สำนักงานคณะกรรมการวิจัยฯ โครงการจัดพิมพ์คบไฟและม.ธุรกิจบัณฑิตย์ เปิดตัวโครงการตามหา 100 เล่มหนังสือดีวิทยาศาสตร์

พฤหัส ๓๑ สิงหาคม ๒๐๐๖ ๑๐:๐๔
กรุงเทพฯ--31 ส.ค.--กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มูลนิธิดำรง ลัทธพิพัฒน์ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ โครงการจัดพิมพ์คบไฟ และมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ร่วมกันจัดงานแถลงข่าวเปิดตัวโครงการ 100 เล่มหนังสือดีวิทยาศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ผู้ร่วมแถลงข่าวได้แก่ ศ.ดร.บุญเสริม วีสกุล อธิการบดีกิตติคุณ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ , ศ.ดร.สุทัศน์ ยกส้าน กรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์ , รศ.ดร. ชัยวัฒน์ คุประตกุล กรรมการโครงการจัดพิมพ์คบไฟ และหัวหน้าโครงการ 100 เล่มหนังสือดีวิทยาศาสตร์ มีการเสวนาเรื่อง “ตามล่า... ภูมิปัญญาวิทยาศาสตร์ไทย” โดย ธรรมเกียรติ กันอริ, มณฑานี ตันติสุข และไพรัตน์ พงศ์พาณิชย์
รศ.ดร. ชัยวัฒน์ คุประตกุล กล่าวว่า “โครงการ 100 เล่มหนังสือดีวิทยาศาสตร์ (พ.ศ. 2537-2548) เป็นโครงการต่อเนื่องกับโครงการวิจัยหนังสือดีวิทยาศาสตร์ ซึ่งได้ประกาศยกย่องหนังสือดีวิทยาศาสตร์ไปแล้ว 88 เล่ม จากหนังสือทั้งหมดที่รวบรวมได้ตั้งแต่ยุคสมัยกรุงสุโขทัยถึงปลายปี พ.ศ. 2536 โครงการใหม่นี้มีเป้าหมายรวบรวมหนังสือดีวิทยาศาสตร์ ทั้งหนังสือวิทยาศาสตร์ตรง ๆ และหนังสือประเภทอื่น ๆ ที่แสดงภูมิปัญญาผู้เขียนเชิงวิทยาศาสตร์ หรือส่งเสริมความเป็นวิทยาศาสตร์ ตีพิมพ์เป็นเล่มช่วง พ.ศ. 2537-2548 ให้สมบูรณ์ที่สุด และจะคัดเลือก 100 เล่ม เพื่อประกาศยกย่องต่อไป”
ผลงานเป้าหมายสุดท้ายของโครงการ จะเป็นหนังสือประกอบด้วยสองส่วนสำคัญ คือ ส่วนแรกเป็นบทวิเคราะห์-วิจารณ์ และแนะนำหนังสือทั้ง 100 เล่ม และประวัติผู้เขียน และส่วนที่สอง รายชื่อหนังสือวิทยาศาสตร์ตามกรอบและเกณฑ์ของโครงการ เพื่อแสดงสถานภาพของหนังสือแสดงภูมิปัญญาเชิงวิทยาศาสตร์ของประเทศไทยในยุคปัจจุบัน
โครงการ 100 เล่มหนังสือดีวิทยาศาสตร์ (พ.ศ. 2537-2548)
Project : 100 Good Science Books (1994-2005)
โครงการ 100 เล่มหนังสือดีวิทยาศาสตร์ (พ.ศ. 2537-2548) เป็นโครงการต่อเนื่องกับโครงการวิจัยหนังสือดีวิทยาศาสตร์ ซึ่งได้ประกาศยกย่องหนังสือดีวิทยาศาสตร์ 88 เล่ม สำหรับหนังสือวิทยาศาสตร์จากยุคสมัยกรุงสุโขทัยถึงปลายปี พ.ศ. 2536 (ปริทัศน์หนังสือดีวิทยาศาสตร์ 88 เล่ม , รศ.ดร. ชัยวัฒน์ คุประตกุล และคณะ , สำนักพิมพ์ดับเบิ้ลนายน์ , 2545) โครงการใหม่นี้มีเป้าหมายรวบรวมหนังสือวิทยาศาสตร์ ตีพิมพ์เป็นเล่ม ภาษาไทย ระหว่าง 1 มกราคม 2537 — ธันวาคม 2548 ทั้งหนังสือวิทยาศาสตร์ตรง ๆ และหนังสือประเภทอื่น ๆ ที่แสดงภูมิปัญญาเชิงวิทยาศาสตร์ของผู้เขียน หรือส่งเสริมความเป็นวิทยาศาสตร์ ทั้งหนังสือประเภทร้อยแก้ว และร้อยกรอง รวมทั้งหนังสือแบบเรียนที่เหมาะสำหรับผู้อ่านทั่วไปด้วย และหนังสือการ์ตูน เหมาะสำหรับผู้อ่านตั้งแต่ชั้น ป.5 ขึ้นไป ยกเว้นหนังสือแปลหนังสือคู่มือ หรือตำราระดับสูงเฉพาะด้าน โดยมีเป้าหมายการรวบรวมหนังสือวิทยาศาสตร์ตามกรอบและเกณฑ์ของโครงการให้สมบูรณ์ที่สุด และพิจารณาคัดสรรจำนวน 100 เล่ม เพื่อประกาศยกย่อง ผลงานสุดท้ายคือ หนังสือ “ปริทัศน์ 100 เล่มหนังสือดีวิทยาศาสตร์” หรือชื่ออื่นที่เหมาะสมกว่า ประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก คือ (1) รายชื่อหนังสือกลุ่มเป้าหมายโครงการสมบูรณ์ที่สุด ที่โครงการรวบรวมได้ และ (2) บทวิเคราะห์วิจารณ์แนะนำหนังสือ และประวัติผู้เขียนหนังสือ 100 เล่ม ที่ได้รับการประกาศยกย่อง โดยแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ (1) บันเทิงคดี (2) สารคดีและความรู้ทั่วไป
โครงการ 100 เล่มหนังสือดีวิทยาศาสตร์ ได้รับการสนับสนุนงบดำเนินงานโครงการ จาก (1) มูลนิธิดำรง ลัทธพิพัฒน์ (2) สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์ (3) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ และได้รับงบร่วมสนับสนุนการจัดพิมพ์และเผยแพร่หนังสือผลงานสุดท้ายจาก โครงการจัดพิมพ์คบไฟ เพื่อมอบแก่ห้องสมุดสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาและมัธยมศึกษาจำนวนหนึ่ง โครงการมีคณะทำงาน 8 คน มี รศ.ดร.ชัยวัฒน์ คุประตกุล เป็นหัวหน้าโครงการ มีกรอบเวลาทำงาน 16 เดือน ระหว่าง 1 กรกฎาคม 2549-31 ตุลาคม 2550
สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ