ธนาคารยูโอบี ประกาศกำไรสุทธิ 919 ล้านบาท ในครึ่งปีแรก ปี 2549

ศุกร์ ๒๑ กรกฎาคม ๒๐๐๖ ๑๑:๓๖
กรุงเทพฯ--21 ก.ค.--ธนาคารยูโอบี
ธนาคารยูโอบี ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของกลุ่มธนาคารยูโอบี ประเทศสิงคโปร์ เปิดเผยว่า ในช่วงครึ่งปีแรก ปี 2549 นี้ ธนาคารมีกำไรสุทธิจำนวนทั้งสิ้น 919 ล้านบาท
กำไรสุทธิของธนาคารในครึ่งแรกของปี 2549 จำนวน 919 ล้านบาท คิดเป็นอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 44.3 จากกำไรสุทธิจำนวน 637 ล้านบาทในช่วงเวลาเดียวกันปี 2548 (รายละเอียดในงบการเงินโดยสรุปในเอกสารแนบ 1) การเพิ่มขึ้นของกำไรสุทธิดังกล่าวเป็นผลจากการรวมกิจการกับธนาคารยูโอบี รัตนสินเสร็จสมบูรณ์ตั้งแต่วันที่ 28 พฤศจิกายน 2548
หากพิจารณาเปรียบเทียบกับงบเสมือนรวมกิจการ ซึ่งเป็นงบการเงินที่รวมผลการดำเนินงานของธนาคารยูโอบี (เดิมคือธนาคารเอเชีย) และธนาคารยูโอบี รัตนสินเข้าด้วยกัน ในช่วงครึ่งแรกของปี 2548 มีกำไรสุทธิ 824 ล้านบาท เทียบกับครึ่งแรกของปี 2549 ที่ธนาคารยูโอบีมีกำไรสุทธิจำนวน 919 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการเติบโตร้อยละ 11.5 (รายละเอียดในเอกสารแนบ 2) อัตราการเติบโตดังกล่าวเป็นผลจากการดำเนินงานของธนาคารที่ดีขึ้น แม้ว่าจะได้ตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญเพิ่มขึ้น
จากงบเสมือนรวมกิจการ กำไรจากการดำเนินงาน(ก่อนหนี้สูญและหนี้สงสัยจะสูญ) ของธนาคารยูโอบีในช่วงครึ่งแรก ของปี 2549 มีจำนวน 1,552 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.0 จาก 1,424 ล้านบาท ของช่วงเวลาเดียวกันปี 2548 รายได้ดอกเบี้ยและเงินปันผลสุทธิ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 เป็น 3,241 ล้านบาท ในขณะที่รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยลดลงร้อยละ 11.7 เป็น 1,357 ล้านบาท ทั้งนี้เนื่องจากธนาคารมีกำไรจากการลงทุนที่น้อยลง ค่าใช้จ่ายดำเนินงานลดลงร้อยละ 9.0 เป็น 3,046 ล้านบาท เนื่องจากการรวมกิจการของธนาคารที่แล้วเสร็จในปี 2548 จึงทำให้ไม่มีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการรวมกิจการเกิดขึ้นในปี 2549 อย่างไรก็ตาม ธนาคารได้ตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญเพิ่มขึ้นเป็น 627 ล้านบาท เปรียบเทียบกับงวดเดียวกันปี 2548 ที่มีจำนวน 583 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการตั้งสำรองจากการดำเนินงานตามปกติ
ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2549 ธนาคารมียอดสินเชื่อทั้งสิ้น 159.9 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 จากสิ้นปี 2548 ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อในสภาพตลาดและภาวะธุรกิจที่ยังคงไม่แสดงแนวโน้มที่แข็งแรงนัก จากภาวะดังกล่าวธนาคารได้ทำการลดลำดับชั้นสินเชื่อบางรายให้เป็นสินเชื่อด้อยคุณภาพ (NPL) โดยพิจารณาจากการทบทวนคุณภาพลูกหนี้ด้วยความระมัดระวังอย่างเคร่งครัด แม้ว่าลูกหนี้เหล่านั้นจะยังคงมีความสามารถในการชำระหนี้คืนได้ก็ตาม ส่งผลให้อัตราสินเชื่อด้อยคุณภาพต่อสินเชื่อรวมของธนาคารเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 13.5 เทียบกับร้อยละ 10.5 เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2548 อย่างไรก็ตาม การปรับลดลำดับชั้นของสินเชื่อด้อยคุณภาพดังกล่าวไม่กระทบต่อการตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญของธนาคาร เนื่องจากธนาคารได้ทำการกันสำรองสำหรับบัญชีสินเชื่อดังกล่าวไว้แล้วก่อนหน้านี้ ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2549 เงินฝากของธนาคารลดลงร้อยละ 2.8 เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2548 เป็น 148.2 พันล้านบาท (รายละเอียดในเอกสารแนบ 3 แสดงรายการงบดุลที่สำคัญ)
อัตราเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงของธนาคารยังอยู่ในระดับสูง ที่ร้อยละ 17.75

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ