ฟิทช์ ประกาศคงอันดับเครดิตของธนาคารทหารไทยที่ ‘BB+’ โดยมีแนวโน้มอันดับเครดิตเป็นบวก

ศุกร์ ๐๑ กันยายน ๒๐๐๖ ๑๓:๕๑
กรุงเทพฯ--1 ก.ย.--ฟิทช์ เรทติ้งส์
ฟิทช์ เรทติ้งส์ ได้ประกาศคงอันดับเครดิตของธนาคาร ทหารไทย จำกัด (มหาชน) (“TMB”) หลังจากธนาคารประกาศว่าหุ้นเพิ่มทุนแบบ rights issue ของธนาคารได้รับการลงนามซื้อไว้ทั้งหมดแล้ว อันดับเครดิตต่างๆได้รับการคงอันดับ โดยอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาว (Long-term Foreign Currency Issuer Default Rating (“IDR”)) คงอันดับที่ระดับ ‘BB+’ แนวโน้มอันดับเครดิตเป็นบวก อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะสั้นที่ ‘B’ อันดับความแข็งแกร่งทางการเงินที่ ‘D’ และอันดับเครดิตสนับสนุนที่ ‘3’ อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศของหุ้นกู้ด้อยสิทธิของธนาคารได้รับการคงอันดับที่ระดับ ‘BB’ และอันดับเครดิตของตราสารหนี้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุนที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 (Hybrid Tier 1 Securities) ของธนาคาร ที่ ‘B+’ ในขณะเดียวกัน บริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) ได้ประกาศคงอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวของ TMB ที่ ‘A(tha)’ แนวโน้มอันดับเครดิตเป็นบวก อันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้นที่ ‘F1(tha)’ และอันดับเครดิตภายในประเทศของหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่ ‘A-(tha)’ (A ลบ (tha))
ธนาคารได้ทำการเพิ่มเงินกองทุนใหม่จำนวน 9.7 พันล้านบาท ผ่านการขายหุ้นเพิ่มทุนแบบ Rights Issue โดยทำการขายหุ้นใหม่จำนวน 3.22 พันล้านหุ้น ที่ราคาหุ้นละ 3 บาท เงินกองทุนใหม่นี้น่าจะส่งผลให้อัตราเงินกองทุนขั้นที่ 1 เมื่อนับรวมกำไรของครึ่งปีแรกของปี 2549 ของ TMB เพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 9.7% ของสินทรัพย์เสี่ยง จาก 7.4% ที่รายงานไว้ ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2549
ในขณะที่การเพิ่มเงินกองทุนดังกล่าวได้ชี้ให้เห็นถึงความกังวลของฟิทช์เกี่ยวกับความแข็งแกร่งทางการเงินของ TMB ธนาคารยังคงมีระดับการกันสำรองหนี้สูญที่ต่ำ รวมทั้งความสามารถในการทำกำไรและเครือข่ายธนาคารที่อ่อนแอ เมื่อเปรียบเทียบกับธนาคารอื่น ในครึ่งปีแรกของปี 2549 TMB รายงานผลกำไรสุทธิที่ 3.1 พันล้านบาท ลดลงจาก 4.1 พันล้านบาท ในครึ่งปีแรกของปี 2548 โดยมีสาเหตุหลักจากการกันสำรองและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานที่เพิ่มขึ้น อัตรากำไรส่วนต่างดอกเบี้ยสุทธิลดลงเล็กน้อยเป็น 2.10% ในครึ่งปีแรกของปี 2549 จาก 2.12% ในปีก่อนหน้า ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำกว่าธนาคารอื่นอย่างมีนัยสำคัญ สะท้อนถึงคุณภาพของสินทรัพย์ที่ยังอ่อนแอและต้นทุนการระดมทุนที่สูงขึ้น
ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2549 TMB มีสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้อยู่จำนวน 75.5 พันล้านบาท หรือ ประมาณ 13.6% ของสินเชื่อทั้งหมด ลดลงเล็กน้อยจาก 77.4 พันล้านบาท หรือ 14% ณ สิ้นปี 2548 โดยมีสาเหตุหลักจากการบันทึกหนี้สูญตัดบัญชีจำนวน 2.1 พันล้านบาท ระดับสำรองหนี้สูญอยู่ที่ 33 พันล้านบาท หรือเท่ากับ 43.8% ของสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ระดับการกันสำรองหนี้สูญที่อ่อนแอและสินเชื่อที่ผ่านการปรับโครงสร้างหนี้แล้วในระดับที่สูงอาจส่งผลให้ธนาคารต้องกันสำรองหนี้สูญเพิ่มเติมในอนาคต อัตราส่วนหนี้เสียหลังหักสำรองต่อส่วนของผู้ถือหุ้นของ TMB อยู่ที่ 79.7% ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2549 ถึงแม้ว่าเงินกองทุนใหม่น่าจะช่วยให้อัตราส่วนดังกล่าวลดลงไปที่ประมาณ 67.5 % ซึ่งยังจัดว่าเป็นระดับที่สูง เมื่อเปรียบเทียบกับธนาคารอื่นๆโดยส่วนใหญ่
ฟิทช์คงแนวโน้มอันดับเครดิตของ TMB เป็นบวก เนื่องจากฟิทช์มองว่าการเพิ่มเงินกองทุน ประกอบกับเครือข่ายธนาคารที่แข็งแกร่งขึ้น น่าจะส่งผลให้รายได้สูงขึ้นและผลกำไรปรับตัวดีขึ้นในระยะปานกลาง แม้ว่าผลกระทบด้านเครือข่ายธุรกิจจาก Development Bank of Singapore (“DBS”) ซึ่งเป็นผู้ร่วมทุนเชิงกลยุทธ์ โดยมีสัดส่วนการถือหุ้น 16.1% (และมีอันดับเครดิตสากลที่ ‘AA-’ (AA ลบ) / แนวโน้มมีเสถียรภาพ / ‘F1+) น่าจะมีอยู่อย่างจำกัด
หมายเหตุ : การจัดอันดับเครดิตภายในประเทศ (National Ratings) ใช้วัดความน่าเชื่อถือของบริษัทในประเทศที่อันดับเครดิตของประเทศนั้นอยู่ในระดับต่ำกว่าอันดับเครดิตระดับเพื่อการลงทุน หรือมีอันดับเครดิตอยู่ในระดับต่ำแม้จะอยู่ในระดับเพื่อการลงทุน อันดับเครดิตของบริษัทที่ดีที่สุดของประเทศจะอยู่ที่ระดับ “AAA” และการจัดอันดับเครดิตอื่นในประเทศ จะเป็นการเปรียบเทียบความเสี่ยงกับบริษัทที่ดีที่สุดนี้เท่านั้น อันดับเครดิตภายในประเทศนั้นถูกออกแบบมาเพื่อนักลงทุนภายในประเทศในแต่ละประเทศนั้นๆ และมีสัญลักษณ์ที่กำหนดไว้ต่อท้ายจากอันดับเครดิตสำหรับแต่ละประเทศ เช่น “AAA(tha)” ในกรณีของประเทศไทย อันดับเครดิตภายในประเทศนั้นไม่สามารถนำไปใช้เปรียบเทียบระหว่างประเทศได้
คำจำกัดความของอันดับเครดิตและการใช้อันดับเครดิตดังกล่าวของ ฟิทช์ เรทติ้งส์ สามารถหาได้จาก www.fitchratings.com อันดับเครดิตที่ประกาศ หลักเกณฑ์และวิธีการจัดอันดับเครดิต ได้แสดงไว้ในเว็บไซต์ดังกล่าวตลอดเวลา หลักจรรยาบรรณ การรักษาข้อมูลภายใน ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้น แนวทางการเปิดเผยข้อมูลระหว่างบริษัทในเครือ กฏข้อบังคับรวมทั้งนโยบายและกระบวนการที่เกี่ยวข้องอื่นๆของฟิทช์ ได้แสดงไว้ในส่วน ‘หลักจรรยาบรรณ’ ในเว็บไซต์ดังกล่าวเช่นกัน
ติดต่อ
ชัยพัฒน์ ไพฑูรย์, Vincent Milton, กรุงเทพฯ +662 655 4762/4759
David Marshall, ฮ่องกง +852 2263 9963

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version