วีรศักดิ์ ชี้ ราคาทองคำลด ส่งผลต่อภาพรวมการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทย

จันทร์ ๑๘ มกราคม ๒๐๒๑ ๑๐:๔๗
ผลพวง COVID-19 กระทบการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยระลอก 2 ฉุดส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทย มกราคม - พฤศจิกายน 2563 ร่วงลงเป็นอันดับที่ 2 รองจาก ชิ้นส่วนยานยนต์5

นายสุเมธ ประสงค์พงษ์ชัย ผู้อำนวยการสถาบัน เปิดเผยเพิ่มเติมว่า การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยระหว่างเดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2563 ที่ผ่านมา มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.24 (ร้อยละ 17.79 ในหน่วยของเงินบาท) หรือมีมูลค่า 17,548.80 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (547,214 ล้านบาท) เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562 ที่มีมูลค่า 14,968.31 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (464,578.61 ล้านบาท) โดยเป็นสินค้าส่งออกในอันดับที่ 2 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 8.30 ของสินค้าส่งออกโดยรวมของไทย รองจากการส่งออกชิ้นส่วนยานยนต์ ทั้งนี้ เมื่อหักทองคำฯ ออก การส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่แท้จริงมีมูลค่า 4,395.91 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (135,971.52 ล้านบาท) ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าร้อยละ 42.26 (ร้อยละ 42.43 ในหน่วยของเงินบาท) อย่างไรก็ดี หากพิจารณาการส่งออกในเดือนพฤศจิกายน 2563 เมื่อเทียบกับเดือนตุลาคม 2563 พบว่ามูลค่าส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทย (ไม่รวมทองคำ) ปรับตัวลดลงร้อยละ 2.75

ขณะที่การนำเข้าสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทยระหว่างเดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2563 มีมูลค่า 7,454.53 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (233,774.06 ล้านบาท) ลดลงร้อยละ 34.90 (ร้อยละ 35.06 ในหน่วยของเงินบาท) เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า แต่หากพิจารณาการนำเข้าเดือนพฤศจิกายนเทียบกับเดือนตุลาคม 2563 พบว่า การนำเข้าเพิ่มขึ้นถึง 2.11 เท่า โดยไทยนำเข้าสินค้าหลักอย่างทองคำฯ ซึ่งมีสัดส่วนราวร้อยละ 80.94 เพิ่มสูงขึ้น 4.86 เท่า รวมถึงสินค้าสำคัญรองลงมาอย่างเพชรและพลอยสี ซึ่งขยายตัวร้อยละ 22.32 และร้อยละ 9.18 ตามลำดับ

"ทั้งนี้สาเหตุที่อันดับแชมป์ของการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยตกลงนั้น เนื่องมาจากการส่งออกไปยังตลาดหลักลดลง เช่น สหรัฐอเมริกา ที่มีการระบาดของโควิด 19  และมีผู้ติดเชื้อรายวันเพิ่มมาขึ้นสูงสุดตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาด ซึ่งทำให้การส่งออกลดลง  อีกทั้งการเทขายทองคำทำกำไรระยะสั้นของนักลงทุนก็เป็น อีกปัจจัยที่ทำให้ราคาทองคำในตลาดโลกลดลงซึ่งในภาวะของการแพร่ระบาดของโควิดในขณะนี้ ส่งผลต่อทุกอุตสาหกรรม รวมทั้งอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ ดังนั้น สถาบันจึงต้องเร่งสร้างความมั่นใจให้ทั้งผู้ซื้อ - ผู้ขายอัญมณีและเครื่องประดับ ด้วยการสร้างมาตรฐานการตรวจสอบอัญมณีและเครื่องประดับและโลหะมีค่า (GIT STANDARD) และหากผู้บริโภคสนใจหรือมีความต้องการในการเลือกซื้ออัญมณีและเครื่องประดับ สถาบันแนะนำให้เลือกซื้ออัญมณีและเครื่องประดับที่ผ่านการตรวจสอบและได้ใบรับรองคุณภาพจากหน่วยงานที่เชื่อถือได้ หรือเลือกซื้อสินค้าในร้านค้าที่มีสัญลักษณ์ในโครงการซื้อด้วยความมั่นใจ ผ่านใบรับรอง GIT หรือที่รู้จักในชื่อโครงการ Buy With Confidence (BWC) หรือสามารถสอบถามเบื้องต้นผ่านแอพลิเคชั่น "CARAT" ซึ่งเป็นแอพพลิเคชั่นให้คำปรึกษาออนไลน์และเปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง" นายสุเมธ สรุปปิดท้าย

ที่มา: สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ(องค์การมหาชน)

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๙:๑๔ Warrior ตั้ม ศุภกิตติ์ หรือ ตั้ม โทมัส ทอม จากทีมมาสเตอร์ ดร.อั้ม อธิชาติ คว้าชัย The Social Warrior คนแรกของประเทศไทย
๐๙:๑๘ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ จัด Pitching day การเขียนโฆษณา และ การเล่าเรื่องผ่านแคมเปญ
๐๙:๔๔ รมว.เอกนัฏ โชว์ ดีพร้อม หนุนซอฟต์พาวเวอร์แฟชั่นไทย ในงาน ShowPow ต้อนรับปีใหม่ ส่งเสริมอัตลักษณ์ท้องถิ่น
๐๙:๓๒ กรมส่งเสริมการเกษตร จับมือสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) หารือแนวทางความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภายใต้โครงการ 1 ตำบล 1 ดิจิทัล (OTOD ทุเรียนดิจิทัล)
๐๙:๐๘ มูลนิธิอายิโนะโมะโต๊ะ ส่งมอบอาคารโรงอาหารอายิโนะโมะโต๊ะ ภายใต้โครงการ อายิโนะโมะโต๊ะ โภชนาการเพื่อเด็กไทย
๐๙:๒๖ เวทางค์ หนุน PDPA Hackathon 2024 เฟ้นหาสุดยอดทีม IT Legal ชิงถ้วยรางวัลจากนายกรัฐมนตรี
๐๙:๐๓ โรงกลั่นบางจาก ศรีราชา ประกาศความสำเร็จผ่านการรับรอง 4 มาตรฐาน ISO พร้อมกันในปีนี้
๐๙:๔๖ เอาใจนักเดินทางปีใหม่! เวียตเจ็ทไทยแลนด์เพิ่มเกิน 10,000 ที่นั่ง ตอบรับเทศกาลสุดพิเศษ
๐๙:๑๔ เคล็ดลับแปรงฟันให้สนุก ถูกใจวัยรุ่นฟันน้ำนม สุขภาพช่องปากลูกดี พ่อแม่แฮปปี้
๐๙:๓๔ สโกมาดิ กางแผนปี 68 เตรียมเดินหน้า เปิดโมเดลใหม่ - ขยายดีลเลอร์ - ปั้นคอมมูนิตี้ ย้ำดีเอ็นเอแบรนด์สกู๊ตเตอร์ บริทิช โมเดิร์น คลาสสิก