พัฒน์กล กำไรหกเดือนแรกกว่า 53 ล้านบาท พร้อมขยายงานด้านธุรกิจพลังงานทดแทน

พุธ ๑๖ สิงหาคม ๒๐๐๖ ๑๖:๕๗
กรุงเทพฯ--16 ส.ค.--พัฒน์กล
พัฒน์กล หรือ “PATKL” ประกาศผลการดำเนินงานหกเดือนแรกปี 49 เติบโตตามเป้าหมาย มีกำไรกว่า 53 ล้านบาท เผยเตรียมรับงานใหญ่ก่อสร้างโรงงานเอทานอล พร้อมขยายตลาดต่างประเทศเพิ่มขึ้น
คุณปิยะ จงวัฒนา กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท พัฒน์กล จำกัด (มหาชน) “PATKL” ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมออกแบบ เปิดเผยถึงผลการดำเนินงานว่า งวด 6 เดือนแรก (1 มกราคม - 30 มิถุนายน) ว่า “พัฒน์กล มีกำไรสุทธิ 53,664,681 ล้านบาท หรือ 0.23 บาทต่อหุ้น เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 55% และในเร็วๆ นี้ พัฒน์กล คาดว่าจะสามารถเซ็นสัญญาสร้างโรงงานผลิตเอทานอลได้อีก 1 ราย หลังจากเดือนมีนาคมที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้รับสร้างโรงงานผลิตเอทานอลแบบครบวงจร (Turnkey) ขนาด 150,000 ลิตรต่อวัน ให้กับบริษัท ราชบุรี เอทานอล จำกัด มูลค่าโครงการ 500 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะสร้างแล้วเสร็จภายในระยะเวลา 18 เดือน ซึ่งพัฒน์กล ถือเป็นบริษัทวิศวกรรมของคนไทยผู้รับสร้างโรงงานเอทานอลรายแรกในประเทศไทย”
ตลอด 40 ปีที่ผ่านมา พัฒน์กล มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ทั้งในเรื่องปริมาณการค้า การส่งออก การขยายไลน์ผลิตภัณฑ์ ทั้งนี้ พัฒน์กลและบริษัทย่อยมีสินทรัพย์รวม 2,885 พันล้านบาท เติบโตขึ้นกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนถึง 6% ปัจจุบัน พัฒน์กลมีพนักงานกว่า 1,300 คน และมีวิศวกรกว่า 300 คน พัฒน์กล มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ถนนเฉลิมพระเกียรติ ร.9 แขวงหนองบอน เขตประเวศ กทม. โรงงานอีก 2 แห่งอยู่ที่ ถนนกิ่งแก้ว บางพลี ภายใต้ชื่อบริษัท พัฒน์กล จำกัด (มหาชน) และ จ. เพชรบุรี ภายใต้ชื่อบริษัท พัฒน์กลแมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอ
คุณปิยะ กล่าวเพิ่มเติมว่า “ในส่วนของโครงการ Turnkey ที่รับงานทางก่อสร้างโรงงานเอทานอลนั้น เป็นการต่อยอดทางธุรกิจ จากเดิมที่พัฒน์กลได้รับงานออกแบบและก่อสร้างโรงงาน อาทิ โรงงานทูน่ากระป๋องแบบครบวงจรสำหรับบริษัท ปรินซ์เซส ทูน่า (เมอร์ริเชียส) จำกัด โรงงานกุ้งแช่แข็งสำหรับบริษัท สุรพลซีฟู้ด และโรงงานแปรรูปผักและผลไม้สำหรับบริษัท ไทย ยูเนียน โฟรเซน ฟู้ด เป็นต้น รวมถึงเป็นผู้ออกแบบและรสร้างถังสแตนเลสซึ่งเป็นส่วนสำคัญของเครื่องจักรผลิตเอทานอล และสำหรับโครงการก่อสร้างราชบุรี เอทานอล เบื้องต้นคาดว่าจะสามารถรับรู้รายได้ในปีนี้ประมาณ 200 ล้านบาท และล่าสุด พัฒน์กล ได้ทำการขายเครื่องทำน้ำแข็งให้กับ Readdy Ice ซึ่งเป็นบริษัทที่มีส่วนแบ่งการตลาดด้านการผลิตน้ำแข็งสูงสุดในอเมริกา มูลค่าเบื้องต้นราว 9.5 ล้านบาท ซึ่งเป็นแนวโน้มอันดีที่พัฒน์กลจะสามารถขยายตลาดไปสู่ต่างประเทศได้เพิ่มขึ้น ส่วนทิศทางธุรกิจของพัฒน์กล ช่วงครึ่งปี 49 นี้ เชื่อว่าจะยังคงเติบโตด้วยดี ซึ่งบริษัทฯ ยังคงเน้นการวิจัยและพัฒนาสินค้าอย่างต่อเนื่อง และคาดว่าจะสามารถออกผลิตภัณฑ์ใหม่ได้อีกหลายตัว เพื่อขยายตลาดทั้งในและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง”
Note to Editor: บริษัท พัฒน์กล จำกัด มหาชน “PATKL” ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2508 เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านงานวิศวกรรมออกแบบ และเป็นผู้นำในการผลิตเครื่องจักรสำหรับงานอุตสาหกรรมอาหารและห้องเย็นในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ปัจจุบันก้าวสู่ธุรกิจใหม่ด้วยการสร้างโรงงานผลิตเอทานอลแบบครบวงจร (Turnkey) โดยใช้เทคโนโลยีอันดับ 1 ของโลกในเรื่องการผลิตเอทานอลเพื่อให้ได้ผลผลิตสูงสุด พัฒน์กลมีพนักงานกว่า 1,300 คน และเป็นวิศวกรกว่า 300 คน พัฒน์กลยังมีแผนก R&D ซึ่งมีวิศวกรระดับปริญญาโทมากกว่า 20 คน ในการค้นคว้าและวิจัยสำหรับผลิตภัณฑ์ใหม่
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ
คุณทิพวรรณ วอทอง (โม)
โทร. 01 421 2923 หรือ E-mail: [email protected]
สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ