“อมตะ”ทุ่ม 100 ลบ.จับมือมาเลย์ พัฒนาระบบบำบัดน้ำเสียประสิทธิภาพสูง

พุธ ๑๔ มิถุนายน ๒๐๐๖ ๑๑:๕๙
กรุงเทพฯ--14 มิ.ย.--อมตะ
“อมตะ” จับมือ “RANHILL GROUP” บริษัทบำบัดน้ำเสียชั้นนำจากมาเลเซีย เพิ่มประสิทธิภาพบำบัดน้ำเสียด้วยเทคโนโลยีอันทันสมัย SBR (Sequence Biological Reactor) ในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร ชลบุรี รองรับแผนขยายพื้นที่ลงทุนในอนาคต มั่นใจอัดฉีดงบ 100 ล้านบาทคุ้มค่า คืนประโยชน์สู่สิ่งแวดล้อม พร้อมเดินระบบต้นเดือนตุลาคมนี้
นายชูชาติ สายถิ่น ผู้จัดการทั่วไป บริษัท อมตะ วอเตอร์ จำกัด หนึ่งในบริษัทในเครือบริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ขณะนี้บริษัทได้ตัดสินใจให้ บริษัท Ranhill Group ซึ่งเป็นบริษัทที่มีระบบเทคนิคบำบัดน้ำเสียชั้นนำของประเทศมาเลเซีย เข้าร่วมดำเนินการก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสีย ชนิด SBR (Sequence Biological Reactor) ทดแทนระบบเก่า คือ ระบบ AL (Aerated Lagoon) ซึ่งระบบบำบัดน้ำเสียชนิด SBR มีคุณสมบัติพิเศษคือใช้พื้นที่น้อยแต่มีประสิทธิภาพในการบำบัดสูง ก่อให้เกิดประสิทธิภาพในด้านการจัดการน้ำเสียภายในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร โดยดำเนินงานภายใต้วงเงินลงทุนทั้งสิ้นประมาณ 100 ล้านบาท
“จากจำนวนโรงงานในนิคมที่เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้อมตะตระหนักถึงความพร้อมของการวางระบบสาธารณูปโภคภายในนิคมให้เพียงพอ เพื่อรองรับกับจำนวนนักลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศที่จะเข้ามาลงทุนเพิ่มขึ้นในช่วงต่อไป ซึ่งปัจจุบันอมตะได้วางแผนการพัฒนาระบบจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งระบบการบำบัดน้ำเสีย และระบบผลิตน้ำประปา สามารถรองรับปัญหาวิกฤติต่างๆได้ ทั้งจากภัยน้ำท่วม และในช่วงที่เกิดภาวะภัยแล้ง”
สำหรับระบบ SBR ที่จะเข้ามาก่อสร้างโดยบริษัท Ranhill Group เพื่อทดแทนระบบบำบัดแห่งที่ 1 นั้น มีความสามารถบำบัดน้ำ 16,000 ลบ.ม. ต่อวัน ขณะที่ระบบเก่า AL มีความสามารถบำบัดได้เพียง 11,000 ลบ.ม. ต่อวัน ดังนั้นเมื่อการก่อสร้างแล้วเสร็จ และพร้อมเดินระบบต้นเดือนตุลาคมนี้ รวมความสามารถบำบัดน้ำกับระบบบำบัดแห่งที่ 2 ที่มีขนาดบำบัด 5,000 ลบ.ม.ต่อวัน ระบบบำบัดน้ำเสียทั้ง 2 แห่ง จะมีความสามารถในการบำบัดถึง 21,000 ลบ.ม. ต่อวัน สามารถรองรับน้ำเสียจากโรงงานในนิคมฯได้กว่า400 โรงงาน
ระบบใหม่ที่จะก่อสร้างขึ้นทดแทนระบบบำบัดแห่งที่ 1 มีข้อดีกว่าระบบเก่าหลายด้าน คือ (1) ใช้พื้นที่น้อยมากประมาณ 3 ไร่เท่านั้น เมื่อเทียบกับระบบเดิมซึ่งใช้พื้นที่ประมาณ 20 ไร่ (2) ประหยัดค่าไฟฟ้าซึ่งเป็นการช่วยอนุรักษ์พลังงาน (3) สามารถควบคุมคุณภาพน้ำที่ผ่านการบำบัดให้ผ่านมาตราฐานดีกว่าระบบอื่น ๆ เพราะปริมาณน้ำที่ไม่มั่นใจในคุณภาพจะถูกกักเก็บและบำบัดจนกว่าจะได้มาตรฐานในการปล่อยออก (4) มีประสิทธิภาพในการบำบัดดีกว่า
ปัจจุบันมีการส่งน้ำเสียจากโรงงานทั้งหมดในนิคมฯอมตะนครไปยังระบบบำบัดภายในนิคม 2 แห่ง คิดเป็นปริมาณน้ำเสียที่ปล่อยออกมาปริมาณ 15,000 ลบ.ม.ต่อวัน สำหรับระบบบำบัดแห่งที่ 1 รองรับน้ำเสียจากโรงงานในพื้นที่เฟส 1,2,3 และ 5 มีขนาดกำลังบำบัด 11,000 ลบ.ม. และระบบบำบัดแห่งที่ 2 รองรับน้ำเสียจากโรงงานพื้นที่เฟส 4,6,7 และ 8 มีขนาดกำลังบำบัด 5,000 ลบ.ม.
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ
ฝ่ายประชาสัมพันธ์
มุก โทร.038-213-007, 01-734-3651

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ