เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กล่าวต่อไปว่า พร้อมกันนี้ทีมจากวิทยาลัยสารพัดช่างตราด และวิทยาลัยอาชีวศึกษาอุบลราชธานี คว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ร่วมกัน โดยวิทยาลัยสารพัดช่างตราด ชื่อผลงาน "ฟ้าหลังฝน" นำเสนอในแนวคิด All life is happy with dreams, hopes, encouragement. ทุกชีวิตมีความสุขด้วยความฝัน ความหวังและกำลังใจ โดยมีนางรุ่งนภา อุดมชลปราการ ครูผู้ควบคุม และนักศึกษาสาขาวิชาการโรงแรม 3 คน ได้แก่ นายชโยทิต สุขสวัสดิ์ นักศึกษาระดับชั้น ปวส.1 นายธวัชชัย สนธิพิณ และนางสาวน้ำฝน จันทร์จรูญ นักศึกษาระดับชั้น ปวส.2 และวิทยาลัยอาชีวศึกษาอุบลราชธานี จากผลงานที่ชื่อว่า "มหัศจรรย์ พลังรัก สร้างโลก" เป็นภาพช้างโอบกอดกัน สื่อถึงความสงบสุขของโลก ได้พัฒนาไปพร้อมกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป และวิถีการดำเนินชีวิตของคนที่มุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนโดยมี นายสุระชาติ พละศักดิ์ ครูผู้ควบคุม และนักเรียน นักศึกษาสาขาวิชาวิจิตร์ศิลป์ 4 คน ได้แก่ นายพลรบ รูปคม นักศึกษาระดับชั้น ปวส. 1 นายอำพล ธรรมทอง นักเรียนระดับชั้น ปวช.2 นายชวลิต นามบุรี และนายสุภาพ ชารีเครือ นักเรียนระดับชั้น ปวช. 1
นอกจากนี้ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสระบุรี คว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 จากผลงาน "The beauty of nature and civilization that awaits you ความงามแห่งธรรมชาติและอารยธรรมที่รอคอยการมาเยือน" เป็นการเชิญชวนให้ทุกคนได้มาเยี่ยมชมความงามแห่งธรรมชาติและอารยธรรมอันล้ำค่าของประเทศไทย โดยมีนายอมรรัตน์ ศรีหิน ครูผู้ควบคุม และนักเรียนสาขาวิชาวิจิตร์ศิลป์ 2 คน ได้แก่ นายนภดล ศรีอินกิจ และนายพัธนพงค์ จันทร์เตย นักเรียนระดับชั้น ปวช. 2 ซึ่งการแข่งขันแกะสลักหิมะนานาชาติ ถือเป็นการแสดงศักยภาพของนักเรียน นักศึกษา อาชีวศึกษาให้ประชาชนทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติได้เห็นถึงความสามารถ ทั้งยังเป็นการนำความรู้และทักษะวิชาชีพมาฝึกประสบการณ์ผ่านการแข่งขัน เพื่อที่จะได้นำไปพัฒนาและประยุกต์ใช้ในการทำงานจริงในอนาคตต่อไป รวมทั้งยังเป็นการร่วมส่งเสริมกิจกรรมทางวัฒนธรรมของเมืองฮาร์บินในช่วงฤดูหนาว และสร้างความสัมพันธ์อันดีทางวัฒนธรรมระหว่างไทย-จีนอีกด้วย
สำหรับการแข่งขันแกะสลักหิมะนานาชาติ ครั้งที่ 13 ประจำปี 2564 มีหัวข้อเกี่ยวกับการผสมผสานทางวัฒนธรรมของท้องถิ่น สันติภาพ เทคโนโลยี และการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลก โดยผู้เข้าแข่งขันจะต้องแกะสลักผลงานจากดินเหนียว พร้อมทั้งส่งผลงานเป็นภาพถ่ายในมุมมองต่างๆ และนำเสนอในรูปแบบคลิปวีดีโอโมเดล 3 มิติ ซึ่งคณะกรรมการจะตัดสินและให้คะแนนจากแนวความคิดและการนำเสนอผลงานจากคลิปวีดีโอ
ที่มา: สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา