แจ๊ส...ดนตรีร่วมสมัยที่ไม่หยุดนิ่ง ถ่ายทอดสู่ห้องสมุดดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ ทีเค ปาร์ค

อังคาร ๑๘ เมษายน ๒๐๐๖ ๑๖:๐๙
กรุงเทพฯ--18 เม.ย.--แม็กซิม่า
“เสน่ห์ของดนตรีแจ๊สเป็นภาษาอย่างหนึ่ง ที่พูดคุยกันอย่างออกรส มีรสชาติ สามารถแสดงความเป็นตัวตนที่แท้จริง และความใหม่ ความสด ระหว่างการเล่นของเหล่านักดนตรี และกับผู้ชมให้สอดรับกัน ทำให้ไม่มีความตายตัวของตัวโน้ต ต้องลุ้นว่าจะจบอย่างไรในแต่ละครั้งที่เล่น ถึงแม้เป็นเพลงเดียวกัน ในดนตรีแจ๊สแล้วบทประพันธ์ไม่สำคัญเท่ากับการเล่น” อนันต์ ลือประดิษฐ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านดนตรีแจ๊ส เป็นผู้กล่าวเปรียบเปรย ซึ่งเป็นผู้หนึ่งที่ได้อุทิศเวลาส่วนหนึ่ง ในการถ่ายทอดเรื่องราวแจ๊สตั้งแต่ยุคเริ่มต้นในปี ค.ศ.1917 จวบจนถึงทุกวันนี้ พร้อมกับการเสนอการพัฒนาของแจ๊สในแต่ละยุคแต่ละสไตล์ ตัวอย่างเพลง และ 70 ศิลปินแจ๊สผู้โด่งดัง และเป็นที่ชื่นชอบให้แก่ห้องสมุดดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ ทีเค ปาร์ค เพื่อให้เยาวชนและผู้สนใจสามารถเสิร์ชข้อมูลผ่านระบบอินทราเน็ตที่ ทีเค ปาร์ค แห่งใหม่ ณ ชั้น 8 อาคารเซ็นทรัลเวิลด์ โซน D โดยเริ่มตั้งแต่ 26 พฤษภาคมนี้เป็นต้นไป
“ผมเป็นนักฟังเพลงมาเกือบตลอดชีวิต ประมาณ 20-30 ปีแล้ว ฟังเพลงได้ทุกแนว แต่ผมให้ความสนใจเป็นพิเศษกับดนตรีแจ๊ส เพราะสังคมไทยยังขาดองค์ความรู้ทางด้านนี้ ไม่มีตำราไทย ทำให้ผมศึกษาค้นคว้ามาตลอด และจนถึงวันนี้อยากถ่ายทอดเรื่องราว ข้อมูล ความรู้ที่ได้ศึกษาค้นคว้าให้กับชนรุ่นหลัง” อนันต์ ลือประดิษฐ์ กล่าวก่อนที่จะเปิดเผยต่อว่า “แจ๊สเป็นดนตรีแขนงหนึ่งที่สร้างสรรค์โดยชนผิวดำชาวอเมริกัน ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 โดยเป็นการผสมผสานระหว่างดนตรีแอฟริกันและยุโรป เริ่มจากแจ๊สนิวออลีนส์ และ ดิซีแลนด์ ต่อมามีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยแบ่งออกเป็นแต่ละยุค แต่ละสไตล์ รวมแล้วมีถึงกว่า 30 สไตล์ ศิลปินแจ๊สที่ได้รับการยกย่อง อาทิ Louis Armstrong, Duke Ellington, Charlie Parker, John Coltrane, Thelonious Monk โดย 3 ท่านหลังได้ใช้ทฤษฎีใหม่ช่วย มีปรัชญา มีองค์ความรู้มากขึ้น ซีเรียสขึ้น ประกอบกับตัวโน๊ตที่ซับซ้อนขึ้น สำหรับในบ้านเรา แจ๊สเข้ามามีบทบาทในดนตรีไทยประมาณกว่า 50 ปี โดยมีกลิ่นอาย คอร์ด สำเนียง เช่น เพลงรักเองช้ำเอง ของคุณชรัส เฟื่องอารมย์ เป็นต้น แต่ดนตรีแจ๊สเพิ่งมาฮิตในช่วงไม่กี่ปีหลังนี้เอง และมีศิลปินบ้านเราหันมาทำเพลงอย่างจริงจัง เช่น โก้ แซ็กแมน, โมโนโทน, ดูบาดู, อ.ปราชญ์ อรุณรังษี, ชาตรี คงสุวรรณ เป็นต้น ในขณะที่นักการตลาด นักการจัดงาน ได้ทำการโปรโมทว่าแจ๊สคือความสำเร็จในชีวิต จึงทำให้ผู้คนหันมาสนใจมากยิ่งขึ้น”
“คนฟังเพลงแจ๊สจะไม่ฉาบฉวย จะเสพ จะบริโภค ได้ทั้งหมด แจ๊สเป็นพื้นฐานของดนตรีสมัยใหม่ จากประสบการณ์ในการจัดงานแจ๊สเฟสติวัล มีผู้ชมตั้งแต่เด็ก 4-5 ขวบถึงวัยรุ่นตลอดจนเป็นผู้ใหญ่ จึงคิดว่าดนตรีแจ๊สเหมาะกับทุกวัย ใครฟังแล้วชอบก็ฟังกันเถอะครับ” อนันต์ ลือประดิษฐ์ กล่าวทิ้งท้าย
เปิดโลกทัศน์ของดนตรีแจ๊สให้กว้างขึ้น เริ่มต้นได้ที่ห้องสมุดดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ ทีเค ปาร์ค ผ่านระบบอินทราเน็ตที่ทันสมัย ณ ชั้น 8 อาคารเซ็นทรัลเวิลด์ โซน D ตั้งแต่ 26 พฤษภาคมนี้เป็นต้นไป ได้ทั้งความรู้และความเพลิดเพลินทั้งจากการอ่านและจากการฟังตัวอย่างดนตรีแจ๊สในแต่ละยุคแต่ละสไตล์ร่วม 100 เพลง!!
หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ
บริษัทแม็กซิม่า คอลซัลแตนท์ จำกัด โทร 0-2434-8300
คุณสุจินดา, คุณแสงนภา, คุณปิติยา
สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ