นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และนายปรีชา เลาหพงศ์ชนะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ร่วมประชุมหารือกับผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงพาณิชย์

อังคาร ๒๓ พฤษภาคม ๒๐๐๖ ๐๘:๑๒
กรุงเทพฯ--23 พ.ค.--ก.พาณิชย์
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และนายปรีชา เลาหพงศ์ชนะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
ร่วมประชุมหารือกับผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงพาณิชย์เมื่อวันจันทร์ที่ 22 พฤษภาคม 2549 ณ ห้อง 30410 กระทรวงพาณิชย์
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวภายหลังการประชุมร่วมกับผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงพาณิชย์ ว่าวันนี้ได้เรียกผู้บริหารของกระทรวงพาณิชย์เพื่อกำชับให้ข้าราชการระดับสูงทุกท่านให้ปฏิบัติภารกิจเต็มที่เพราะเนื่องจากเป็นระยะเวลาหลายเดือนถึงจะมีการเลือกตั้งใหม่ ฉะนั้นเพื่อให้งานทุกอย่างเดินหน้าได้อย่างดีก็ขอให้ทุกท่านทำงานให้เต็มที่เสมือนหนึ่งเป็นรัฐบาลปกติซึ่งข้าราชการทุกท่านก็รับปากว่าจะทำงานอย่างเต็มที่
ทั้งนี้ได้ย้ำให้ทราบว่าในช่วงนี้งานสำคัญสองด้านที่มีความสำคัญมาก ๆ อยากจะให้ช่วยดูแลเป็นพิเศษ ด้านที่หนึ่งก็คือ เรื่องค่าครองชีพของประชาชน เพราะขณะนี้ราคาน้ำมันก็ค่อนข้างจะแพง ดังนั้นนโยบายเรื่องของโครงการธงฟ้ามหาชนที่ขอให้จัดขึ้นมาทุกเดือนนั้นขอให้จัดทำเป็นอย่างดี และให้มีสินค้าจำเป็น ที่เพียงพอ ซึ่งครั้งแรกที่จะจัดขึ้นในวันที่ 3-4 มิถุนายน 2549 อันนี้ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีระหว่างกระทรวงพาณิชย์กับกระทรวงมหาดไทย คือจะพยายามจัดหาสินค้าที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิต ให้กับประชาชนที่มีรายได้น้อยให้ทั่วถึง และในขณะเดียวกันจะให้มีสินค้า OTOP มาร่วมในโครงการด้วย และให้ทุกหน่วยงานช่วยกันประสานงานกับทางภาคเอกชนโดยอยากให้ทำได้ดีและเพียงพอแก่ความต้องการ
อีกเรื่องคือเรื่องของสินค้าเกษตรก็กำชับว่าจะต้องไม่ให้ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำเพราะนั่นหมายถึงรายได้ของเกษตรกร และท่านอธิบดีกรมการค้าภายในก็รับปากว่าจะดำเนินการเป็นอย่างดี และเรื่องสำคัญอีกด้านหนึ่งก็คือ เรื่องของดุลการค้าเราทราบกันดีว่าที่ผ่านมาราคาน้ำมันแพงมาก ผู้ประกอบการเอกชนก็ต้องต่อสู้เรื่องปัญหาราคาน้ำมันแพงพอสมควร ค่าเงินที่ผ่านมาค่อนข้างจะแข็ง ฉะนั้นตรงนี้ทางกรมส่งเสริมการส่งออกและกรมการค้าต่างประเทศจะต้องร่วมมือกันช่วยบุกเบิกตลาดให้กับภาคเอกชนด้วย
ทั้งนี้ดุลการค้าเดือนเมษายน 2549 ที่ผ่านมาตัวเลขขาดดุล 551.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ อันนี้ถือว่าดีกว่าที่คาดไว้แต่เดิมจะต้องคาดดุลอย่างน้อย ๆ พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ต้นเหตุสำคัญก็มาจากเรื่องราคาพลังงานเป็นหลักใหญ่ สำหรับการส่งออกในเดือนเมษายน 2549 มีมูลค่า 9,205.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2548 เพิ่มขึ้นร้อยละประมาณ 11.7 ก็เกือบ 2% ถือว่าพอสมควรทีเดียว แต่ว่าเนื่องจากราคาน้ำมันสูงฉะนั้นเรื่องของการขาดดุลการค้าก็อยากที่จะหลีกเลี่ยงแต่ก็ถือว่าดีกว่าที่คาดไว้ ก็ได้กำชับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับต่างประเทศเร่งระดมหาทางที่จะเปิดตลาด และให้ร่วมประชุมกับภาคเอกชนว่ามีอะไรที่จะช่วยผลักดันช่วยเหลือภาคเอกชนได้บ้าง ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นเรื่องใหญ่ ๆ ที่ประชุมกันในวันนี้
ภาพ/ข่าว ถอดความ โดย : กลุ่มงานประสานการเมือง สำนักงานรัฐมนตรี
22 พฤษภาคม 2549
ของบูรณาการว่าทำร่วมกัน เพื่อยกระดับมูลค่าตาม chain value ตั้งแต่ต้นจดปลาย เหตุผลประการที่สามที่สำคัญแห่งการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ ก็คือว่า ต้องการสร้างความพร้อมให้กับเศรษฐกิจไทยที่จะแข่งขันได้ในยุคซึ่งกระแสการค้าเสรีที่กำลังเป็นจริงเป็นจังขึ้นมา กระแสการค้าเสรีไม่ใช่เพิ่งจะเกิดขึ้นผมได้พูดหลายครั้งแล้ว จริง ๆ แล้วกระแสนี้เริ่มมีมาเป็นเกือบ 10 ปีแล้ว แต่ในครั้งนั้นเป็นเพียงการพูดคุยมองเห็นเลา ๆ แต่เริ่มชัดเจนขึ้น ๆ ทุก ๆ ขณะ แต่มาเริ่มเห็นจริงจังในช่วงปัจจุบันนี้ กราบเรียนได้เลยว่าการค้าเสรีนั้นเป็นกระแส หรือ ภาษาอังกฤษเรียก wind of change กระแสลมแห่งการเปลี่ยนที่ท่านจะไม่มีวันหลีกเลี่ยงและหลีกเลี่ยงไม่ได้ด้วย ถ้าท่านยังถือว่าท่านเป็นประเทศหนึ่งที่อยู่บนสังคมโลก เพราะมันเป็นแรงผลักดันจากประเทศต่าง ๆ เกือบทั้งโลก โดยใช้องค์กรในระดับโลกผลักดันให้เกิดกรอบและแนวทางแห่งการค้าของโลกในทศวรรษหน้า benchmark ที่สำคัญหรือช่วงเวลาสำคัญที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงประมาณ ค.ศ. 2010 (พ.ศ. 2553) ช่วงนั้นจะเป็นช่วงพลิกผันอย่างชัดเจน
การผลักดันต่าง ๆ เหล่านั้นมีทั้งในระดับของภูมิภาค อย่างเช่น APEC ในระดับโลก อย่างเช่น WTO ในระดับอนุภูมิภาค เช่น AFTA เป็นต้น ฉะนั้นกรอบและแนวทางการค้าเสรีจะต้องเกิดแน่นอนโดยไม่มีทางหลีกเลี่ยง นอกเสียจากว่าท่านปรารถนาอยู่คนเดียวในโลกนี้ถึงจะทำอย่างนั้นได้ คือไม่ต้องยุ่งกับใคร แต่ถ้าเราบอกว่าตัวเราเป็นส่วนหนึ่งของสังคมโลกจะอยู่หรือไปนั้น จะรุ่งเรืองหรือว่าซบเซาขึ้นอยู่กับว่าการเตรียมตัวของเราให้พร้อม เราต้องเตรียมตัวตั้งแต่บัดนี้ เพราะเมื่อการเจรจาในระดับพหุภาคีอย่างเช่น WTO ก็ดี APEC ก็ดี หรือเวทีใด ๆ ในขณะนี้มองว่า 2010 เป็นช่วงเวลาสำคัญมากที่เริ่มมีการค้าเสรีจะเกิดขึ้นเป็นจังหวะแรก ก็เลยทำให้การเจรจา bilateral FTA นั้นยิ่งทวีความสำคัญขึ้นมาอีก เพราะว่าทุกประเทศรู้แล้วว่าช่วงเวลาข้างหน้าจะมีการค้าเสรีแน่นอน เมื่อมีการค้าเสรีแน่นอนทุกประเทศหลีกเลี่ยงไม่ได้ ประเด็นตอนนี้ก็คือว่ารีบหา partner ที่จะเจรจาก่อนที่จะเกิดการค้าเสรีที่จะเกิด ณ ปีนั้นๆ ถ้าเจรจาได้สำเร็จเลือก partner ที่ดี ได้ dealที่ดี ก็แปลว่าคุณสามารถ gain market share สัดส่วนตลาดแย่งจากคู่แข่งได้ทันที ขณะนี้การเคลื่อนไหวในเชิงการให้มีการเจรจาการค้าสองประเทศแรงมากและก็เร็วมาก ไม่ว่าไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ หรือที่ไหนในโลกนี้ก็แล้วแต่ ตอนนี้ทุกฝ่ายเร่งหาว่าหุ้นส่วนที่เราจะเจรจาด้วยควรจะเป็นใครและจะเจรจาให้จบเมื่อไร เจรจาอย่างไร ก่อนใคร เพื่อเราจะได้เข้าสู่ตลาดก่อนเค้าช่วงชิงความได้เปรียบให้มันเกิดขึ้นก่อนที่วันซึ่งการค้าเสรีจะเกิดขึ้นในระดับที่เป็นไปตามข้อตกลงของโลก ฉะนั้นกุญแจมันอยู่ที่ว่าในเมื่อมันหลีกเลี่ยงไม่ได้เราต้องไม่ทำตัวเหมือนกับนกกระจอกเทศ เอาศีรษะซุกอยู่ในดิน เอามือปิดหู ไม่สนใจใคร ไม่มองหน้าใคร อย่างนั้นทำไม่ได้ ประเทศได้รับความเสียหาย ดังนั้นเราต้องยอมรับความจริงว่ามันเกิดขึ้นแน่ ไม่ใช่เกิดขึ้นเพราะเราอยากทำ แต่เกิดขึ้นเพราะกระแสโลกบีบเราแล้วต้องทำ ฉะนั้นภายใน context บริบท อันนี้แหละคุณต้องช่วงชิงช่วงเวลาและยุทธศาสตร์ที่ถูกต้อง ที่ผ่านมามีการเจรจา bilateral FTA กับหลายประเทศ ที่สำคัญจริง ๆ คือการเริ่มเจรจากับญี่ปุ่นเพราะเขาเป็นประเทศที่มีการลงทุนในประเทศไทยสูงสุดเป็นอันดับหนึ่ง เค้ามุ่งจากประเทศไทยไปประเทศอื่นนั้น เราจะเสียเปรียบคนอื่นจะได้เปรียบ ฉะนั้นการเจรจากับญี่ปุ่นเป็นสิ่งที่เราค่อนข้างซีเรียส และใกล้จะจบแล้วเข้าใจว่า 95% ของการเจรจานั้นจะจบภายในเดือนนี้หรือเดือนหน้า ที่ผมตั้งใจจะไปญี่ปุ่นนั้นไปให้ได้ final hearing ว่า ฟังครั้งสุดท้ายว่าเขาจะขออะไรเพื่อจะเจรจาให้จบเหมือนกับครั้งที่เราเริ่มเจรจาเพื่อรับฟังครั้งสุดท้ายว่าสิ่งที่มันตันนั้นมันตันตรงไหน ฉะนั้นเรามั่นใจว่าจบแน่นอนภายในสองเดือนนี้ ประเทศอื่นไม่มีสิทธิที่จะมาแย่งคิวนี้ได้ อย่างที่ผมกราบเรียนถ้าเราเจรจาจบต่อไป electronicsญี่ปุ่นต้องมาที่นี่ผมว่าเรามีความมุ่งมั่นเป็นการส่วนตัว
และขณะนี้เรากำลังเจรจา FTA กับสหรัฐอเมริกา และก็เป็นข่าวเยอะมาก การเจรจากับสหรัฐฯ นั้น คณะผู้เจรจาทำงานหนักมาก เพราะรู้ว่า deal นี้เป็น deal ที่สำคัญ ประเทศนี้เป็นประเทศที่เป็นฐานส่งออกของไทย ร้อยละ 15 ของการส่งออกไทยไปสหรัฐฯ market share มูลค่าประมาณเกือบ 7 แสนล้านบาทต่อปี คิดเป็นเงินดอลล่าร์ประมาณ 16-17 พันล้านหรียญสหรัฐฯ ที่สำคัญก็คือเราเป็นประเทศที่ได้ดุลการค้า เราได้ดุลจากเขาปีหนึ่งประมาณ 3 แสนล้านบาท ประมาณ 6-7 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ตรงนี้ไม่ใช่เหตุผลสำคัญ สหรัฐฯเป็นประเทศใหญ่สุดทางเศรษฐกิจในโลก มีอำนาจการเมืองสูง และมีผลกระทบต่ออะไรหลาย ๆ อย่างที่จะเกิดขึ้นในอนาคตข้างหน้า ถ้าเราสามารถ deal กับเขาในทิศทางซึ่งเราไม่เสียเปรียบและทั้งสองฝ่ายได้ประโยชน์สิ่งนั้นจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยสูงมาก เพราะเขาเองต้องการเจรจากับไทย เขาเคยบอกว่าถ้าเราไม่อย่างโน้น เราไม่อย่างนี้เขาจะไม่มาเมืองไทย จะยกขบวนไปมาเลเซีย ซึ่งทางโน้นเค้าเปิดประตูกว้างรออยู่แล้ว เปิดหน้าต่าง เจาะฝาอีกต่างหาก จะมาช่องไหนได้ทั้งนั้น เขาก็ยังมาหาเราแปลว่าในใจเขาเรามีความสำคัญสูงมากในอาเซียนสำหรับเขา ฉะนั้นขบวนการของการเจรจามันอยู่ในขั้นของการต่อรอง สิ่งที่เราเห็นว่าเราได้แน่นอนก็คือว่า ถ้าเจรจาปุ๊บเซ็นต์ปั๊บ เขาเปิดตลาดทันทีประมาณร้อยละ 74 ของสินค้าที่เราเข้าสู่ประเทศของเขา คิดเป็นมูลค่าประมาณ 12.8 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ไม่ว่าอุตสาหกรรมสิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม electronics ยานยนต์ อาหารแปรรูป หรืออะไรต่าง ๆ จะเริ่มได้ประโยชน์จากการมี market access เข้าสู่ประเทศของเขา ในส่วนซึ่งเป็นสินค้า sensitive มีผลกระทบต่อภาคการเกษตรมีน้อยเพราะส่วนใหญ่ที่จะมาในประเทศของเราจะเป็นสินค้าประเภทเคมีภัณฑ์ เครื่องจักรกลต่าง ๆ เหล่านี้ ในส่วนที่เป็นสินค้าอ่อนไหวจริง ๆ เช่น เรื่องของผลิตภัณฑ์นม หรือสินค้าอื่น ๆ นั้น จริง ๆ แล้วเราทำกับออสเตรเลียไปแล้ว ตรงนี้ไม่ใช่ปัญหาใหญ่เลยและเราใช้วิธีการยืดเวลาของการปรับภาษียาวกว่า 10-15 ปี เรื่องของการปรับภาษีมีแน่นอน และยังมี safeguard เผื่อว่านำเข้ามาแล้วเกิดปัญหาอย่างไรก็สามารถปรับเปลี่ยนได้ ตรงนี้การเจรจาและทีมเจรจาเค้ารู้ดีเพราะเราส่งสัญญาณไปแล้ว แน่นอนการเจรจาการค้าต้องมีเค้าให้เราให้ สิ่งที่เขาขอไม่ใช่หมายความว่าเราจะให้ ที่เขาขอ คืออะไรที่เรา concern เราทราบดีมีคนเป็นห่วงเยอะในเรื่องของสิทธิบัตรยาเรื่องของทรัพย์สินทางปัญญา ประเด็นหนึ่งก็คือว่าเขาต้องการขยายขอบเขตของการคุ้มครองสิทธิบัตรจาก 20 ปี ให้ยาวออกไปเป็นต้น สิ่งเหล่านี้เขาขอได้แต่ว่าให้แค่ไหนให้อย่างไรอยู่ที่เราพิจารณา เขาต้องการให้คุ้มครองข้อมูลที่ใช้ทดสอบยา เรื่องนี้ท่านอาจจะไม่ค่อยเข้าใจ ยกตัวอย่างง่าย ๆ เช่น เวลาที่ท่านจดสิทธิบัตรทำยาชิ้นหนึ่งพอท่านจดสิทธิบัตรท่านมีเวลาอยู่ช่วงเวลา 10-12 ปี ในการจะทดสอบยาชนิดนั้นว่าแน่ใจใช้ได้พอใช้ได้ก็สามารถผลิต และ จำหน่ายในท้องตลาดได้ ตรงนี้แหละพอจำหน่ายในท้องตลาดได้ แต่เดิมใครก็ได้สามารถที่จะเอาข้อมูลที่มีอยู่ไปอ้างอิงและขายได้หลังจากนั้น เขาขอระยะเวลาคุ้มครอบตรงนี้ 5 ปี เป็นต้น เพื่อว่าในบางครั้งเขาอาจจะมาทดสอบยาค่อนข้าง late เวลามันน้อย ตรงนี้ทั้งหมดอยู่ที่การเจรจา ทีมเจรจานั้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งกระทรวงสาธารณสุขเข้มแข็งมากในการที่จะดูแลผลประโยชน์ของประเทศ
เรื่องที่ concernอีกเรื่อง คือ เรื่องที่เขาต้องการสิทธิบัตรพืชและสัตว์ ตรงนี้เรายืนกระต่ายขาเดียวมาตลอด ยกตัวอย่าง เช่น เอาผลิตภัณฑ์การเกษตรมาปลูก crop นี้ท่านผลิตมาแล้วท่านขายได้ แต่ต่อไปเมล็ดพันธุ์ที่ท่านเอามาแล้วเขาคิดใหม่มาท่านไม่สามารถเอาไปปลูกได้เพราะเขาถือว่าเขาเป็นเจ้าของเขาต้องการคุ้มครองตรงนี้ ไอ้ตัวนี้ต้องสู้กันหนักแน่นอนเพราะว่ามันกระทบต่อเกษตรกร ฉะนั้นอันนี้ต้องสู้กันหนักและก็ไม่ได้หมายความว่าจะให้ ฉะนั้นที่คนเป็นห่วงกับเรื่องที่คณะทำงานพยายามทำมันก็เรื่องเดียวกัน แต่เราพูดมากไม่ได้เพราะมันอยู่ในเรื่องของการเจรจา
ในเรื่องของบริการ ถึงวันนี้ยังไม่มีการยื่นข้อเสนอ อยู่ในเรื่องของการพูดกันในกรอบแนวทางการเจรจาว่าจะเปิดสาขาอันไหน อันนี้เปิดได้ อันนั้นยังไม่เปิด ในเรื่องที่เขาขอให้เรา treat เขาในลักษณะของ national treatment ก็คือการปฏิบัติเยี่ยงคนชาติ เราให้ได้อะไรแก่คนไทยก็ควรจะให้เขาเป็นต้นที่เค้าขอมา เรื่องของการถือหุ้นเขาอยากจะได้ 100% เป็นต้น ก็มีเรื่องอื่น ๆ ที่เขาขอมา แต่นั้นอยู่ในช่วงการยื่นข้อเสนอมาซึ่งทางฝ่ายไทยไม่ว่ากระทรวงการคลัง แบงก์ชาติ เราได้อธิบายให้เขาฟังว่ากฎหมายของเรานั้นเป็นอย่างไร ระเบียบของเราเป็นอย่างไร ให้เขาไปศึกษาดูให้ถ่องแท้เสียก่อนแล้วค่อยมาเจรจากันในรอบต่อไป เรื่องที่บางเรื่องที่เขาร้องขอว่ารัฐบาลไทยไม่ให้ถือหุ้นรัฐวิสาหกิจแม้แต่หุ้นเดียว อันนี้ก็คงเป็นไปไม่ได้ รัฐวิสาหกิจเป็นของรัฐบาล รัฐบาลต้องกำหนดนโยบายให้รัฐวิสาหกิจทำตาม ซึ่งสอดคล้องกับที่เค้าเป็นห่วงมีการชุมนุมประท้วงต้องขอบคุณเขาเพราะเขาก็เป็นห่วงเพียงแต่ว่าขอร้องให้ชุมนุมกันแบบสงบ เพื่ออะไร เพื่อว่าจะชี้ให้ฝ่ายเจรจาเห็นว่าคุณอย่ากดดันรัฐบาล คุณเห็นไหมว่าคนประท้วงข้างนอกเยอะแยะเลย ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการเจรจา
ผมได้ทานข้าวกับกลุ่มนักวิชาการกลุ่มที่ไม่ค่อยเห็นด้วยกับการเจรจา FTA คุยกันเข้าใจกันต่างฝ่ายต่างมีบทบาทของตัวเองเขาบอกว่าเขาต้องฟ้องศาลรัฐธรรมนูญให้ยกเลิก ผมบอกฟ้องได้เลยมีสิทธิเต็มที่เลยเพราะตามรัฐธรรมนูญไทยถ้าตีความตามกระทรวงการต่างประเทศมาตรา 240 ถ้าจำไม่ผิด ถ้าไม่มีบทที่เกี่ยวข้องกับอาณาเขตประเทศไทย ไม่มีบทกำหนดว่าด้วยเขตอำนาจประเทศไทย หรือว่าเกี่ยวข้องกับการแก้กฎหมายตรงนั้นไม่ต้องเข้าสภา แต่ถ้ามีเรื่องเหล่านี้เข้ามาต้องเข้าสภาแน่นอน แต่ถึงแม้ไม่ต้องเข้าสภาผมก็สั่งการไปแล้วว่าเย็นวันนี้(16 ม.ค.49) ทีมคณะผู้เจรจาให้ไปออกทีวีบอกเล่าว่าเจรจาอะไรบ้าง ถึงตรงไหน อย่างไร เพื่อให้ทุกฝ่ายเข้าใจ วันที่ 24 เดือนหน้า (ก.พ.49) ฝ่ายรัฐบาลร่วมกับ 3 สมาคม คือ สมาคมธนาคาร สภาอุตสาหกรรม และสภาหอการค้า จะจัดForumขึ้นมาเพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องมาร่วมกันมา voice มาเสนอแนะเพื่อว่าทีมเจรจาเอาไปใช้ประโยชน์ได้ในรอบต่อไป ในระดับกรรมาธิการผมสั่งการไปแล้วว่าให้ทีมงานนั้นไปให้ข้อมูลกับกรรมาธิการเศรษฐกิจให้นัดหมายกันต่างฝ่ายต่างแสดงของตัวเอง การที่จะไปเจรจากับบุคลที่สามในเมืองไทยมันต้องเจรจากันผนึกเป็นพันธมิตรเพื่อให้มี position ให้แข็งแรงที่สุดก่อนที่จะไปรบกับเขา จะรบอะไรมันบอกกันไม่ได้แต่ก็หารือกันได้ต่างฝ่ายต่างเล่นบทบาท ไม่ใช่ว่าไปคนละทาง อีกคนหนึ่งจะเล่นเป็นพระเอก ฝ่ายหนึ่งจะเล่นเป็นผู้ร้าย มันไม่ใช่อันนี้มันไม่ใช่ละคร อันนี้มันของจริงไม่ได้ทำเพื่อชื่อเสียงแต่ทำเพื่อประโยชน์ของบ้านเมือง ฉะนั้นวันนี้ทีมเจรจาจะหารือกับทุก ๆ ฝ่าย ใครจะแสดง voice เสียงอย่างไรยินดีรับฟังเสมอ แต่ว่า position ของการเจรจาก็ต้องเป็น positionที่รักษาประโยชน์ของบ้านเมือง ไม่ใช่ว่าคนนั้นพูดทีเอียงไปทางซ้าย พูดทีเอียงไปทางขวา มันต้องมีหลักการชัดเจนเพราะทั้งหมดนี้ทำเพื่อประเทศทั้งสิ้น และทีมผู้เจรจาก็คือทีมผู้บริหารระดับสูงของทุกกระทรวงที่เกี่ยวข้อง เขาเป็นข้าราชการทำเพื่อประเทศของเขา และเค้าเหนื่อยพอสมควร ฉะนั้นตรงนี้จากวันนี้หวังเป็นอย่างยิ่งว่าความเข้าใจกัน ความร่วมมือกันจะมีมากขึ้น ไม่อยากเห็นความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในสิ่งที่ไม่ควรเกิด เราควรจะสามัคคีกันเพื่อจะไปเจรจาอย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ญี่ปุ่น ไปสู่อเมริกา จากอเมริกาไปสู่ประเทศอื่น ๆ เมืองไทยมันถึงจะอยู่รอดได้
ฉะนั้นทั้งหมดนี้ผมจะกราบเรียนว่า การเจรจา FTA นั้นล้มเลิกไม่ได้ แต่เราต้องทำให้ดีที่สุดเพื่อว่าเมืองไทยได้ประโยชน์สูงสุด และสิ่งที่สำคัญที่สุดในเมื่อมันเกิดขึ้นแล้วไม่ว่ากับจีน กับญี่ปุ่น ไม่ว่ากับใครก็แล้วแต่การเตรียมตัวเป็นสิ่งสำคัญ ในระดับอุตสาหกรรมนั้นผมรับผิดชอบไปแล้ว ผมเลือกทีละสินค้า สินค้าเกษตร สินค้าอุตสาหกรรม และก็เอากระทรวงที่เกี่ยวข้องทุกกระทรวงมาร่วมกัน ปลายสัปดาห์นี้จะมีเรื่องของอุตสาหกรรม 2-3 อุตสาหกรรม จะมีการปรับเปลี่ยนครั้งใหญ่ในเรื่องของกฎระเบียบต่าง ๆ เพื่อสร้างความเข้มแข็งของอุตสาหกรรมเหล่านั้น สัปดาห์หน้าจะต่อเรื่องสินค้าเกษตร 2 ตัว สิ่งเหล่านี้เราพยายามขับเคลื่อนในเรื่องของmacro ท่านนายกเองต้องการให้ทุกกระทรวงมีความเข้มแข็งทันสมัยก็ได้ผลักดันโครงการที่เรียกว่า Modernize Thailand กระทรวงพาณิชย์ก็ได้เสนอโครงการที่จะ up grade 4 Es คือ 1) E-Service หน้าที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการโดยตรงทุกเรื่อง 2) E-Logistics คือการบริหารภายใน 3) คือ E-Intelligence คือการสรุปข้อมูล 4) เข้าใจว่าเป็น E-Admin คือต่อไปนี้ท่านไม่ต้องมาเซ็นต์หนังสือ วัน ๆ หนึ่งเซ็นต์แต่แฟ้มสิ่งเหล่านี้ถ้าทุกกระทรวงทำพร้อม ๆ กัน มันจะเป็นประโยชน์ อย่างมหาศาลทีเดียว แต่ส่วนที่เราเป็นห่วงที่สุด คือ ภาคเอกชนที่ผ่านมา 4 ปี สัมผัสได้เลยยังขับเคลื่อนไม่เต็มที่และในบางครั้งต่างคนต่างทำทั้งรัฐและเอกชน SMEs Bank ก็ทำ SMEs Bank หน่วยราชการก็ทำกับหน่วยราชการ ฉะนั้นผมก็ได้หารือกับคนที่รู้จักคนในวงการ กรมพัฒนาธุรกิจปีนี้ครบรอบปีที่ 83 ในเรื่องของวิสัยทัศน์แล้วในเรื่องของการให้บริการธรรมดาแล้ว ผมอยากให้เป็นกลางที่จะประสานกับทุกฝ่ายเลย ทำการยกระดับพัฒนาให้เกิดความเข้มแข็งของธุรกิจเอกชน เพราะตั้งแต่เริ่มต้นเค้าก็มาจดทะเบียนบริษัทกับท่านอยู่แล้ว แต่ว่าในช่วงนี้ ปี 2549 อยากให้ประสานทุกฝ่าย คือเน้นเรื่องของ capacity building ยกระดับความสามารถของเขา สามารถอย่างไร คือสามารถให้มีการบริหารงานที่มีมาตรฐานเป็นสากลนี่คือระดับพื้นฐานเลย มาตรฐานสากลเป็นอย่างไรคุณต้องมีอย่างนั้น แต่อีกระดับหนึ่งก็คือทำอย่างไรให้ยกระดับของเค้าไปสู่ระดับต่างประเทศได้ เพราะถ้า FTA แล้วคุณไม่สามารถทำธุรกิจกับต่างประเทศได้มันเสียเปรียบ โลกมันคือตลาด ถ้าคู่แข่งของเราเค้ารุกทั้งโลกเลยแล้วเข้ามาในเมืองไทย แค่ยืนเกาะขอบประตูรั้วไม่ยอมออกไปอันนี้เราจะเสียเปรียบมหาศาล ฉะนั้นต้องเรียนรู้ว่าจะส่งออกอย่างไร และจะก้าวเกินกว่าการส่งออกจะก้าวยังไง จะทำการตลาดอย่างไร สิ่งเหล่านี้ต้องมีความรู้ การจัดการ การเงิน การตลาด ทุกอย่างประสานกันเป็น package การทำ package เหล่านี้ได้ต้องมีอย่างน้อย 3 ส่วนแน่นอน ดังนั้นกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กรมส่งเสริมการส่งออกต้องเข้ามาช่วย ที่สำคัญก็คือธนาคาร วันนี้ผมเชิญคุณชาติสิริ มาในนามของนายกสมาคมธนาคารแห่งประเทศไทยรวมทั้งเป็นธนาคารที่ใหญ่(ธนาคารกรุงเทพ) ที่สุดด้วยของภาคเอกชน ธนาคารกรุงไทยท่านยินดีท่านมาเอง EXIM BANK ยี่ห้อต่างประเทศ SMEs BANK ท่านสุรศักดิ์ ท่านมาเอง ตรงนี้แหละอยากจะให้ว่าเดี๋ยวสักครู่จะขึ้นไปประชุมต่อข้างบนอยากให้มีทีมทำงานเพื่อสร้าง package นี้ขึ้นมาเลยทำอย่างจริงจังร่วมมือกัน งบประมาณไม่ต้องห่วง เพราะรัฐบาลพร้อมเสมอที่จะจัดงบประมาณให้ และที่สำคัญคือเอกชนเค้ามีความคิดของเค้าอยู่แล้วที่จะทำ เพียงแต่ว่าการทำอย่างดั้งเดิมจะทำอย่างไรที่จะมาประสานงานการกันเป็น package ที่เป็นการบูรณาการ และ campaignให้ทั้งประเทศตื่นสักทีอย่าคิดว่าเราเก่งเราพร้อม เรายังไม่เก่งและยังล้าหลัง ไปดูเกาหลีแล้วจะรู้เค้าโฆษณาเค้า Dynamic Korea ทำไมเราจะ Dynamic Thailand บ้างไม่ได้เราแพ้เค้าตรงไหน
ตรงนี้เลยถือโอกาสวันครบรอบ 83 ปี แจกรางวัลที่ท่านทำดีมาก คือการส่งส่งเสริม 1 ใน 4 E แต่อยากให้ก้าวไกลกว่านั้น งานนี้ผมได้มอบท่านสุวิทย์ และท่านอุตตม เข้ามาช่วยกันประสานกับทุกฝ่ายและทำให้ดี ผมอยากจะlaunchโปรแกรมนี้ประมาณเดือนกุมภาพันธ์ 2549 และสถาบันการศึกษาไหนท่านอยากให้ช่วยขอให้บอกผมจะดึงเข้ามาช่วย เพราะนี้คือซีกของภาคเอกชน ซีกของรากหญ้าผมเริ่มทำแล้วประมาณปลายเดือนมกราคม 2549 ผมใช้เรื่องของ SML เทรนประธานกรรมการหมู่บ้าน 70,000 กว่าคน จะเริ่ม อันนั้นคือรากหญ้า ฉะนั้นถ้าคุณต้องการยกระดับความสามารถจริงของประเทศจะต้องยกระดับคนเหล่านี้ขึ้นมา ไม่ใช่เป๊าะแป๊ะทำผักชีรอยหน้าผมไม่ชอบกินผักชีและอายุมากกว่าที่จะกินผักชีไปวัน ๆ และขอร้องด้วยความกรุณาอย่าเสริฟผักชีเอาเนื้อหาที่แท้จริงออกมา ทำตรงนี้ให้ดี ๆ แล้วมันจะสอดรับภาวะของโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงไป จะกี่ FTA เราไม่กลัวเพราะเราเจรจาเต็มที่แล้ว และเราก็สร้างทีมของเราให้เข้มแข็งอย่างนี้มันถึงจะอยู่ได้ไม่มีคำว่าตีกันมีแต่ร่วมมือกัน ไม่อยากจะรบกวนเวลาท่านมากไปกว่านี้ จะไปประชุมต่อข้างบนประมาณอีก 1 ชั่วโมง ก็ขอถือโอกาสนี้ยินดีกับผู้ที่ได้รับรางวัลในวันนี้ ขอให้ท่านมีกำลังใจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้าเป็นหลักทั่วประเทศ ขอบคุณมากครับ
ถอดความโดย นางสาวรัชตา รอดเจริญ
ตรวจ/ทาน โดย นายวิวัฒน์ กาญจนวัฒนา
กลุ่มงานประสานการเมือง
16 มกราคม 2549
สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ