ผู้บริหารเนสท์เล่นำทีมเยี่ยมหมู่บ้านประสบภัยสึนามิ

ศุกร์ ๑๐ มีนาคม ๒๐๐๖ ๑๑:๑๐
กรุงเทพฯ--10 มี.ค.--พีอาร์ แอนด์ แอสโซซิเอส
คุณพรรณี ปาลเดชพงศ์ (ที่สี่จากซ้าย) ผู้อำนวยการ ฝ่ายสื่อสารองค์กร บริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด นำทีมเนสท์เล่ลงพื้นที่ 3 หมู่บ้าน ในจังหวัดพังงา ซึ่งอยู่ในโครงการ “ชีวิตใหม่หลังสึนามิ” ที่เนสท์เล่ให้การสนับสนุน เพื่อเยี่ยมเยียนและติดตามความคืบหน้ากิจกรรมต่างๆ อาทิ กิจกรรมพัฒนาอาชีพและรายได้ กิจกรรมเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน กิจกรรมพัฒนาสุขภาพอนามัยและสิ่งแวดล้อม ฯลฯ พร้อมกันนี้ ได้มอบผลิตภัณฑ์เนสท์เล่ให้แก่โรงเรียนบ้านเจ้าขรัว หมู่บ้านเจ้าขรัว หนึ่งในหมู่บ้านที่ให้การสนับสนุน โดยมีอาจารย์ใหญ่ ครู และตัวแทนหมู่บ้านให้การต้อนรับอย่างอบอุ่น
บริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด ให้การสนับสนุนเงิน 6 ล้านบาท เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตในชุมชนแบบยั่งยืน ในโครงการชีวิตใหม่หลังสึนามิแก่พื้นที่ประสบภัย 3 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่บ้านเจ้าขรัว หมู่บ้านคลองเคียน และหมู่บ้านหินร่ม อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา โดยมีสมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน (พีดีเอ) เป็นผู้ ดูแลโครงการ
สอบถามข้อมูลกรุณาติดต่อ:
คุณกุนธิรา ณัฐวัฒนานนทน์/พีอาร์ แอนด์ แอสโซซิเอส
โทรศัพท์ 02 651-8989 ต่อ 332
E-mail: [email protected]
สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ