'มูลนิธิเอเชีย (ประเทศไทย)' เปิดตัว 'Thailand Learning' ไม่มีคำว่า 'lockdown' สำหรับการเรียนรู้ ลงพื้นที่ 'สารคามพิทยาคม' เป็นโรงเรียนต้นแบบ

ศุกร์ ๑๕ มกราคม ๒๐๒๑ ๑๕:๔๘
ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ในประเทศไทย ทำให้ผู้คนจำนวนมากต้องปรับตัวใช้ชีวิตวิถีใหม่กันอย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น แน่นอนว่าวิกฤติในครั้งนี้ย่อมส่งผลกระทบมาถึงการเรียนการสอนโดยตรง "มูลนิธิเอเชียประจำประเทศไทย" ตระหนักถึงรูปแบบการศึกษาที่เปลี่ยนไป จึงได้ร่วมมือกับ สถานทูตออสเตรเลีย วิจัยและคิดค้น www.thailandlearning.org เว็บพอร์ทัลขึ้นมา
'มูลนิธิเอเชีย (ประเทศไทย)' เปิดตัว 'Thailand Learning' ไม่มีคำว่า 'lockdown' สำหรับการเรียนรู้ ลงพื้นที่ 'สารคามพิทยาคม' เป็นโรงเรียนต้นแบบ

"ดร. รัตนา แซ่เล้า" เจ้าหน้าที่โครงการอาวุธโส ฝ่ายวิจัยและนโยบายของมูลนิธิเอเชียกล่าวว่า "การเรียนรู้มีอยู่ทุกที่ไม่มีที่สิ้นสุด ทางมูลนิธิเอเชีย และสถานทูตออสเตรเลีย ร่วมมือกันสร้าง เว็บพอร์ทัลที่รวบรวมแหล่งข้อมูลการเรียนรู้จากทั่วทุกมุมโลก ให้นักเรียนไทยได้เติบโตทางความคิด พัฒนาทักษะการเรียนรู้แม้ในช่วงเวลาวิกฤติ แหล่งเรียนรู้นี้เป็นแหล่งเรียนรู้เคลื่อนที่ ที่ยิ่งเรียน ยิ่งรู้ ยิ่งฝึกฝน ยิ่งได้" www.thailandlearning.org รวบรวมเนื้อหาการเรียนการสอนครอบคลุมทุกวิชาตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ รวมถึงเนื้อหาความรู้นอกห้องเรียนที่สำคัญต่อพัฒนาการเรียนรู้ จึงเป็นเหมือนศูนย์กลางความรู้ที่หลากหลาย เพราะมีองค์ความรู้จากทั่วทุกมุมโลก โดยผู้เข้าชมไม่เสียค่าใช้จ่ายใดใดๆ นักเรียนนักศึกษาสามารถเข้าถึงแหล่งความรู้ได้เพียงปลายนิ้วสัมผัสบนหน้าจอสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ต ตอกย้ำให้เห็นชัดเจนว่า การเรียนรู้เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ ผ่านแนวคิดการควบรวมเทคโนโลยีเข้ากับการศึกษา อีกทั้งยังได้รวบรวมอุปกรณ์และแพลตฟอร์มที่ทำให้การสร้างห้องเรียนออนไลน์เป็นเรื่องง่าย

เพื่อให้ www.thailandlearning.org เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย จึงได้เกิดโครงการนำร่อง ที่ใช้ชื่อว่า "สารคามพิทยาคมโมเดล" ได้นักเรียนจาก โรงเรียนสารคามพิทยาคม เข้าร่วมเป็นอาสาสมัคร ร่วมทำกิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียน ค้นคว้าหาความรู้ในหัวข้อที่ตนเองสนใจผ่านพอร์ทัล www.thailandlearning.org แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน นักเรียนส่วนใหญ่ต่างเห็นพ้องถึงการเรียนรู้บนโลกออนไลน์ที่ได้เปิดประสบการณ์ใหม่ๆ นอกเหนือจากในห้องเรียน ที่สำคัญคือใช้งานได้ง่าย ไม่มีข้อจำกัดทางด้านเวลาและสถานที่ ส่งผลให้นักเรียนสามารถจัดสรรเวลา เสริมสร้างความรู้ได้ด้วยตนเองแม้ไม่ได้อยู่ในสถานศึกษา

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่นักเรียนอยากให้รัฐบาลช่วยเหลือ สนับสนุนเกี่ยวกับแนวทางการเรียนรู้ที่เปลี่ยนไป คือ การช่วยเหลือทางด้านอุปกรณ์และการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตที่ทั่วถึงและเพียงพอ เพื่อทำให้การเรียนรู้ในยุคดิจิตัลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและมีความเสมอภาคกับผู้เรียน

เสียงเล็กๆ ของผู้เข้าร่วมโครงการ ได้กล่าวถึง www.thailandlearning.org ว่า "นิยามของการเรียนรู้ของหนู คือการหาประสบการณ์ที่มากกว่าในห้องเรียน มันเกิดขึ้นได้ทุกที่ เช่น เวลาหนูช่วยแม่ทำกับข้าวในครัว หนูอยากรู้สรรพคุณของผักบางชนิด หนูทำการค้นหาและอ่านข้อมูล ผ่าน www.thailandlearning.org นั่นก็ถือว่าเป็นการเรียนรู้แล้วค่ะ"

"การเรียนรู้ของหนูไม่มีวันสิ้นสุด และเกิดขึ้นได้จากทุกที่ของโลกใบนี้ มันเป็นได้มากกว่าการเรียนจากตำรา การเรียนรู้เป็นได้ทุกรูปแบบ เช่น จากการสังเกต การรับรู้ และการนำความรู้นั้นไปประยุกต์ใช้ต่อ"

เพราะการเรียนรู้เกิดขึ้นได้จากทุกที่ เพียงแค่คลิกเข้ามาที่ www.thailandlearning.org

ที่มา: มูลนิธิเอเชีย ประเทศไทย

'มูลนิธิเอเชีย (ประเทศไทย)' เปิดตัว 'Thailand Learning' ไม่มีคำว่า 'lockdown' สำหรับการเรียนรู้ ลงพื้นที่ 'สารคามพิทยาคม' เป็นโรงเรียนต้นแบบ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ