กฟผ. พร้อมเชื่อมเครือข่ายข้อมูล จากเครื่องมือตรวจวัดแผ่นดินไหวของกรมอุตุนิยมวิทยา

ศุกร์ ๐๘ กันยายน ๒๐๐๖ ๑๖:๐๙
กรุงเทพฯ--8 ก.ย.--กฟผ.
ฝ่ายบำรุงรักษาโยธา กฟผ. เร่งประสานความร่วมมือในการติดตั้งเครื่องมือตรวจวัดแผ่นดินไหวระบบ DIGITAL กับกรมอุตุนิยมวิทยา โครงการแรกติดตั้งแล้วเสร็จ 4 เขื่อน
เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2549 นายวัฒนา ทองศิริ ผู้ช่วยผู้ว่าการโรงไฟฟ้าพลังน้ำ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เป็นประธานในการประชุมร่วมระหว่าง กฟผ. กับ กรมอุตุนิยมวิทยา ในหัวข้อ “โครงข่ายการติดตั้งเครื่องมือตรวจวัดแผ่นดินไหวระบบ DIGITAL” โดยมี นายบุรินทร์ เวชบรรเทิง ผู้อำนวยการฝ่ายตรวจวัดแผ่นดินไหวอาเซียน กรมอุตุนิยมวิทยา และ นายแกว่น สีตะธนี ผู้อำนวยการฝ่ายบำรุงรักษาโยธา กฟผ. และ ผู้แทนจากทั้ง 4 เขื่อนที่ได้ทำการติดตั้งเครื่องมือตรวจวัดเแล้วเสร็จ เข้าร่วมประชุม
นายบุรินทร์ เวชบรรเทิง ผู้อำนวยการฝ่ายตรวจวัดแผ่นดินไหวอาเซียน กล่าวว่า ขณะนี้กรมอุตุนิยมวิทยา ได้ทำการติดตั้ง เครื่องมือตรวจวัดแผ่นดินไหวระบบ Digital เสร็จสิ้นแล้ว 15 แห่ง ทั่วประเทศไทย โดยในระยะแรก ได้ทำการติดตั้งในพื้นที่ของ กฟผ.แล้วเสร็จ 4 แห่ง ได้แก่ เขื่อนศรีนครินทร์ เขื่อนวชิราลงกรณ เขื่อนน้ำพุง เขื่อนปากมูล ส่วนโครงการระยะที่ 2 คาดว่าจะทำการติดตั้งที่เขื่อนภูมิพล เขื่อนรัชชประภา เขื่อนสิริกิต์ เขื่อนบางลาง และ เหมืองแม่เมาะ ซึ่งจะทำการศึกษารายละเอียดของสภาพพื้นที่ต่อไป ส่วนการเชื่อมโยงข้อมูลกับเครื่องมือตรวจวัดแผ่นดินไหวที่ติดตั้งไว้ที่เขื่อนทั้งสี่แห่งของ กฟผ. ในขณะนี้กรมอุตุนิยมวิทยากำลังเร่งทำการติดตั้งโปรแกรม Software ที่ใช้ในการคำนวณการตรวจวัดแผ่นดินไหว เพื่อให้มีการเตือนภัยได้อย่างทันต่อเหตุการณ์ และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ความร่วมมือในการติดตั้งเครื่องมือตรวจวัดแผ่นดินไหวระหว่าง กฟผ. กับกรมอุตุนิยมวิทยานั้น เป็นไปตามโครงการประสานข้อมูลเพื่อการเตือนภัยจากอุบัติภัยธรรมชาติ โดยกรมอุตุนิยมวิทยาได้ติดตั้งเครื่องมือตรวจวัดแผ่นดินไหวในระบบ Digital ซึ่งรวดเร็วทันสมัยกว่าระบบ Analog ของเดิม โดยติดตั้งเพิ่มเติมอีก 25 แห่ง ทั่วประเทศ ในส่วนของ กฟผ. นั้น เมื่อกรมอุตุฯ ทำการติดตั้งอุปกรณ์ทั้งหมดเสร็จสิ้น ทั้ง 2 ระยะ จะทำให้สามารถเชื่อมโยงเครือข่ายข้อมูลร่วมกันได้ นอกเหนือจากอุปกรณ์ที่ กฟผ. ทำการติดตั้งเองอยู่ก่อนหน้านี้
นายแกว่น สีตะธนี ผู้อำนวยการฝ่ายบำรุงรักษาโยธา กล่าวภายหลังการประชุมร่วมว่า ข้อดีของโครงการเชื่อมเครือข่ายข้อมูลนี้ เมื่อทำการติดตั้งทั้งระบบแล้วเสร็จและพร้อมใช้งาน จะทำให้ กฟผ. มีโครงข่ายที่สามารถรับข้อมูลเพิ่มขึ้นและยังสามารถนำมาใช้ได้ทันทีเพราะเป็นข้อมูลที่มาจากผู้เชี่ยวชาญของประเทศโดยตรง อีกทั้งมีความรวดเร็วในการถ่ายทอดข้อมูลโดยดาวเทียม IPSTAR และแจ้งข้อมูลผ่านทาง Website ของกรมอุตุนิยมวิทยา นอกจากนี้อุปกรณ์ส่วนหนึ่งที่นำมาติดตั้งจะสามารถเตือนให้ทราบได้อย่างรวดเร็วว่ามีเหตุการณ์ที่จะส่งผลกระทบกับโครงสร้างของกฟผ.โดยตรง หรือไม่ ซึ่งจะช่วยในการตรวจสอบบำรุงรักษาความมั่นคงของสิ่งก่อสร้างของ กฟผ.ได้ดียิ่งขึ้น เพราะจะทราบถึงอัตราเร่ง หรือแรงที่เกิดจากแผ่นดินไหวในส่วนต่างๆ ได้
สำหรับความร่วมมือในการดำเนินการโครงการระยะที่ 2 นั้น กฟผ. พร้อมประสานความร่วมมือในการหาตำแหน่งติดตั้งอุปกรณ์ตรวจวัดในพื้นที่ รวมไปถึงการดูแลความปลอดภัยของอุปกรณ์ตรวจวัดที่อยู่ในพื้นที่และการอำนวยความสะดวกอื่นๆ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๓๑ ม.ค. รู้จักโรคอ้วนดีแล้ว.จริงหรือ?
๓๑ ม.ค. บมจ.ไทยเซ็นทรัลเคมี ร่วมกับ MBK ส่งมอบปฏิทินในกิจกรรม ปฏิทินเก่ามีค่า เราขอ
๓๑ ม.ค. BSRC ออกหุ้นกู้รอบใหม่ 8,000 ล้านบาท ยอดจองเกินเป้า ตอกย้ำความเชื่อมั่นของผู้ลงทุน
๓๑ ม.ค. คปภ. ร่วมสัมมนาประกันภัย ครั้งที่ 29 เตรียมรับมือความเสี่ยงอุบัติใหม่ พลิกโฉมธุรกิจประกันภัยสู่ความท้าทายในอนาคต
๓๑ ม.ค. มอบของขวัญให้กับครอบครัวของคุณช่วงวันหยุดพิเศษที่ สเตย์บริดจ์ สวีท แบงค็อก สุขุมวิท
๓๑ ม.ค. OR เปิดตัว CEO คนใหม่ หม่อมหลวงปีกทอง ทองใหญ่ มุ่งผลักดันไทยสู่ Oil Hub แห่งภูมิภาค พร้อมขับเคลื่อนองค์กรด้วยดิจิทัล-นวัตกรรม
๓๑ ม.ค. เดลต้า ประเทศไทย คว้ารางวัล ASEAN's Top Corporate Brand ประจำปี 2567
๓๑ ม.ค. โรงแรมอลอฟท์ กรุงเทพ สุขุมวิท 11 พลิกโฉมใหม่ สุดโมเดิร์น! พร้อมเปิดตัว w xyz bar ตอกย้ำความสนุกในแบบฉบับ
๓๑ ม.ค. PAUL JOE เปิดตัว GLOSSY ROUGE ต้อนรับฤดูใบไม้ผลิ 2025
๓๑ ม.ค. บริษัท โกซอฟท์ (ประเทศไทย) ได้รับเกียรติบัตรศูนย์ รับเรื่องและแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภคระดับดีเด่น จาก สคบ. และการรับรองมาตรฐาน ISO