและนักตัดไม้ผิดกฏหมายในประเทศไทยให้กลายเป็นผู้พิทักษ์นกเงือก คุณพิไลได้รับการขนานนามจากเหล่านักอนุรักษ์ให้เป็น “มารดาแห่งนกเงือก” เราขอยกย่องคุณพิไลในวันนี้ถึงความพยายามในการสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นต่อการอนุรักษ์ในประเทศไทย”
อาจารย์พิไล พูนสวัสดิ์ ผู้ทรงเกียรติของโรเล็กซ์ท่านล่าสุดกล่าวว่า “ประเทศไทยมีนกเงือกสายพันธุ์เอเชียจำนวน 13 สายพันธุ์จาก 31 สายพันธุ์ มี 1 สายพันธุ์ที่กำลังจะสูญพันธุ์ 5 สายพันธุ์กำลังอยู่ในอันตราย 4 สายพันธุ์กำลังจะถูกคุกคาม และ 3 สายพันธุ์ถูกทำลายได้โดยง่าย ดิฉันหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ความพยายามของพวกเราจะช่วยก่อให้เกิดการวิจัยสำหรับสายใยชีวิตที่ซับซ้อนนี้เพิ่มมากขึ้น และหวังไว้ว่าคนไทยจะเรียนรู้การอยู่ร่วมกับป่าอย่างกลมกลืนอีกครั้ง”
อาจารย์พิไลจะนำเงินรางวัลที่ไดัรับจาก Rolex Award ไปในการดูแลและสร้างรังสำหรับนกเงือก ทีมของชาวบ้านจะทำหน้าที่ในการรักษาและซ่อมแซมรังที่มีอยู่แล้ว รวมถึงประดิษฐ์รังจากท่อนซุง ไฟเบอร์กลาส และ เรซิน
ผู้ทรงเกียรติโรเล็กซ์ประจำปี 2006
Alexandra Lavrillier: สร้างโรงเรียนสำหรับชนเผ่านักล่าสัตว์เร่ร่อน Evenk ในไซบีเรีย
ทางตะวันออกเฉียงใต้ของไซบีเรีย ชนเผ่าเร่ร่อนพยายามที่จะรักษาวิถีความเป็นอยู่ของตน ตามประเพณีวัฒนธรรมของชาว Evenk ผู้คนที่มีความสามารถในการต้อนกวางเรนเดียร์ ล่าสัตว์และตกปลา ถูกกัดกร่อนด้วยความเจริญของวัฒนธรรมตะวันตก Alexandra Lavrillier นักชาติพันธุ์วิทยา ใช้เวลาถึง 8 ปีในการช่วยเหลือพวกเขาในการรักษาวิถีความเป็นอยู่ของพวกเขาโดยการจัดตั้งโรงเรียนเร่ร่อน ซึ่งเป็นที่ที่ลูกหลานชาว Evenk จะได้รับโอากาสการศึกษาที่ทันสมัยในขณะที่สามารถดำรงวิถีความเป็นอยู่ของบรรพบุรุษของตนได้
Brad Norman: จัดทำเครือข่ายบัตรประจำตัวภาพถ่ายระดับโลก (global photo-ID network) สำหรับการอนุรักษ์ฉลามวาฬ
Brad Norman นักอนุรักษ์สัตว์น้ำชาวออสเตรเลีย ด้วยแรงผลักดันจากความรักในทะเลและฉลามวาฬ ปลาหายากที่ใหญ่ที่สุดในทะเล ได้คิดค้นระบบบัตรประจำตัวภาพถ่ายเพื่อช่วยในการอนุรักษ์ ระบบนี้มีพื้นฐานมาจากวิธีการแบบเดียวกับการศึกษาการจดจำดวงดาวในเวลากลางคืน ซึ่งระบบนี้จะได้รับการพัฒนาให้สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลของสัตว์ใต้ทะเลอีกเป็นพันชนิดในอนาคต
อาจารย์พิไล พูนสวัสดิ์ : ผลักดันชุมชนห่างไกลในประเทศไทยให้ร่วมพิทักษ์นกเงือก
หลังการค้นพบสายพันธุ์นกเงือกทางตอนใต้ในป่าเขตร้อนชื้นที่ถูกแจ้งว่าสูญพันธุ์ไปแล้วนั้น อาจารย์พิไล พูนสวัสดิ์ นักจุลชีววิทยาได้ทำการเปลี่ยนแปลงผู้บุกรุกป่าและนักตัดไม้ผิดกฏหมายให้กลายเป็นผู้พิทักษ์นกล้ำค่าและแหล่งที่อยู่ของมัน โดยอาจารย์พิไลมีโครงการสำหรับคนเมืองในการรับอุปการะรังของนกเงือกเพื่อระดมเงินทุน ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างและปรับเปลี่ยนทัศนคติแก่ชุมชนต่อการอนุรักษ์
Chanda Shroff : ฟื้นงานหัตถกรรมในเมืองคูท์ช ประเทศอินเดีย
ในเขตห่างไกลของประเทศอินเดีย Chanda Shroff ได้สร้างความเคลื่อนไหวในการฟื้นคืนศิลปะการแสดงออกแบบพื้นบ้าน งานหัตถกรรม ซึ่งสร้างรายได้อย่างสม่ำเสมอ ในพื้นที่ของเมืองคูท์ซเคยเป็นที่ที่มีประวัติอันยาวนานของงานหัตถกรรม แต่หลังจากปี 2503 ที่มีการบุกรุกของวัสดุสังเคราะห์ รวมถึงงานเครื่องจักรได้เข้ามาทำลายงานหัตถกรรมนี้จนเกือบจะสาบสูญ Chanda Shroff ทำการอนุรักษ์ศิลปะอันมีเอกลักษณ์นี้ พร้อมกับส่งเสริมศิลปะที่สวยงามนี้รวมถึงการทำให้ผู้หญิงมีอำนาจเพิ่มมากขึ้นในสังคมอนุรักษ์นิยมสูงแห่งนี้
Rory Wilson: พัฒนาอุปกรณ์อิเลคโทรนิคในการติดตามสัตว์
Rory Wilson นักสัตววิทยาชาวอังกฤษ เป็นที่รู้จักจากผลงานการพัฒนาอย่างชาญฉลาดในการติดตามสัตว์ป่าและทำการบันทึกพฤติกรรมของสัตว์เหล่านั้นโดยไม่จำเป็นต้อง ทำการติดตามโดยตรงอย่างใกล้ชิด ผลงานการคิดค้นล่าสุดเป็นอุปกรณ์ที่มีน้ำหนักเบา สามารถเคลื่อนไปได้ทุกจุดแม้แต่ที่ที่ดาวเทียมไม่สามารถทำได้ ทำให้สามารถเฝ้าสังเกตสัตว์ต่างๆได้อย่างอิสระ ซึ่งจะช่วยในการวิจัยพฤติกรรมของสายพันธุ์ที่ถูกคุกคาม และสามารถนำข้อมูลที่ได้นี้ไปช่วยในการคุ้มครองพวกสัตว์เหล่านี้
“ผู้ทรงเกียรติเหล่านี้ได้แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นและจิตวิญญานซึ่งเป็นการตอกย้ำถึงเจตนารมย์ของ Rolex Awards ที่มีมาตั้งแต่ 30 ปีที่แล้ว” Patrick Heiniger ซีอีโอ Rolex SA และ ประธานคณะกรรมการคัดสรรกล่าว “เราชาวโรเล็กซ์รู้สึกพึงพอใจเป็นอย่างยิ่งที่เราได้มีโอกาสสนับสนุนบุคคลผู้กล้าที่จะทำในสิ่งที่แตกต่างเพื่อปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ทีดีขึ้นของมวลมนุษยชาติ”
รางวัลรองผู้ทรงเกียรติ (The Associate Laureates)
นอกเหนือจากรางวัลผู้ทรงเกียรติแล้ว ทางโรเล็กซ์ยังได้จัดให้มีการมอบรางวัลรองผู้ทรงเกียรติอีก 5 รางวัล โดยจะได้รับเงินรางวัลเป็นจำนวน 50,000 เหรียญและนาฬิกา Rolex chronometer เรือนเหล็กผสมทอง ซึ่งผู้ที่ได้รับรางวัลจะได้รับการจัดงานเชิดชูเกียรติในประเทศของตน หรือในภูมิภาคของตนเองในอีกหนึ่งเดือนข้างหน้า
ขั้นตอนการคัดเลือก
คณะกรรมการคัดสรรในปีนี้ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีชื่อเสียงระดับโลกในสาขาต่างๆทั้งนักวิทยาศาสตร์ นักการศึกษา ผู้ประกอบการรายย่อย นักอนุรักษ์นิยม และ นักสำรวจ ซึ่งล้วนแต่มีคุณสมบัติที่เด่นชัดในการเป็นกรรมการคัดสรรซึ่งจะต้องทำหน้าที่คัดสรรโครงการที่มีความหลากหลายที่ถูกนำเสนอมา โดยคณะกรรมการประกอบด้วยท่านต่างๆ ดังนี้
1. Dr Laretna T. Adishakti, Indonesian architect and founder of the Center for Heritage Conservation
2. Professor Denise Bradley, vice chancellor and president of the University of South Australia
3. Motoko Ishii, Japanese lighting designer
4. Erling Kagge, Norwegian polar explorer and mountaineer
5. Professor Tommy Koh, diplomat and patron of the arts from Singapore
6. William K. Reilly, American conservationist
7. Dr Luis Rojas Marcos, American professor of psychiatry at New York University School of Medicine
8. Mark Shuttleworth, South African technology entrepreneur and philanthropist;
9. Sir Magdi Habib Yacoub, British surgeon and founder of the Magdi Yacoub Institute.
ขั้นตอนการคัดเลือก
โรเล็กซ์จะทำการเปิดรับสมัครผู้เข้ารับการคัดเลือกสำหรับรางวับ Rolex Awards ปี 2551 เพื่อเรียนเชิญผู้สนใจที่มีคุณสมบัติตรงตามสาขาที่วางไว้มาสมัครเข้ารับการคัดเลือกเพื่อรับรางวัลอันทรงเกียรติครั้งที่ 13 นี้ รางวัล Rolex Awards วางเป้าหมายในการค้นหาและมอบรางวัลให้แก่บุรุษและสตรีที่ไม่เป็นที่รู้จักแต่ว่าทำคุณประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมโลกและมนุษยชาติ โดยโครงการเหล่านี้ต้องเป็นโครงการต้นฉบับที่มีความเป็นไปได้ในการดำเนินโครงการ รวมถึงมีผลกระทบในด้านบวกต่อชุมชน
เส้นตายในการส่งผลงานเข้าร่วมการคัดเลือกสำหรับรางวัล Rolex Awards ครั้งที่ 13 นี้คือ
- วันที่ 31 พฤษภาคม 2550 สำหรับทวีปเอเชีย แปซิฟิค และทวีปอเมริกาทั้งหมด
- วันที่ 30 กันยายน 2550 สำหรับทวีปยุโรป ตะวันออกกลางและแอฟริกา
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ
ณัฐพร ตั้งวงศ์ศานต์
Grayling Public Relations
โทร 02 610 3675, 081 920 1490
Email: [email protected] / [email protected]
สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๑๒ ฉลองเทศกาลตรุษจีนปีงูเล็ก ที่โรงแรมดุสิตธานี กระบี่ บีช รีสอร์ท
๑๗:๐๐ IMPACT เผยปี 68 ข่าวดี! โครงการ Sky Entrance รถไฟฟ้าสายสีชมพูมาตามนัด หนุนทราฟฟิคแน่น - จับมือพาร์ทเนอร์
๑๗:๕๒ อิมแพ็ค เมืองทองธานี ร่วมกับ มูลนิธิเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคม สนับสนุนโครงการ กู้วิกฤตและอนุรักษ์พะยูน ครั้งที่ 2
๑๗:๕๘ แสนสิริ เจ้าตลาดคอนโดแคมปัส อวดโฉม ดีคอนโด วิวิด รังสิต คอนโดใหม่ตรงข้าม ม.กรุงเทพ
๑๖:๔๓ เอ็นไอเอ - สสส. ดึงนิวเจน สรรค์สร้างนวัตกรรมส่งเสริมสุขภาพ ในแคมเปญ The Health Promotion INNOVATION PLAYGROUND
๑๗:๕๘ กรมวิทย์ฯ บริการ เร่งพัฒนาระบบ e-Learning ยกระดับการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ทั่วประเทศ
๑๖:๕๘ เขตจตุจักรกวดขันคนไร้บ้านเชิงสะพานข้ามคลองบางซื่อ สร้างพื้นที่ปลอดภัยสำหรับทุกคน
๑๗:๑๗ เขตพระนครประสานกรมเจ้าท่า-เอกชน เร่งปรับปรุงภูมิทัศน์ท่าเรือสุพรรณเดิม
๑๗:๔๐ กทม. กำชับเจ้าของอาคารตรวจสอบโครงสร้างบันไดเลื่อน เพิ่มความปลอดภัยประชาชน
๑๖:๓๗ แลกเก่าเพื่อโลกใหม่ ช้อปคุ้ม พร้อมลดหย่อนภาษี! 'เปลี่ยนของเก่าเป็นความคุ้ม' ผ่าน Easy E-Receipt ได้ที่โฮมโปร เมกาโฮม